backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ดอกสร้อยทอง (Golden Rod)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ดอกสร้อยทอง (Golden Rod)

การใช้ประโยชน์ ดอกสร้อยทอง

ดอกสร้อยทอง ใช้สำหรับทำอะไร

โดยปกติดอกสร้อยทอง (Golden Rod) ถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดบวมอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นสมุนไพรเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ และหยุดภาวะกล้ามเนื้อกระตุกได้ สำหรับบางคนอาจใช้ดอกสร้อยทองเป็นตัวช่วยในการบำบัดในเรื่องของการขับถ่ายให้คล่องขึ้น

นอกจากนี้ดอกสร้องทองสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำยาทำความสะอาดช่องปาก และยังนำมาบด หรือใช้ผงที่มีส่วนประกอบของดอกสร้อยทองมาสมานแผลบริเวณผิวหนังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ทั้งนี้ดอกสร้อยทองยังช่วยรักษาอาการและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้

การทำงานของดอกสร้อยทองเป็นอย่างไร

มีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของดอกสร้อยทอง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามตาม บางการศึกษาวิจัยแสดงว่าดอกสร้อยทองมีสารเคมีที่มีผลเพิ่มการขับปัสสาวะ และต่อต้านอาการบวมลดการอักเสบได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ดอกสร้อยทอง

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของดอกสร้อยทองหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดอกสร้อยทองมีความปลอดภัยแค่ไหน

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ดอกสร้อยทองสำหรับภาวะทางการแพทย์

สำหรับสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร : ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ดอกสร้อยทอง หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หลีกเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดต่อร่างกาย และทารกของคุณ

สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ละอองเกสรและพืช : ดอกสร้อยทองอาจทำปฏิกิริยาให้มีอาการแพ้ในมนุษย์ที่มีความรู้สึกไวต่อพืชตระกูลสมุนไพรวงศ์ หากพบอาการแพ้ต้องเช็กให้แน่ใจโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้ดอกสร้อยทอง

สำหรับผู้ที่มีอาการภาวะคั่งน้ำ (บวมน้ำ) เนื่องจากภาวะหัวใจหรือไต : การบำบัดโดยขับของเสียโดยใช้ดอกสร้อยทองชนิดของเหลวในปริมาณมากเพื่อเพิ่มการขับปัสสาวะ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ต้องขับของเหลวออกที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตเพราะอาจมีผลข้างเคียงรุนแรงได้

สำหรับความดันโลหิตสูง : ดอกสร้อยทองอาจทำให้ร่างกายสะสมโซเดียมมากขึ้น

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs) : สมุนไพรที่ออกฤทธิ์บำบัดโดยขับของเสียอาจไม่ต่อต้านการติดเชื้อ และอาจต้องการเพิ่มยาฆ่าเชื้อ ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดอกสร้อยทองมีอะไรบ้าง

ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับผลข้างเคียงของดอกสร้อยทอง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนใช้เสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ดอกสร้องทองอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยานั้น หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ

อาจทำปฏิกิริยากับยาขับน้ำปัสสาวะ หรือยาขับปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป การสูญเสียน้ำมากเกินไปทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ และความดันโลหิตต่ำได้

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ปกติแล้วควรใช้ดอกสร้อยทองในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้ดอกสร้อยทอง อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดบริสุทธิ์
  • แคปซูล เมื่อผสมกับสมุนไพรอื่น

Hello Health Group  ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา