backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark-Cartilage)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark-Cartilage)

ข้อบ่งใช้

กระดูกอ่อนปลาฉลาม ใช้สำหรับ

กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark-Cartilage) นิยมใช้ในการรักษาสภาวะทางการแพทย์ต่อไปนี้

  • โรคมะเร็ง
  • การติดเชื้อเอชไอวี
  • ข้ออักเสบ
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • การสมานแผล
  • ภาวะสูญเสียการมองเห็นเนื่องจากความเสื่อมตามวัย
  • จอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน
  • ลำไส้เล็กอักเสบ

กระดูกอ่อนปลาฉลามอาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกระดูกอ่อนปลาฉลาม

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของกระดูกอ่อนปลาฉลามที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ตาม มีงานศึกษาวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า กระดูกอ่อนปลาฉลามอาจอาจช่วยป้องกันการเติบโตของเนื้องอกได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กระดูกอ่อนปลาฉลาม

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากกระดูกอ่อนปลาฉลาม หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรงดใช้กระะดูกอ่อนปลาฉลามก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมกระดูกอ่อนปลาฉลาม ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กระดูกอ่อนปลาฉลาม ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กระดูกอ่อนปลาฉลาม

กระดูกอ่อนปลาฉลามอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  • มีกลิ่นปาก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ท้องผูก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ระดับแคลเซียมสูง
  • เหนื่อยล้า

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กระดูกอ่อนปลาฉลามอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาแก้อักเสบ เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน (Quinolones)
  • ยาคอนดรอยติน (Chondroitin)
  • ยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยแคลเซียม

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกระดูกอ่อนปลาฉลาม

ยาเม็ดกระดูกอ่อนปลาฉลาม : รับประทาน 2 เม็ดต่อวันระหว่างมื้ออาหาร หรือขณะดื่มน้ำ

ยาเม็ดแคปเล็ตกระดูกอ่อนปลาฉลาม : รับประทานก่อนอาหาร ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือตามคำสั่งของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ยาแคปซูลกระดูกอ่อนปลาฉลาม : รับประทาน 2-5 แคปซูลต่อวัน หรือตามคำสั่งของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของกระดูกอ่อนปลาฉลาม

กระดูกอ่อนปลาฉลาม อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ยาเม็ดกระดูกอ่อนปลาฉลาม
  • ยาเม็ดแคปเล็ตกระดูกอ่อนปลาฉลาม
  • ยาแคปซูลกระดูกอ่อนปลาฉลาม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา