backup og meta

หอบหืดเรื้อรัง รักษาได้ด้วยยาและวิธีการใดบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2021

    หอบหืดเรื้อรัง รักษาได้ด้วยยาและวิธีการใดบ้าง

    โรคหอบ (Bronchial asthma) หรือหอบหืด เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเพิ่มการตอบสนองของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ทำให้เกิดหดเกร็ง ขยายตัว สารคัดหลั่งบริเวณหลอดลมเพิ่มขึ้น และปิดกั้นทางเดินอากาศ เมื่อเป็น หอบหืดเรื้อรัง แล้วมีวิธีการในการรักษาโรคอย่างไรบ้าง Hello คุณมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับหอบหืดเรื้อรัง มาให้อ่านกันค่ะ

    การใช้ยาสำหรับ หอบหืดเรื้อรัง

    มียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาอาการหอบหืดที่ไม่รุนแรง แต่ไม่สามารถรักษาอาการที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางจากสมาพันธ์โรคระบบทางเดินหายใจยุโรป (ERS) และสมาพันธ์โรคทรวงอกอเมริกัน (ATS) นำเสนอวิธีการรักษาและประสิทธิภาพในการรักษาโรคหอบหืดขั้นรุนแรงที่หลากหลาย โดยสรุปตามหัวข้อด้านล่าง แพทย์ควรพูดคุยกับผู้ป่วยแต่ละคนถึงวิธีการรักษา รวมถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อหาข้อสรุปในการรักษาที่ดีที่สุด

    คอร์ติโคสเตียรอยด์

    ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นหนึ่งในกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการของ โรคหอบ อาการหอบหืดขั้นรุนแรง หมายถึง อาการที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่ายาชนิดนี้ใช้ไม่ได้ผล เป็นเพียงความต้องการขนาดยาที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยขั้นรุนแรงเท่านั้น

    เมื่อผู้ป่วยพ่นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไป ยาจะเข้าไปทางปอดโดยตรง เพื่อบรรเทาการอักเสบและอาการบวม การใช้ยานี้เป็นประจำในกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง สามารถช่วยป้องกันการกำเริบของอาการหอบหืดได้ อาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มขนาดการใช้ยาเพื่อรักษาอาการที่รุนแรง

    งานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นเผยว่า อาจสามารถเพิ่มขนาดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ถึง 4 เท่าจากขนาดปกติ เพื่อใช้รักษาอาการหอบหืดของผู้ป่วย ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และใช้ยาในปริมาณมากเป็นปกติอยู่แล้ว

    ยาขยายหลอดลมแบบรักษาอาการเฉียบพลันและระยะยาว

    ยาขยายหลอดลม (bronchodilators) รักษาอาการเฉียบพลันหรือระยะยาวทำให้กล้ามเนื้อในหลอดลมคลายตัว เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ การผสมกลุ่มยาที่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นาน (LABA) กับยาพ่นคอร์ติโคสเตียรอยด์ อาจช่วยควบคุมอาการของ โรคหอบ ได้ ยาขยายหลอดลมแบบออกฤทธิ์สั้นและยาวอยู่ในรูปแบบละอองฝอยหรือแบบพ่น

    ยาต้านลิวโคทรีน

    ลิวโคทรีน (Leukotriene) เป็นกลุ่มโมเลกุลในร่างกาย ที่ทำให้เกิดการหดตัวเล็กลงของหลอดลม ทำให้ปริมาณการผลิตมูกเพิ่มขึ้น รวมถึงทำให้เกิดอาการปอดบวมและอักเสบ การรักษาโดยวิธีนี้จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของโมเลกุลลิวโคทรีน ซึ่งช่วยทำให้การทำงานของปอดในผู้ป่วยหอบหืดบางคนดีขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับการพ่นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ แต่วิธีการใช้กับผู้ป่วยโรคหืดยังไม่ทราบแน่ชัด

    การใช้คุณสมบัติทางคลินิกและชีววิทยา

    การตรวจวัดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว Eosinophil ที่พบในมูก สามารถใช้เพื่อบ่งชี้ระดับความรุนแรงของโรคหืดได้ มีคำแนะนำให้ใช้ตัวเลขนี้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ในการรักษา และต้องเป็นค่าที่ได้จากศูนย์ที่มีประสบการณ์ในการตรวจ และใช้ร่วมกับวิธีการทางคลินิกอื่น ๆ เช่น การทดสอบการทำงานของปอด

    ไนตริกออกไซด์ เป็นโมเลกุลก๊าซที่ร่างกายผลิตเมื่อเกิดการอักเสบ ดังนั้น ผู้ป่วยหอบหืดบางคนจะมีระดับก๊าซไนตริกออกไซด์ ที่สูงกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ การใช้วิธีการนี้ในอาการหอบหืดขั้นรุนแรงยังไม่ได้รับการรับรอง ดังนั้น การใช้ไนตริกออกไซด์ในการรักษาจึงยังไม่แนะนำ เนื่องจากราคาสูงและอาจไม่ได้ผลสำหรับอาการหอบหืดขั้นรุนแรง

    รักษา โรคหอบ ด้วยการบำบัดด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุล

    เป็นการรักษา โรคหอบ รูปแบบใหม่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษานี้ใช้วิธีการทางชีวโมเลกุล (Molecular-based) ที่พุ่งเป้าไปยังโมเลกุลบางชนิดในร่างกาย และแทนที่จะพยายามลดอาการของโรคหอบหืด อย่างเช่นยาที่ใช้กันอยู่ การบำบัดทางชีวโมเลกุลจะบล็อกโมเลกุลไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก ด้วยการขัดขวางการตอบสนองของโมเลกุล

    วิธีการรักษาทางชีวโมเลกุลสำหรับ โรคหอบ วิธีแรกที่ได้รับการรับรองคือ การรักษาด้วยการต้านอิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE-resistant therapy) โดยเข้าไปยับยั้งอิมมูโนโกลบูลิน อี (immunoglobulin E) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบในผู้ป่วยโรคหืดจากภูมิแพ้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและเข้ารับการรักษาโรคหอบหืดโดยทันที เพื่อดำเนินการรักษาถูกต้อง และผู้ป่วยจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 21/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา