backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ชะเอมไทย (Albizia myriophylla Benth)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/08/2020

ชะเอมไทย (Albizia myriophylla Benth)

ชะเอมไทย (Albizia myriophylla Benth) หรือที่เรียกว่า ชะเอมป่า เป็นไม้เถายืนต้นชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าโปร่งทั่วไป

ข้อบ่งใช้

ชะเอมไทย ใช้สำหรับ

ชะเอมไทย (Albizia myriophylla Benth) หรือที่เรียกว่า ชะเอมป่า เป็นไม้เถายืนต้นชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าโปร่งทั่วไป จะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ส่วนต่างๆ ของต้นชะเอมไทย ไม่ว่าจะเป็น เปลือกไม้ ดอกไม้ ลำต้น ราก ใบ หรือผล ก็ล้วนแล้วแต่ถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพร ในตำรับยาไทยทั้งสิ้น

ตามตำรับยาไทย ส่วนต่างๆ ของชะเอมไทยจะนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เพื่อช่วยรักษาอาการต่างๆ เช่น

การทำงานของชะเอมไทย

ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอ เกี่ยวกับการทำงานของสมุนไพรอย่างชะเอมไทย โปรดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ชะเอมไทย

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้สารจากชะเอมไทย หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค เพื่อความปลอดภัย คุณจึงควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้และการบริโภคสมุนไพรไทยอย่างชะเอมไทย ประโยชน์ของการใช้ชะเอมไทยควรมีมากกว่าความเสี่ยงในการใช้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ชะเอมไทย ระหว่างการตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ชะเอมไทย

ยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอ เกี่ยวกับผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการใช้ชะเอมไทยเป็นยาสมุนไร แต่อย่างไรก็ตาม ชะเอมไทยมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ผู้ที่มีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานชะเอมไทย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ชะเอมไทยอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของชะเอมไทย

ปริมาณในการใช้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ชะเอมไทยในรูปแบบสมุนไพรอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาเรื่องปริมาณที่เหมาะสม และวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัยจากแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ

รูปแบบของชะเอมไทย

ชะเอมไทยมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • สมุนไพรชะเอมไทยแบบสด
  • สมุนไพรชะเอมไทยแบบแห้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา