backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หญ้าหวาน ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/12/2021

หญ้าหวาน ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวังในการบริโภค

หญ้าหวาน (Stevia) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า “สเตเวีย รีบอดิอาน่า (Stevia Rebaudiana)” เป็นไม้พุ่มดก (Bushy Shrub) สมุนไพรชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งของสารให้ความหวานตามธรรมชาติ

ข้อบ่งใช้

หญ้าหวาน ใช้สำหรับ

หญ้าหวาน (Stevia) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า “สเตเวีย รีบอดิอาน่า (Stevia Rebaudiana)’ เป็นไม้พุ่มดก (Bushy Shrub) สมุนไพรชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งของสารให้ความหวานตามธรรมชาติ

บางคนอาจจะรับประทานหญ้าหวาน เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน อาการแสบร้อนกลางอก ระดับกรดยูริกในเลือดสูง ใช้เพื่อลดน้ำหนัก เพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และเพื่อรักษาอาการคั่งน้ำ

การทำงานของหญ้าหวาน

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของหญ้าหวาน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ หญ้าหวาน

โปรดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่น ๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของหญ้าหวาน ยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ
  • หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์

ข้อบังคับในการใช้สมุนไพรนั้นมีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อบ่งชี้ถึงความปลอดภัย ประโยชน์ของใช้สมุนไพรนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการใช้หญ้าหวานขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

ความปลอดภัยต่อโรคและภาวะอื่น ๆ

โรคภูมิแพ้ต่อแร็กวี้ด (Ragweed) และพืชที่เกี่ยวข้องกัน

โดยหญ้าหวานนั้นอยู่ในวงศ์แอสเทอราซี หรือ คอมโพซิเต (Asteraceae หรือ Compositae) หญ้าสกุลนี้ ได้แก่ แร็กวี้ด เบญจมาศ ดาวเรือง เดซี่ (Daisies) และพืชอื่น ๆ อีกมากมาย ในทางทฤษฎีนั้นผู้ที่มีปฏิกิริยาไวต่อแร็กวี้ด และพืชที่เกี่ยวข้องกันนั้น ก็อาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อหญ้าหวานด้วยเช่นกัน

โรคเบาหวาน

งานวิจัยที่กำลังพัฒนาบางชิ้นนั้นชี้ให้เห็นว่า สารเคมีบางชนิดที่มีอยู่ในหญ้าหวาน อาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจจะเข้าแทรกแซงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่งานวิจัยชิ้นอื่นไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ หากคุณเป็นโรคเบาหวาน และกำลังใช้หญ้าหวาน หรือสารให้ความหวานที่มีส่วนประกอบของหญ้าหวาน โปรดเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และแจ้งผลให้แพทย์ทราบ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ

มีหลักฐานบางอย่างที่แม้จะยังไม่ใช่ข้อสรุปว่า สารเคมีบางชนิดในหญ้าหวานสามารถลดระดับความดันโลหิตได้ และเป็นที่น่ากังวลว่า สารเคมีเหล่านี้อาจจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงต่ำเกินไป สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพก่อนใช้หญ้าหวาน หรือสารให้ความหวานที่มีส่วนผสมของหญ้าหวาน

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ หญ้าหวาน

หญ้าหวานและสารเคมีที่มีอยู่ในหญ้าหวาน อย่าง สตีวิโอไซด์ (Stevioside) และรีบาวดิโอไซด์ เอ (Rebaudioside A) มักจะมีความปลอดภัย หากรับประทานเป็นสารให้ความหวานในอาหาร สารรีบาวดิโอไซด์ เอ ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (GRAS) ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้เป็นสารให้ความหวานภายในอาหาร ส่วนสารสตีวิโอไซด์ เคยมีการใช้งานอย่างปลอดภัยในการวิจัยในขนาดสูงถึง 1500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 ปี

บางคนที่ใช้หญ้าหวาน หรือ สตีวิโอไซด์ (Stevioside) อาจจะมีอาการท้องอืดหรือคลื่นไส้ นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า บางคนอาจจะรู้สึกวิงเวียน ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการชา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

หญ้าหวานอาจจะมีปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้อยู่และโรคที่คุณกำลังเป็น โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับหญ้าหวาน อาจมีดังนี้

  • ยาลิเทียม (Lithium)
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาระดับกลาง ควรระมัดระวังการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน หญ้าหวานนั้นอาจจะส่งผลคล้านกับยาขับปัสสาวะ (Diuretic) การใช้หญ้าหวานอาจจะลดประสิทธิภาพในการกำจัดยาลิเทียมของร่างกาย ในทางทฤษฎีแล้ว อาการนี้อาจจะเพิ่มปริมาณของยาลิเทียมภายในร่างกาย และส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้ หากคุณกำลังใช้ยาลิเทียม คุณอาจจะต้องลดขนาดยาของยาลิเทียมลง

    • ยาสำหรับโรคเบาหวาน (ยาต้านเบาหวาน)

    อัตราการเกิดปฏิกิริยา ระดับเบา ควรระมัดระวังการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า หญ้าหวานอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในทางทฤษฎีแล้ว หญ้าหวานอาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยากับยารักษาโรคเบาหวาน และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำเกินไป ดังนั้น จึงยังไม่แน่ชัดว่าปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากหรือไม่ จนกว่าจะทราบข้อมูลที่แน่ชัด คุณควรจะเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใหล้ชิด ขณะที่คุณกำลังใช้หญ้าหวาน คุณอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงขนาดยาของยารักษาโรคเบาหวานลง

    บางส่วนของยารักษาโรคเบาหวาน ได้แก่ ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) อย่าง แอมาริล (Amaryl) ยาไกลบูไรด์ (Glyburide) อย่าง ไดอาเบต้า (DiaBeta) ไกลเนส เพรสแท็บ (Glynase PresTab) หรือไมโครเนส (Micronase) ยาอินซูลีน (Insulin) ยาไพโอกลิทาโซน (Pioglitazone) อย่าง แอคทอส (Actos) ยาโรซิกลิทาโซน (Rosiglitazone) อย่าง อะแวนเดีย (Avandia) ยาคลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) อย่าง ไดอาไบเนส (Diabinese) ยากลิพิไซด์ (Glipizide) อย่าง กลูโคโทรล (Glucotrol) ยาทอลบูทาไมด์ (Tolbutamide) อย่าง ออริเนส (Orinase) และอื่น ๆ

    งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า หญ้าหวานอาจจะลดระดับของความดันโลหิตได้ ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้หญ้าหวานร่วมกับยาลดระดับความดันโลหิต อาจทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณลดลงต่ำเกินไป แต่งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า หญ้าหวานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต ดังนั้น จึงยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นนี้เป็นข้อที่ควรกังวลอย่างมากหรือไม่

    บางส่วนของยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่ ยาแคปโทพริล (Captopril) อย่าง คาโปเท็น (Capoten) ยาเอนาลาพริล (Enalapril) อย่าง วาโซเทค (Vasotec) ยาโลซาร์แทน (Losartan) อย่าง โคซาร์ (Cozaar) ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) อย่าง ไดโอแวน (Diovan) ยาดิลไทอาแซม (Diltiazem) อย่าง คาร์ดิเซม (Cardizem) ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) อย่าง นอร์วาสค์ (Norvasc) ยาไฮโดรโคลโรไทอาไซด์ (hydrochlorothiazide) อย่าง ไฮโดรไดอูริล (HydroDiuril) ยาฟูโรเซไมด์ (Furosemide) อย่าง ลาซิกส์ (Lasix) และอื่น ๆ อีกมากมาย

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาหญ้าหวาน

    ขนาดยาของหญ้าหวานนั้นแตกต่างกันตามแต่ละราย ขนาดยาของคุณจะขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และสภาวะอื่น ๆ มากมาย สมุนไพรนั้นไม่ได้ปลอดภัยเสมอ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ เพื่อรับทราบขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

    รูปแบบของหญ้าหวาน มีดังนี้

    • ยาแคปซูลสารสกัดหญ้าหวาน
    • ยาผงสารสกัดหญ้าหวาน (ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ)
    • ยาน้ำหญ้าหวานเข้มข้นสีเข้ม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา