backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เนื้อเมล็ดแอปริคอต (Apricot Kernel)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/01/2019

สรรพคุณเนื้อแอปริคอต

เนื้อเมล็ดแอปริคอตเป็นส่วนด้านในเมล็ดของผลแอปริคอต เนื้อเมล็ดแอปริคอตนำมาใช้ผลิตน้ำมันและเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานด้านการแพทย์ เนื้อเมล็ดแอปริคอตใช้รักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะรับประทานหรือฉีดเข้าสู่ร่างกาย เนื้อเมล็ดแอปริคอตยังนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นอีกด้วย สอบถามแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

กลไกการออกฤทธิ์

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรจากเนื้อเมล็ดแอปริคอต ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญคือสารเคมีที่เรียกว่า อะมิกดาลิน (Amygdalin) ในเนื้อเมล็ด สารเคมีชนิดนี้ถูกเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งมีความเป็นพิษ จึงมีคนสนใจนำเอาเนื้อเมล็ดแอปริคอตไปใช้รักษาโรคมะเร็งเพราะคิดกันว่าสารอะมิกดาลินจะถูกดูดซึมโดยเซลล์มะเร็งก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ โดยหวังว่าไซยาไนด์จะเป็นอันตรายต่อเนื้องอกเท่านั้น แต่งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า นั่นไม่เป็นความจริง ที่จริงแล้ว สารอะมิกดาลินถูกเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ในกระเพาะอาหาร แล้วซึมไปทั่วร่างกายกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงจนเสียชีวิตได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้เนื้อเมล็ดแอปริคอต:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในเนื้อเมล็ดแอปริคอต ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเนื้อเมล็ดแอปริคอตนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เนื้อเมล็ดแอปริคอตมีความปลอดภัยเพียงใด

ถึงแม้จะมีคุณสมบัติเป็นยาและมีสรรพคุณคล้ายเนื้อเมล็ดอัลมอนด์ แต่เนื้อเมล็ดแอปริคอตเป็นสมุนไพรที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสารอะมิกดาลินได้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดกรดไฮโดรไซยานิก (Hydrocyanic Acid) หรือไซยาไนด์ (Cyanide) แม้เป็นปริมาณเล็กน้อยแต่เป็นสารที่เป็นพิษสูง หากบริโภคเนื้อเมล็ดแอปริคอตมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน โคม่าและเสียชีวิตได้

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

หญิงให้นมบุตรหรือหญิงตั้งครรภ์ควรงดเว้นการรักษาด้วยสมุนไพร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เนื้อเมล็ดแอปริคอต:

เนื่องจากเนื้อเมล็ดแอปริคอตมีความเป็นพิษอ่อน ๆ หากใช้เป็นระยะเวลานานติดต่อกันจะส่งผลให้ผู้ใช้บางรายมีอาการตั้งแต่ปวดศีรษะอย่างรุนแรงจนกระทั่งหัวใจวาย ผู้ที่มีอาการผิดปกติควรหยุดใช้น้ำมันจากเนื้อเมล็ดแอปริคอต และรีบปรึกษาแพทย์ทันที การใช้หรือสัมผัสเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้ระดับความเป็นพิษมากจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการของภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและ/หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอุดตัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลี่ยงการใช้ในปริมาณที่มากเกินไปเพื่อเลี่ยงผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาอื่นกับเนื้อเมล็ดแอปริคอต:

เนื้อเมล็ดแอปริคอตอาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ปริมาณปกติสำหรับการใช้เนื้อเมล็ดแอปริคอตอยู่ที่เท่าไร

ปริมาณการใช้เนื้อเมล็ดแอปริคอตอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรจากเนื้อเมล็ดแอปริคอตอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

เมล็ดแอปริคอตมีจำหน่ายในรูปแบบใด

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • เมล็ดแอปริคอต 500 มม. X 90 แคปซูล

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด ***

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/01/2019

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา