backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ชวนหวงป้อ (Phellodendron)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ชวนหวงป้อ (Phellodendron)

การใช้ประโยชน์ ชวนหวงป้อ

ชวนหวงป้อ ใช้ทำอะไร?

ชวนหวงป้อ (Phellodendron) เป็นพืชที่มีเปลือกใช้ทำยา ชวนหวงป้อใช้สำหรับรักษาอาการต่างๆดังนี้:

  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ลดน้ำหนักและความอ้วน
  • โรคอุจจาระร่วง
  • โรคปอดบวม
  • การติดเชื้อทางตา
  • วัณโรค
  • โรคตับแข็ง

บางครั้ง ชวนหวงป้อสามารถใช้กับผิวหนังเพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน ฆ่าเชื้อโรค และเพื่อลดอาการ ผื่นแดงและบวม

การทำงานของชวนหวงป้อเป็นอย่างไร

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของชวนหวงป้อยังมีไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าสารเคมีบางชนิดในชวนหวงป้ออาจช่วยลดอาการผื่นแดง และบวมได้ (การติดเชื้อ) สารเคมีอีกชนิดคือ เบอร์เบรีน (Berberine) ซึ่งทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงและกำจัดแอลดี โลโลเลสเตอโรล (Lololesterol) ตลอดจนป้องกันตับจากสารพิษเบอร์เบรีน และอาจรักษาอาการเนื้องอก อย่างไรก็ตาม เบอร์เบรีนก็อาจเป็นอันตรายเช่นกัน

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ชวนหวงป้อ

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบชวนหวงป้อหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ชวนหวงป้อมีความปลอดภัยแค่ไหน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัย หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากสารเคมีที่เรียกว่า เบอร์เบรีนซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าสู่รกและเต้านม อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และอาจทำให้สมองเกิดความเสียหายในทารกแรกเกิดที่รับประทานนมแม่ โดยเฉพาะในทารกแรกคลอดที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เนื่องจากเม็ดสีของน้ำดีในกระแสเลือด

เด็ก:

ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัยในเด็กแรกเกิด อาจทำให้สมองเกิดความเสียหายโดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลือง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชวนหวงป้อ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ชวนหวงป้อได้แก่:

  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • มือสั่น
  • กรดไหลย้อน
  • ปวดศรีษะ

แต่ไม่ทราบแน่ชัด ว่าผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดจากชวนหวงป้อหรือปัจจัยอื่น ๆ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับชวนหวงป้อมีอะไรบ้าง

ชวนหวงป้ออาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลต่อชวนหวงป้อ ได้แก่:

ไซโคลสปอรีน (Cyclosporine) หรือนีโอรอล แซนดิมมูน (Neoral Sandimmune)

  • ร่างกายย่อยสลายและกำจักไซโคลสปอรีนหรือนีโอรอล แซนดิมูนออกไป ทำให้ปริมาณชวนหวงป้อลดลงอย่างรวดเร็ว การใช้ชวนหวงป้อร่วมกับไซโคลสปอรีนหรือนีโอรอล แซนดิมูนอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง

ยาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานของตับ (Cytochrome P450 3A4 (CYP3A4)

  • ชวนหวงป้ออาจลดลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อตับทำหน้าที่ย่อยสลายยาบางชนิด การใช้ชวนหวงป้อร่วมกับยาบางชนิดที่ทำให้ตับทำลายยาดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาบางชนิดเพิ่มขึ้นได้ ก่อนใช้ ชวนหวงป้อควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้ชวนหวงป้อในปริมาณเท่าใด

ขนาดการใช้ชวนหวงป้อนั้นแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่นๆ การใช้ชวนหวงป้อไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดการใช้ที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

  • ผงสกัด
  • สารสกัด
  • สารสกัดเหลว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา