backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สารสกัดจากพิษผึ้ง (Bee Venom)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 18/06/2020

สารสกัดจากพิษผึ้ง (Bee Venom)

การใช้ประโยชน์ สารสกัดจากพิษผึ้ง

สารสกัดจากพิษผึ้งใช้ทำอะไร

สารสกัดจากพิษผึ้ง (Bee Venom) สารสกัดจากพิษผึ้งถูกนำมาใช้ฉีดสำหรับ:

  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • อาการปวดเส้นประสาท
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • โรคเอ็นอักเสบ
  • อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเช่น การเกิดพังผืด และข้ออักเสบ
  • ลดปฏิกิริยาจากการโดนผึ้งต่อย สำหรับผู้ที่แพ้พิษผึ้ง

สารสกัดจากพิษผึ้งอาจได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

สารสกัดจากพิษผึ้งเป็นอย่างไร

ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมสมุนไพรนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าการฉีดสารสกัดจากพิษผึ้งเข้าไปใต้ผิวหนังซ้ำ ๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเคยชินกับพิษ และจะช่วยลดความร้ายแรงของพิษสำหรับผู้ที่แพ้

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้สารสกัดจากพิษผึ้ง

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากสารสกัดจากพิษผึ้งหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรนั้น

สารสกัดจากพิษผึ้งมีความปลอดภัยแค่ไหน

สารสกัดจากพิษผึ้งนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากเมื่อได้รับโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

การใช้ผึ้งจริงต่อยนั้นทำได้ ภายใต้การดูแลทางการแพทย์ โดยสามารถรับได้ถึง 20 ครั้ง แบ่งเป็น 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นจำนวน 24 สัปดาห์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากพิษผึ้งมีอะไรบ้าง

บางรายอาจมีอาการแดงและบวมในบริเวณที่ได้รับการฉีด ดังนี้

  • อาการคัน
  • ความวิตกกังวล .
  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • ใจสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย ง่วงนอน
  • มึนงง หน้ามืด
  • ความดันต่ำ

ผลข้างเคียงสำหรับผู้ที่แพ้พิษผึ้งมากนั้น เป็นไปในทางเดียวกันกับรายที่ได้รับพิษผึ้งน้ำหวาน และสตรี ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา โปรดปรึกษาแพทย์ของท่าน

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับสารสกัดจากพิษผึ้งมีอะไรบ้าง

สารสกัดจากพิษผึ้งอาจมีปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือสภาพทางการแพทย์ของคุณ ปรึกษาแพทย์ของท่าน ก่อนการนำไปใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับสารสกัดจากพิษผึ้งได้แก่

  • ยากดภูมิคุ้มกัน

สารสกัดจากพิษผึ้งอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ สารสกัดจากพิษผึ้งอาจลดประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มกันดังกล่าว

ตัวยากดภูมิคุ้มกันบางตัว ได้แก่ Azathioprine (เช่น Imuran), Basiliximab (เช่น Simulect), Cyclosporine (เช่น Neoral และ Sandimmune), daclizumab (เช่น Zenapax), Muromonab-CD3 (เช่น OKT3 และ Orthoclone OKT3), Mycophenolate (เช่น CellCept), Tacrolimus ( เช่น FK506 และ Prograf), sirolimus (เช่น Rapamune), Prednisone (เช่น Deltasone และ Orasone), Corticosteroids (เช่น Glucocorticoids) และตัวยาอื่น ๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้

ปกติควรใช้สารสกัดจากพิษผึ้งในปริมาณเท่าใด

ปริมาณการใช้สารสกัดจากพิษผึ้ง อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดจากพิษผึ้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร: แคปซูล (ที่รวมกับส่วนประกอบอื่นๆ) ยาทาผิว และอื่นๆ
  • ผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่ผลิตจากสารสกัดจากพิษผึ้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 18/06/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา