backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม (Pentosan polysulfate sodium)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ข้อบ่งใช้ เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม

เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม ใช้สำหรับ

เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม (Pentosan polysulfate sodium) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการปวดหรือไม่สบาย จากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะบางชนิด อย่างโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ (interstitial cystitis) ยานี้ทำงานโดยการสร้างชั้นบนผนังของกระเพาะปัสสาวะและปกป้องจากสารที่เป็นอันตราย หรือสารที่ทำให้ระคายเคืองภายในปัสสาวะ ยานี้ยังเป็นยาเจือจางเลือดฤทธิ์อ่อน และอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดรอยช้ำหรือเลือดออกได้อีกด้วย (เช่น เลือดออกจากจมูกหรือเหงือก)

วิธีการใช้ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม

รับประทานยานี้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร โดยปกติคือวันละ 3 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด

ใช้ยาเป็นประจำ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานยาบ่อยกว่าที่กำหนด อาการของคุณจะไม่หายไปเร็วขึ้น และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงขึ้นอีกด้วย

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณรุนแรงขึ้น หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 3 เดือน

การเก็บรักษายาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม

ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม

ก่อนใช้ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือแพ้ต่อยาเฮพาริน (heparin) หรือยาเฮพารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (low molecular weight heparin) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะความผิดปกติของอาการเลือดออก เช่น โรคฮีโมฟิเลีย (hemophilia) หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) โรคตับ ม้ามผิดปกติ กระเพาะอาหารหรือลำไส้ผิดปกติ เช่นกระเพาะอาการมีแผล ติ่งเนื้อ (polyps) หรือโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (diverticula)

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

ในช่วงขณะการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถส่งผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม

อาจเกิดอาการท้องร่วง ผมร่วง คลื่นไส้ ปวดหัว ท้องไส้ปั่นป่วน หรือปวดท้อง หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีรอยช้ำหรือเลือดออกผิดปกติ (เช่น มีเลือดในอุจจาระ) มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ แสบร้อนกลางอก รู้สึกไม่สบายเมื่อกลืน

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรงมากดังต่อไปนี้ ได้แก่ เหนื่อยล้า หัวใจเต้นเร็วหรือรัว มีสัญญาณของการติดเชื้อ (เช่นเป็นไข้ เจ็บคอบ่อย) หายใจไม่อิ่ม การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ปวดตา ปัสสาวะสีคล้ำ ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง คลื่นไส้อาเจียนบ่อยครั้ง

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

  • ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงมาก ได้แก่ ยามิฟีพริสโตน (mifepristone)
  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะยาเจือจางเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin) เฮพาริน (heparin) เทเนคทาเพลส (tenecteplase) แอบซิซิแมบ (abciximab) โคลพิโดเกรล (clopidogrel) หรือทิคลอพิดีน (ticlopidine) ซัลฟินไพราโซน (sulfinpyrazone)
  • ตรวจสอบฉลากยาตามใบสั่ง และยาที่หาซื้อเองทั้งหมด เนื่องจากยาเหล่านี้อาจมีส่วนประกอบของยาบรรอาการปวดหรือยาลดไข้ อย่างยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen) คีโตโรแลค (ketorolac) ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง หากใช้ร่วมกับยานี้ ควรใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำที่แพทย์สั่ง เพื่อเหตุผลทางการแพทย์โดยเฉพาะ เช่น เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมองต่อไป (ขนาดยาตามปกติคือ 81-325 มก. ต่อวัน) โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อผลการตรวจในห้องแล็บบางอย่าง รวมถึงการตรวจโปรทรอมบิน ไทม์ (prothrombin time) หรือการตรวจไอเอ็นอาร์ (INR) หรือระดับของแฟกเตอร์ เท็นเอ (factor Xa levels) และอาจทำให้ผลการตรวจเป็นเท็จได้ โปรดแจ้งให้บุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ของคุณทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้

ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

100 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง รับประทานยาพร้อมกับดื่มน้ำ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากมื้ออาหาร

การปรับขนาดยาสำหรับตับ

ควรระมัดระวังในการใช้ยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะตับวาย

การปรับขนาดยา

ควรทำการประเมินการรักษาหลังจากรักษาไปแล้ว 3 เดือน อาจดำเนินการรักษาต่อไปอีก 3 เดือนหากอาการไม่ดีขึ้นและไม่มีผลไม่พึงประสงค์ที่จำกัดไว้

คำแนะนำอื่นๆ

ผู้ป่วยควรรับการประเมินอีกครั้งใน 3 และ 6 เดือนเพื่อหาผลไม่พึงประสงค์ และ/หรือ สัญญาณของอาการที่ดีขึ้น ผู้ป่วยที่ไม่มีการตอบสนองภายใน 6 เดือนนั้นไม่ได้ใช้ยาต่อในการทดลองทางทางการแพทย์

ขนาดยาเพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม สำหรับเด็ก

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปี

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา