backup og meta

ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรรับมืออาการนี้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

    ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรรับมืออาการนี้อย่างไร

    อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องพบเจอ อีกทั้งอาการปวดหัวนี้สามารถเชื่อมโยง และพัฒนานำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำวิธีรับมือ และสาเหตุเบื้องต้นมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลให้ปวดหัวได้อย่างไร

    โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease; COPD) สามารถทำลายบางส่วนของปอด ส่งผลกระทบต่อการหายใจเข้าและออก เมื่อการหายใจมีปัญหาก็จะส่งผลให้ส่งผลกระทบต่อการรับออกซิเจนและอาจทำให้เกิด ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) ได้ ภาวะขาดออกซิเจนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเลือดของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานช้าลง และทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มมากขึ้น

    อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนในสมอง บวกกับการมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมากเกินไป อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน เนื่องจากร่างกายสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างที่คุณนอนหลับ นอกจากนี้หากคุณมีอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในตอนเช้า คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีกด้วย

    อาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นอย่างไร

    อาการปวดหัวโดยทั่วไป อาจแตกต่างกันตามความถี่ และความรุนแรงของอาการ เนื่องจากอาการปวดหัวนั้นเป็นเรื่องปกติ จึงอาจจะเป็นการยากที่จะแยกว่าอาการปวดหัวนี้เกี่ยวข้องกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอาการปวดศีรษะจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น

    • เจ็บหน้าอก
    • หายใจเสียงดัง
    • หายใจหอบถี่
    • มีอาการสำลักเมื่อตื่นนอน
    • หายใจเร็ว

    อาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้น หากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจมีอาการพร้อมๆ กับการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง และมีจุดสีแดงหรือสีม่วงจากภาวะการขาดออกซิเจน

    วิธีจัดการกับอาการ ปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    เนื่องจากอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน ขั้นตอนแรกจึงควรเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งทำได้โดยการบำบัดด้วยออกซิเจน แพทย์มักจะสั่งจ่ายออกซิเจนชนิดถังเพื่อรักษาอาการของคุณ จะใช้การส่งออกซิเจนผ่านท่อด้วยการสูดผ่านหน้ากากและต่อท่อเข้าสู่หลอดลม อาการปวดหัวของคุณจะดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ

    แม้จะได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน คุณก็ยังอาจมีปัญหาในการนอนเวลากลางคืน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปัญหาการหายใจจะรบกวนการนอนของคุณ และส่งผลให้ระบบการทำงานในช่วงเช้าแปรปรวน อาการปวดหัวมักรบกวนการนอนไม่ว่าคุณจะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือไม่ก็ตาม

    คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งบางคนมีอาการเหล่านี้เช่นกัน ลักษณะของอาการที่พบบ่อยคือการหายใจไม่อิ่ม หรือหยุดหายใจในขณะหลับ เมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน และปวดหัวบ่อยมากขึ้น โรคหยุดหายใจขณะหลับมักจะรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous positive airway pressure – CPAP) เพื่อช่วยเปิดระบบทางเดินหายใจ

    การจัดการกับอาการปวด ยังเป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การรักษาอาการปวดหัวยังมีผลกระทบต่อคุณภาพของชีวิต หากคุณรู้สึกปวดหัวเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการจัดการกับอาการเจ็บปวดที่ดีที่สุด การใช้ยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็นบ่อยเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณ สถาบันความผิดปกติทางประสาทแห่งชาติ แนะนำให้งดการใช้ยาแก้ปวดมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์

    บรรเทาอาการปวดหัว

    การรักษาอาการปวดหัวจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีความซับซ้อนมากกว่าที่จะใช้ยาลดอาการปวดทั่วไป คุณอาจมีอาการน้อยลงเมื่อรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เป้าหมายหลักของการรักษาคือการเพิ่มระบบการทำงานของปอด ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคุณยังจะมีอาการปวดหัวและภาวะแทรกซ้อนน้อยลงเช่นกัน

    สิ่งที่สำคัญคือ ต้องพิจารณาอาการปวดหัวจากสาเหตุอื่นๆ เพียงเพราะคุณมีอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องมีอาการปวดหัวจากโรคนี้เท่านั้น หากคุณไม่แน่ใจว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือสาเหตุของอาการปวดหัวหรือไม่ คุณควรไปหาแพทย์ และรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 18/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา