backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไดอะซอกไซด์ (Diazoxide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/08/2020

ไดอะซอกไซด์ (Diazoxide)

ข้อบ่งใช้ ไดอะซอกไซด์

ไดอะซอกไซด์ ใช้สำหรับ

ไดอะซอกไซด์ (Diazoxide) ส่วนใหญ่มักใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และสภาวะบางอย่าง เช่น เนื้องอกที่ตับอ่อน โรคมะเร็ง หรือผู้ที่มีปฏิกิริยาไวต่อลิวซีน (leucine sensitivity) ยานี้ทำงานโดยการป้องกันการปล่อยสารอินซูลินจากตับอ่อน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาสู่ระดับปกติ

ยาไดอะซอกไซด์ นั้นเป็น ยาไทอะไซด์ (Thiazide drug) ที่อาจไม่มีผลในการขับปัสสาวะเหมือนยาไทอะไซด์อื่น ๆ ที่สำคัญไม่ควรใช้ เพื่อรักษาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากขาดสารอาหาร หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดไม่ทราบสาเหตุ (functional hypoglycemia)

วิธีการใช้ ไดอะซอกไซด์

  • รับประทานยานี้ตามที่แพทย์สั่ง คือ วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง (ทุก ๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง)
  • อย่าเปลี่ยนรูปแบบของการรับประทานยานี้ไปมา เช่น ในรูปแบบแคปซูล และแบบชนิดน้ำ โดยไม่ปรึกษาทางแพทย์ บางครั้งคุณอาจจะจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา และตวงยาอย่างระมัดระวังด้วยอุปกรณ์ หรือช้อนสำหรับตวงยา อย่าใช้ช้อนธรรมดา เพราะอาจได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง และหากยาไดอะซอกไซด์นั้นมีสีคล้ำขึ้น ควรทิ้ง หรือกำจัดไปได้ในทันที
  • ปริมาณยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินและผลข้างเคียงอื่นๆ ควรรับประทานยานี้ในขนาดที่ต่ำที่สุดที่มีประสิทธิภาพ ในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่าเพิ่มปริมาณยา รับประทานยาถี่ หรือนานกว่าที่กำหนด แนะนำไม่ให้ใช้นานเกิด 2 สัปดาห์ตลอดช่วงการรักษา

การเก็บรักษายาไดอะซอกไซด์

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนีโอมัยซินลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

ไดอะซอกไซด์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไดอะซอกไซด์

  • ก่อนใช้ยาไดอะซอกไซด์ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือยาปฏิชีวนะยาไทอะไซด์อื่นๆ เช่น ยาไฮโดรโคลโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยานี้
  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคเกาต์ และโรคตับ
  • ยาไดอะซอกไซด์ในรูปแบบยาแขวนตะกอนนั้น อาจจะมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ ควรระมัดระวังหากคุณมีสภาวะเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคตับ หรือสภาวะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องจำกัดหรือหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงวิธีการใช้ยานี้อย่างปลอดภัย
  • ไดอะซอกไซด์อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเกินไปได้ ในสถานการณ์บางอย่าง เช่น ร่างกายของคุณต้องการอินซูลินมากขึ้น ขณะที่คุณกำลังมีความตึงเครียด

ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ขณะการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีรายงานการเป็นอันตรายต่อทารกที่เกิดจากมารดาที่ใช้ยาที่คล้ายกันนี้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอันตรายนั้นอาจจะไม่เหมือนกันยานี้ โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ แต่มีแพทย์หลายรายพิจารณาว่าการใช้นมบุตรระหว่างการใช้ยานี้นั้นปลอดภัย โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นีโอมัยซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ไดอะซอกไซด์

  • อาจเกิดอาการคลื่นไส้
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ต่อมรับรสมีการเปลี่ยนแปลง
  • เพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นขน โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก หลัง แขน หรือขา อาการนี้มักจะไม่ใช่อาการถาวร และจะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง
  • อาการบวมที่แขน ขา มือ หรือเท้า
  • น้ำหนักขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้
  • หายใจลำบาก
  • เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงขึ้น
  • ผดผื่น คันหรือบวม บริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง เช่น เอนาลาพริล (enalapril) , เมทิลโดปา (methyldopa) หรือพราโซซิน (prazosin)
  • ยาเจือจางเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin) , เฟนีโทอิน (phenytoin)

ไดอะซอกไซด์ อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาชนิดอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไดอะซอกไซด์อาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไดอะซอกไซด์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด ไดอะซอกไซด์ สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertensive Emergency)

ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 1 ถึง 3 มก./กก. ไปจนถึงขนาดยาสูงสุดที่ 150 มก. ทุกๆ 5 ถึง 15 นาที แล้วตามด้วยทุก ๆ 4 ถึง 24 ชั่วโมง ควรให้ยาในเวลาน้อยกว่า 30 วินาทีเข้าสู่หลอดดำส่วนปลาย

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

3 ถึง 8 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง

การปรับขนาดยา

อาจฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำซ้ำทุก ๆ 5 ถึง 15 นาที จนกระทั่งสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ มักจะไม่จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องนานเกินกว่า 5 วัน อย่าใช้ยานี้นานเกินกว่า 10 วัน

ข้อควรระวัง

  • การให้ยาทางหลอดเลือดดำอาจลดระดับของความดันโลหิตอย่างมาก ควรเฝ้าระวังระดับความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งคงที่และอย่างน้อยทุกชั่วโมงหลังจากนั้น
  • ยาไดอะซอกไซด์อาจทำให้เกิดการคั่งของโซเดียม และไม่ได้ผลต่อโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma)

ขนาดยาไดอะซอกไซด์สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

  • 1 ถึง 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ไปจนถึงขนาดยาสูงสุดที่ 150 มก. ทุกๆ 5 ถึง 15 นาที แล้วตามด้วยทุกๆ 4 ถึง 24 ชั่วโมง ควรให้ยาในเวลาน้อยกว่า 30 วินาทีเข้าสู่หลอดดำส่วนปลาย
  • อีกทางเลือกหนึ่งคือ 3 ถึง 5 มก./กก. การหยอดยานานกว่า 30 นาที อาจจะส่งผลให้มีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้น้อยกว่า

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากมีอินซูลินสูง (Hyperinsulinemic hypoglycemia)

  • อายุน้อยกว่า 1 เดือน ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง ช่วงขนาดปกติคือ 5 ถึง 15 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุน้อยกว่า 1 ปี ขนาดยาเริ่มต้น 10 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง ช่วงขนาดปกติคือ 5 ถึง 20 ก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดยาเริ่มต้น 3 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง ช่วงขนาดปกติคือ 3 ถึง 8 ก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง
  • เคยมีการใช้ยาในขนาดสูงที่สูงกว่า (สูงถึง 15 มก./กก./วัน) สำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ดื้อยา

รูปแบบของยา

รูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานไดอะซอกไซด์ควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา