backup og meta

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติที่ควรรู้

    เมื่อต้องมีชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โภชนาการที่ดีจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับปอดของคุณในอนาคต มีอาหารหลายประเภท ที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหายใจของคุณ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถจำกัดความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมของปอด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนอาหาร เพื่อให้การหายใจของคุณเป็นไปอย่างเหมาะสม บทความต่อไปนี้ของ Hello คุณหมอ เป็นข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    อาหารให้พลังงานและสารอาหารแก่คุณเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หนึ่งในกิจกรรมเหล่านี้คือการหายใจ เมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณต้องการพลังงานในการหายใจมากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจของคุณ อาจต้องการแคลอรี่ในปริมาณที่มากกว่า 10 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้น นี่คือสิ่งที่คุณควรปฏิบัติเมื่อมีภาวะโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    • เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณให้มากขึ้น โปรตีนมีความจำเป็นในการป้องกันร่างกายของคุณจากการติดเชื้อ โดยการสร้างสารภูมิต้านทานให้มากขึ้น เมื่อคุณรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ ปอดของคุณอาจไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้ ซึ่งแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ สัตว์ปีก ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม
    • ควบคุมน้ำหนักร่างกาย  คุณควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับน้ำหนักร่างกาย และปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เมื่อคุณมีน้ำหนักเกิน ปอดของคุณต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ร่างกายของคุณต้องการ ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมได้
    • ดื่มน้ำในปริมาณมาก คุณควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 ถึง 8 แก้วต่อวัน ยิ่งดื่มน้ำมากขึ้น จะทำให้เมือกเจือจาง และขับออกได้ง่าย คุณควรดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เพราะน้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดสำหรับร่างกาย
    • รับประทานน้อยลงแต่บ่อยขึ้น สิ่งนี้ช่วยป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารขยายตัว ทำให้เกิดแรงกดที่ปอดน้อยลง และหายใจได้ดีขึ้น อาการบ่งชี้ของภาวะกระเพาะอาหารขยายตัวที่มีผลต่อการหายใจของคุณ คือ หายใจลำบากในระหว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
    • ทำความสะอาดทางเดินหายใจอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนรับประทานอาหาร  จะเป็นการช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้นในระหว่างรับประทานอาหาร
    • รับประทานอย่างช้าๆ ในระหว่างนั่งตัวตรง จะช่วยให้คุณย่อยอาหารและหายใจได้ง่ายขึ้นในระหว่างรับประทานอาหาร

    ข้อห้ามเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

    อาหารที่คุณควรหลีกเลี่ยง คืออาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดและเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือทำให้มีของเหลวภายในร่างกายมากเกินไป นอกจากนี้ ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ หรือมีไขมันมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้

    • ห้ามใช้เกลือในอาหารมากเกินไป ให้ระมัดระวังอาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูป เพราะอาจมีโซเดียมในปริมาณมาก คุณสามารถตรวจสอบได้ โดยดูที่ฉลากคุณค่าทางโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ ให้เลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียมต่ำกว่า 140 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เพื่อความง่ายขึ้นให้สังเกตที่ค่าร้อยละประจำวัน หากค่าร้อยละประจำวันคิดเป็นร้อยละ 5 หรือต่ำกว่าต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ถือว่าเป็นค่าต่ำ หากค่าร้อยละประจำวันสูงกว่าร้อยละ 20 ถือว่ามีปริมาณโซเดียมสูง ปริมาณโซเดียมที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดภาวะคั่งน้ำ (water retention) และก่อให้เกิดภาวะหายใจลำบาก
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานมากเกินไป การรับประทานมากเกินไป อาจทำให้คุณมีน้ำหนักเกิน ภาวะน้ำหนักเกินสามารถทำให้เกิดแรงกดทับที่ปอดได้มากขึ้น
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรืออาการท้องอืด อาหารเหล่านี้รวมถึงอาหารทอด อาหารรสจัด ถั่ว และบร็อคโคลี่ ผลไม้ที่สามารถก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ได้แก่ แอปเปิล อะโวคาโด และแตงเมล่อน หากกระเพาะอาหารเต็มไปด้วยอาหาร ปอดของคุณจะถูกปิดกั้น และไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนได้เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก

    การมีชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสิ่งท้าทาย แต่คุณสามารถทำให้การรับมือเป็นเรื่องง่าย ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อช่วยให้คุณสามารถวางแผนการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา