backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไนอาซินและไนอาซินาไมด์ (Niacin or Niacinamide)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 21/04/2020

ไนอาซินและไนอาซินาไมด์ (Niacin or Niacinamide)

ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ (Niacin or Niacinamide) ใช้ในการรักษาอาการที่ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงหรือรักษาอาการทางสุขภาพอื่นๆ เช่นปัญหาการไหลเวียนโลหิต ปวดศีรษะไมเกรน วิงเวียนศีรษะ

สรรพคุณ

ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ (Niacin or Niacinamide) ใช้รักษาอาการที่ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงหรือรักษาอาการทางสุขภาพอื่นๆ เช่น ปัญหาการไหลเวียนโลหิต ปวดศีรษะไมเกรน วิงเวียนศีรษะ และลดอาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับอหิวาตกโรค นอกจากนี้ ไนอาซินยังใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผลของสารเสพติดในปัสสาวะเป็นบวกในคนที่ใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายและยังป้องกันการขาดวิตามิน B3 และอาการป่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น เพลลาการ์

ไนอาซิน อาจใช้ในการใช้รักษาโรคอื่นๆ เช่น ไนอาซินาไมด์สำหรับโรคเบาหวาน เพมพิโกอิด บูลัส และ แกรนนูโลมาร์ แอนนูลารี่; สำหรับโรคจิตเภท, ภาพหลอน; โรคอัลไซเมอร์และการสูญเสียทักษะในการคิด, โรคที่เกี่ยวกับอายุ, สมองเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า อาการเมารถ ติดยาเสพติดแอลกอฮอล์และของเหลวสะสม (บวมน้ำ); สิว, โรคเรื้อน, โรคสมาธิสั้น(ADHD), การสูญเสียความจำ, โรคข้ออักเสบ, การป้องกันอาการปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือน,   การปรับปรุงการย่อยอาหาร, การป้องกันสารพิษและมลพิษ, ลดผลกระทบที่มีต่ออายุ, ความดันโลหิตต่ำ, การปรับปรุงการไหลเวียน, ส่งเสริมการผ่อนคลาย, ทำให้การสำเร็จความใคร่ดีขึ้น, และป้องกันต้อกระจก

กลไกการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมชนิดนี้ยังมีไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม มีผลงานวิจัยบางส่วนที่บอกว่า ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ มีความจำเป็นต่อการทำงานที่เหมาะสมของไขมันและน้ำตาลในร่างกายและเพื่อรักษาเซลล์ให้มีสุขภาพดี แต่การใช้ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ปริมาณที่สูงอาจมีผลแตกต่างกัน โดยในไนอาซินอาจช่วยให้คนเป็นโรคหัวใจได้ เนื่องจากมีประโยชน์ในการเกาะตัวของโลหิตให้เป็นก้อน นอกจากนี้ยังอาจปรับปรุงระดับไขมันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และในด้านไนอาซินาไมด์นั้นไม่มีผลดีต่อไขมัน และไม่ควรใช้เพื่อรักษาระดับคอเลสเตอรอลสูงหรือมีไขมันในเลือดสูง

การขาดสารไนอาซินอาจก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า เพลลาการ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคืองผิวหนัง, ท้องร่วงและภาวะสมองเสื่อม  เพลลาการ์มักมีทั่วไปในยุคศตวรรษที่20ต้น แต่ไม่ค่อยมีอยู่ในปัจจุบันเพราะอาหารที่เสริมด้วยไนอาซิน เพลลาการ์ ได้ถูกลบออกไปจากความจริงแล้วในประเทศแถบตะวันตก

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หาก

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรได้รับยารักษาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • แพ้สารที่อยู่ใน ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ หรือยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดการใช้ยา ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความปลอดภัย โดยประโยชน์ของการรับประทานไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ต้องมากกว่าความเสี่ยงก่อนใช้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของ ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์

ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์นั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ หากรับประทานในขนาดและปริมาณที่ถูกต้องตามคำสั่งของแพทย์และเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์มีความปลอดภัยอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้ในช่วงนมบุตรเมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำ ปริมาณไนอาซินที่แนะนำสำหรับสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรคือ 30 มก.ต่อวันสำหรับสตรีอายุต่ำกว่า 18 ปี และ 35 มก.ต่อวันสำหรับสตรีที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

การแพ้: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ อาจทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้นเนื่องจากทำให้เกิดสาร ฮิสตาไมน์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นตัวก่อให้เกิดอาการแพ้ .

  • โรคหัวใจ / โรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่เสถียร: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์จำนวนมากสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โปรดใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • โรคเบาหวาน: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ที่เป็นเบาหวานที่ใช้ ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง
  • โรคถุงน้ำดี: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์อาจทำให้โรคถุงน้ำดีแย่ลง
  • โรคเกาต์: จำนวนไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์มากอาจทำให้เกิดโรคเกาต์
  • ความดันโลหิตต่ำ: อย่าใช้ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ถ้าคุณมีความดันโลหิตต่ำโดยความดันโลหิตของคุณอาจลดลงมากเกินไป
  • โรคตับ: ไไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์อาจทำให้ความเสียหายของตับเพิ่มขึ้น โปรดอย่าใช้หากคุณมีโรคตับ
  • โรคไต: ไนอาซินอาจสะสมอยู่ในคนที่มีโรคไตและเป็นอันตรายต่อ โปรดอย่าใช้ผลิตภัณ์เหล่านี้หากคุณมีโรคไต
  • แผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก: ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์อาจทำให้แผลพุพองรุนแรงขึ้น โปรดอย่าใช้หากคุณมีแผล
  • การผ่าตัด:ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์อาจรบกวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระหว่างและหลังการผ่าตัด โปรดอย่าใช้ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ โดยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงรองจากไนอาซินเป็นปฏิกิริยาการฟอกสี อาจทำให้เกิดการเผาไหม้, รู้สึกเสียวซ่าน, มีอาการคัน, หน้าแดง, แขนและหน้าอกแดง มีอาการปวดหัว หากดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้อาการแย่ลง โปรดหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ใช้ไนอาซิน

ผลข้างเคียงเล็กน้อยอื่น ๆ ของ ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ คือ มีอาการท้องเสีย มีก๊าซในช่องปาก มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดในปาก และปัญหาอื่น ๆ

เมื่อได้รับไนอาซินมากกว่า 3 กรัมต่อวัน อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับตับ โรคเกาต์ แผลในระบบทางเดินอาหาร การสูญเสียการมองเห็น น้ำตาลในเลือดสูง การเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอและปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ผลข้างเคียงที่คล้ายกันอาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ ไนอาซินาไมด์ ในปริมาณมาก

ความกังวลบางอย่างเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นกับคนที่รับประทาน ไนอาซิน พบว่าคนที่กินไนอาซินในปริมาณมากมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับประทานไนอาซิน แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าผลนี้เกิดจากไนอาซินหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการหรือผลข้างเคียงดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจพบอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในบทความนี้ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมตัวนี้อาจมีผลกับยาหรือผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบันของคุณ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่มีปฏิสัมพันธ์ปานกลางกับอาหารเสริมตัวนี้ประกอบด้วย:

  • แอลกอฮอล์ (เอทานอล)
  • อัลโลเพียวริโนล (ไซโลพริม)
  • คามาเมสซิพีน (เทกรีทอล)
  • โคลริดีน (คาตาเพลส)
  • ยาสำหรับโรคเบาหวาน (ยาต้านโรคเบาหวาน)
  • ยาที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล (ตัวยึดกรดน้ำดี)
  • ยาที่ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล (สเตติน)
  • พริมมิดัน (ไมโซลีน)
  • โพรบีเนซิด
  • ซัลฟินไพลาโซน (อันตูราเน่)
  • ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิสัมพันธ์เล็กน้อยกับอาหารเสริมตัวนี้ ได้แก่

    ขนาดการใช้

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

    ปริมาณที่แนะนำของ ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์เมื่อรับประทานในบางกรณีคือ:

    • ในการรักษาระดับคอเลสเตอรอลสูง: ไนอาซินาไมด์ช่วยลดระดับ HDL และ 2000 มก/วัน ไนอาซินาไมด์สามารถช่วยลด LDL ได้ 2000-3000 มก/วัน
    • เพื่อป้องกันโรคหัวใจในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง: 4กรัมไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ทุกวัน
    • เพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินบี 3: 50-100 มก ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ต่อวันสำหรับการขาดวิตามินบี 3 อย่างอ่อน; 300-500 มิลลิกรัม

      ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์สำหรับผู้ใหญ่ในผู้ใหญ่; 100-300 มิลลิกรัมไนอาซิน และไไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์สำหรับเด็กปัสสาวะในเด็ก; 50-200 มิลลิกรัม ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ ทุกวันสำหรับโรคฮาทนับ

    • เพื่อลดการสูญเสียของของเหลวที่เกิดจากพิษของอหิวาตกโรค: ไนอาซิน 2 กรัมต่อวัน
    • เพื่อป้องกันโรคเบาหวานประเภท 1 ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูง: 1.2 กรัม / m² (พื้นที่ผิวกาย) ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ที่ปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน
    • เพื่อชะลอการเกิดโรคของผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 1: 25 มก/ กก ของไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ทุกๆวัน
    • ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม:ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ในปริมาณที่แบ่ง 3 กรัมต่อวัน
    • เพื่อลดต้อกระจก: 44 มิลลิกรัมของไนอาซินเป็นอาหารประจำวัน
    • เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์: ไนอาซิน 17-45 มิลลิกรัมจากอาหารและวิตามิน

    ปริมาณสำหรับสมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยทุกราย ปริมาณที่คุณใช้ขึ้นอยู่กับอายุสุขภาพและเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับปริมาณที่เหมาะสม

    รูปแบบยาของไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์

    ไนอาซินหรือไนอาซินาไมด์ อาจมีอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

    • ยาเม็ด 500 มก. 1000 มก.
    • แคปซูล 500 มก. 250 มก.; 100 มก.
    • เซรั่ม 5%

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 21/04/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา