backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วาเลเรียน (Valerian)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/09/2019

สรรพคุณของวาเลเรียน:

วาเลเรียนใช้สำหรับอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้ เช่น:

  • การนอนไม่หลับ
  • ความวิตกกังวลและความเครียดทางจิตใจ
  • หอบหืด
  • กระวนกระวาย
  • สับสน
  • กลัวการเจ็บป่วย (Hypochondria)
  • อาการปวดหัว
  • ไมเกรน
  • อารมณ์เสีย
  • อาการซึมเศร้า
  • อาการสั่น
  • โรคลมชัก
  • โรคสมาธิสั้น (Hyperactivity Disorder – ADHD)
  • อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (CFS)
  • กล้ามเนื้อและปวดข้อ
  • อาการปวดประจำเดือน และอาการที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือน เช่น ภาวะร้อนวูบวาบ และความวิตกกังวล

เมื่อนำวาเลเรียนผสมกับดอกกระเจี๊ยบ บาล์ม มะนาว หรือสมุนไพรอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ หากผสมในน้ำอาบ จะช่วยคลายความกระวนกระวาย และความผิดปกติของการนอนหลับ วาเลเรียนอาจใช้ในงานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกร

กลไกการออกฤทธิ์:

วาเลเรียนอาจจะทำหน้าที่เหมือนยากล่อมประสาทในสมองและระบบประสาท ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน:

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้วาเลเรียน:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในวาเลเรียน ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากวาเลเรียนนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

วาเลเรียนความปลอดภัยในการใช้:

เด็ก:

ไม่ควรให้วาเลเรียนกับเด็กโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบไม่ควรรับประทาน วาเลเรียนเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทาน วาเลเรียนหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ศัลยกรรม:

หยุดรับประทาน วาเลเรียนอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง:

วาเลเรียนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น:

  • ปวดหัว
  • กระวนกระวาย
  • ไม่สบายใจ
  • นอนไม่หลับ (ในบางคน)

เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานเป็นเวลานาน ควรลดปริมาณการใช้ยา:ลงอย่างช้าๆ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนที่จะหยุดยาอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม  ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา:

วาเลเรียนอาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยาหรืออาการทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับหมอสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ เช่น:

แอลกอฮอล์:

แอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ เช่นเดียวกันกับ วาเลเรียนการรับประทาน วาเลเรียนกับแอลกอฮอล์จำนวนมาก อาจทำให้ง่วงนอนได้มากจนเกินไป

อัลพราโซแลม (ซาแนกซ์) Alprazolam (Xanax):

วาเลเรียนสามารถชะลอความเร็วของตับในการย่อยสลาย อัลพราโซแลม การใช้วาเลเรียนกับอัลพราโซแลม อาจเพิ่มผลข้างเคียงของ อัลพราโซแลม เช่น อาการง่วงนอนมากจนเกินไป

ยาระงับประสาท (Benzodiazepines):

วาเลเรียนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ยาที่ก่อให้เกิดอาการง่วงนอนเรียกว่า ยากล่อมประสาทการใช้ วาเลเรียนพร้อมกับยาดังกล่าว ทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากไป บางส่วนของยาเหล่านี้ ได้แก่ อัลพราโซแลม (Alprazolam) หรือซานแนกซ์ (Xanax) คลอนาเซแพม (Clonazepam) หรือโคลโนพิน (Klonopin) หรือไดอะเซแพม (Diazepam) หรือเวเลียม (Valium) หรือโลราเซแพม (Lorazepam) อะทีแวน (Ativan) ไมดาโซแลม (Midazolam) หรือเวอร์เซด (Versed) เทมาเซแพม (Temazepam) หรือเรสโตริล (Restoril) ทริอาโซแลม (Triazolam) หรือฮาลซิโอน (Halcion) และอื่น ๆ

ยาระงับประสาท (Depressants)

วาเลเรียนอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน คือ เรียกว่า ยากล่อมประสาท การใช้ วาเลเรียนพร้อมกับยาที่ใช้ในการผ่าตัดอาจทำให้เกิดอาการกล่อมหรือระงับความรู้สึกตัวเป็นเวลานาน

ยาดังกล่าวบางชนิด ได้แก่ เพนโตบาร์บิทอล (Pentobarbital) หรือเนมบูทอล (Nembutal) ฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) หรือลูมินอล (Luminal) หรือเซโคบาร์บิทอล (Secobarbital) หรือเซโคนอล (Seconal) หรือธิโอเพนทอล (Thiopental) หรือเพนโทธาล (Pentothal) เฟนทานิล (Fentanyl) หรือดูราเกสติก ซูบลิเมส (Duragesic Sublimaze) มอร์ฟีน พรอพโพฟอล (Propofol) หรือดิพรีแวน (Diprivan) และอื่น ๆ

ยาไซโตโครม พี450 3เอ4 (Cytochrome P450 3A4) หรือซีวายพี3เอ4 (CYP3A4)

วาเลเรียนอาจเร่งระบบการสลายตัวยาลงในตับ การใช้วาเลเรียนพร้อมยาบางอย่างอย่างอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ก่อนใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือพูดคุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหากกำลังใช้ยาใด ๆ ที่มีการเปลี่ยนสภาพโดยตับ เช่น ยาไซโตโครม พี450 3เอ4

ปริมาณการใช้ยา:

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้

ปริมาณการใช้ยาทั่วไปสำหรับวาเลเรียน:

สำหรับอาการนอนไม่หลับ:

  • ชา: น้ำเดือด1 ถ้วยตวง ชงกับรากแห้งประมาณ 1 ช้อนชา (2 ถึง 3 กรัม) แช่ 5 ถึง 10 นาที
  • สารสกัดเข้มข้น (1: 5): ปริมาณการใช้ยา: ที่แนะนำคือ 1 ถึง 1/2 ช้อนชา (4 ถึง 6 มิลลิลิตร)
  • สารสกัดเหลว (1: 1): ปริมาณการใช้ยา: ที่แนะนำคือ 1/2 ถึง 1 ช้อนชา (1 ถึง 2 มิลลิลิตร)
  • สารสกัดจาก (4: 1): ปริมาณการใช้ยา: ที่แนะนำคือ 250 ถึง 600 มก.สารสกัด
  • สารสกัดจากสมุนไพร วาเลเรียนขนาด 400-900 มก. ก่อนนอน 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 28 วัน
  • สารสกัดจาก วาเลเรียน120 มก. และสารสกัดจากมะนาวขนาด 80 มก. 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 30 วัน
  • ผลิตภัณฑ์ที่รวมสารสกัด จาก วาเลเรียน187 มก. สารสกัดดอกกระเจี๊ยบ 9 มก. ต่อเม็ดและ 2 เม็ดเป็นเวลา 28 วัน

รับประทาน วาเลเรียน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ก่อนนอน เมื่อนอนหลับดีขึ้น ให้ใช้ วาเลเรียนเป็นเวลา 2 ถึง 6 สัปดาห์

สำหรับความวิตกกังวล:

ปริมาณการใช้ยา:ที่แนะนำคือ 120 ถึง 200 มก. 3 ถึง 4 ครั้งต่อวัน

ปริมาณการใช้สมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและอาการอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ชำนาญด้านสมุนไพรเพื่อทราบปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

รูปแบบของวาเลเรียน:

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • วาเลเรียนชนิดเม็ดและแคปซูล
  • สารสกัดวาเลเรียน
  • ชาวาเลเรียน
  • สารสกัดเข้มข้น

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/09/2019

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา