backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไกลบูไรด์ (Glyburide)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไกลบูไรด์ (Glyburide)

ข้อบ่งใช้

ยา ไกลบูไรด์ ใช้สำหรับ

ยาไกลบูไรด์ (Glyburide) เป็นยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทานที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ยาไกลบูไรด์ใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 ยานี้ไม่ได้ใช้สำหรับรักษาโรคเบาหวานประเภท 1

ยาไกลบูไรด์ยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่อยู่ในคู่มือการใช้ยา

วิธีการใช้ยา ไกลบูไรด์

รับประทานยาไกลบูไรด์ตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ควรทำตามวิธีการใช้ยาทั้งหมดบนฉลากยา ในบางครั้งแพทย์อาจจะเปลี่ยนขนาดยาของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลที่ดีที่สุด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่กำหนด

รับประทานยาไกลบูไรด์พร้อมกับอาหารมื้อแรกของวัน เว้นเสียแต่แพทย์จะสั่งแบบอื่น

ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำและคุณอาจจะต้องตรวจเลือดอื่นๆ ที่ห้องทำงานของแพทย์

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาการมีดังนี้ ปวดหัว หิว เหงื่อออก สับสน หงุดหงิด วิงเวียน หรือรู้สึกสั่นคลอด ควรพกแหล่งน้ำตาลติดตัวไว้เสมอเผื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แหล่งของน้ำตาลมี ดังนี้ น้ำผลไม้ ลูกอม แครกเกอร์ ลูกเกด และน้ำอัดลม คนในครอบครัวและเพื่อนของคุณควรรับทราบวิธีการช่วยเหลือคุณในกรณีฉุกเฉิน

หากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ สามารถฉีดยาฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) ได้ แพทย์สามารถสั่งชุดยาฮอร์โมนกลูคากอนสำหรับฉีดในกรณีฉุกเฉินและสอนวิธีใช้ให้คุณได้

ผู้สูงอายุอาจจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะใช้ยาไกลบูไรด์ได้มากกว่า

โปรดคอยระวังสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ปัสสาวะเพิ่มขึ้น หิว ปากแห้ง กลิ่นปากมีกลิ่นผลไม้ ง่วงนอน ผิวแห้ง มองเห็นไม่ชัด และน้ำหนักลด

ตรวดวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวังในช่วงที่มีความตึงเครียด อยู่ในช่วงท่องเที่ยว มีอาการป่วย การผ่าตัดหรือรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ออกกำลังกายอย่างรุนแรง หรือหากคุณดื่มสุราหรืองดมื้ออาหาร

สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลกลูโคสและคุณอาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา อย่าเปลี่ยนขนาดยาและตารางการใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดขณะตั้งครรภ์

หากแพทย์เปลี่ยนยี่ห้อ ความแรง หรือประเภทของยาไกลบูไรด์ ขนาดยาของคุณอาจจะต้องเปลี่ยนด้วย โปรดสอบถามเภสัชกรหากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับยาไกลบูไรด์ชนิดใหม่ที่คุณได้รับ

การเก็บรักษายา ไกลบูไรด์

ยาไกลบูไรด์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไกลบูไรด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไกลบูไรด์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไกลบูไรด์

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไกลบูไรด์ หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

คุณไม่ควรใช้ยานี้หาก

  • คุณกำลังใช้ยาโบเซนแทน (bosentan) อย่างแทรกคลีเออร์ (Tracleer)
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 1
  • หากคุณมีภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) โปรดติดต่อแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยอินซูลิน

เพื่อให้แน่ใจว่ายาไกลบูไรด์ปลอดภัยสำหรับคุณ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)
  • ภาวะขาดเอ็นไซม์จี6พีดี (glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency)
  • ความผิดปกติของประสาทที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย
  • โรคตับหรือโรคไต
  • หากคุณใช้ยาคลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) ภายใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • หากคุณแพ้ต่อยาซัลฟ่า (sulfa drugs)
  • หากคุณใช้ยาอินซูลินหรือยาคลอร์โพรพาไมด์ อย่างเช่น ยาไดอาไบเนส (Diabinese)

ยารักษาโรคเบาหวานแบบรับประทานบางประเภท อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง แต่การไม่รักษาโรคเบาหวานอาจทำให้หัวใจและอวัยวะอื่นๆ เสียหายได้ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนใช้ยาไกลบูไรด์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาไกลบูไรด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไกลบูไรด์

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยานี้และติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้

  • มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย (เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน)
  • อ่อนแรงหรือรู้สึกป่วยกะทันหัน หนาวสั่น เจ็บคอ เหงือกแดงหรือบวม กลืนลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน คัน รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีดินเหนียว ดีซ่าน (ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง)
  • ระดับโซเดียมในร่างกายต่ำ  ปวดหัว สับสน พูดไม่ชัด อ่อนแรงอย่างรุนแรง อาเจียน สูญเสียการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน รู้สึกไม่มั่นคง

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน แสบร้อนกลางอก รู้สึกอิ่ม
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ
  • มองเห็นไม่ชัด
  • ผื่นระดับเบาหรือผิวแดง

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไกลบูไรด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาอีเซนาไทด์ (Exenatide) อย่างบายเอ็ตตา (Byetta)
  • ยาโพรเบเนซิด (Probenecid) อย่างเบเนมิด (Benemid)
  • ยาแอสไพรินหรือซาลิไซเลตอื่นๆ (salicylates) รวมถึงยาเพ็พโท บิสโมล (Pepto Bismol)
  • ยาเจือจางเลือด อย่างยาวาฟาริน (warfarin) ยาคูมาดิน (Coumadin) หรือยาแจนโทเวน (Jantoven)
  • ยาซัลฟ่า อย่างแบคทริม (Bactrim) ยาซัลฟาเมทอกซาโซล-ไตรเมโทพริม (SMZ-TMP หรือ SMX-TMP) และอื่นๆ
  • ยาในกลุ่มเอ็มเอโออินฮิบิเตอร์ (monoamine oxidase inhibitor)
  • ยาอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวานสำหรับรับประทาน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไกลบูไรด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไกลบูไรด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไกลบูไรด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเบาหวานประเภท 2

  • ขนาดยาเริ่มต้น 2.5 มก. (แบบมาตรฐาน) หรือ 1.5 มก. (แบบผงละเอียด) รับประทานวันละครั้งในตอนเช้าพร้อมกับมื้อเช้า
  • ขนาดยาปกติ 1.25 ถึง 20 มก. (แบบมาตรฐาน) หรือ 0.75 ถึง 12 มก. (แบบผงละเอียด) แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด 20 มก./วัน (แบบพื้นฐาน) หรือ 12 มก./วัน (แบบผงละเอียด)

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาโรคเบาหวานประเภท 2

ขนาดยาเริ่มต้น 1.25 ถึง 2.5 มก. (แบบมาตรฐาน) หรือ 0.75 ถึง 1.5 มก. (แบบผงละเอียด) รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาไกลบูไรด์สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา