backup og meta

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยอาหารที่อาจช่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยอาหารที่อาจช่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    อาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การเลือกกินอาหารบางชนิดอาจมีส่วนช่วยในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมอาหารบางประเภทที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเพิ่มเข้าไว้ในมื้ออาหารของตนเองมาฝากกันในบทความนี้

    ประเภทของอาหารที่อาจมีส่วนช่วยในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 

    ผักใบเขียว

    ผักใบเขียว อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหาร เช่น แมกนีเซียมและวิตามินเอ ซึ่งสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยผักใบเขียวที่ควรเพิ่มลงไปในมื้ออาหาร ได้แก่

    งานวิจัยชี้ว่าการกินผักใบเขียว 1.35 ส่วนต่อวัน แทนการกิน 2 ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 14%

    อาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์

    ร่างกายของเราจะย่อยอาหารที่มีไฟเบอร์สูงได้ช้า จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง นอกจากนี้ไฟเบอร์ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำ และไม่ละลายในน้ำ โดยไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ส่วนไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำมักจะพบในถั่วเปลือกแข็ง ข้าวโอ๊ต และผลไม้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการทำให้ภาวะไวต่ออินซูลิน (Insulin sensitivity) ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณกินยาโรคเบาหวานน้อยลง

    นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า การกินอาหารไฟเบอร์สูง ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจด้วย โดยสำหรับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ ผักผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล บล็อคโคลี่  และกล้วย

    อาหารที่มีโปรตีนสูง

    อาหารโปรตีนสูงดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากโปรตีนจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเป็นเวลานาน ดังนั้น การกินอาหารโปรตีนสูง ให้มากกว่าการกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปังหรือข้าว ถือเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาหารโปรตีนสูง ได้แก่ นม โยเกิร์ต ไข่ เนื้อไม่ติดมัน ถั่วเปลือกแข็ง และเนยถั่ว

    กระเทียม

    กระเทียมมีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีการศึกษาวิจัยที่ชี้ว่า การกินกระเทียมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ในเวลาที่คุณไม่ได้กินอาหาร และงานวิจัยที่คล้ายกันยังให้ข้อมูลว่า หัวหอมก็มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน ดังนั้น คุณจึงอาจเพิ่มกระเทียมลงไปในมื้ออาหาร โดยไม่ต้องกังวลว่ากระเทียมจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

    โกโก้

    โกโก้ เป็นเมล็ดที่ลักษณะคล้ายถั่ว ที่ใช้ในการทำช็อกโกแลต โดยถ้าไม่ได้เติมน้ำตาลเข้าไปจะเรียกว่าดาร์ก ช็อกโกแลต ซึ่งจะมีรสขมและไม่มีรสหวาน สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรกินโกโก้ที่ไม่ผ่านการเติมน้ำตาล

    นอกจากนี้ ประโยชน์ของโกโก้ยังมีหลายประการ เช่น โกโก้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และโกโก้มีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) เรียกว่า เอพิแคทีชิน (Epicatechin) ซึ่งสามารถควบคุมการผลิตกลูโคส โดยการกระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่สำคัญ ดังนั้นการกินโกโก้จึงอาจช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

    อัลมอนด์ และถั่วเปลือกแข็ง

    อัลมอนด์สามารถช่วยควบคุม และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้หลังจากมื้ออาหาร เนื่องจากมีงานวิจัยที่ให้กลุ่มตัวอย่างกินอัลมอนด์ปริมาณ 2 ออนซ์ต่อวัน ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดระดับกลูโคสและอินซูลินในตอนที่ไม่ได้กินอาหารได้ และยังมีงานวิจัยที่พบว่า การกินอัลมอนด์สามารถเพิ่มความไวต่ออินซูลินในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)

    เชอร์รี่

    ถ้าคุณชอบกินผลไม้ อาจลองกินเชอร์รี่ที่มีรสเปรี้ยว แทนการกินผลไม้สุกที่อาจมีน้ำตาลสูง เนื่องจากเชอร์รี่มี แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ว่าแอนโทไซยานินอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานและโรคอ้วน ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน การกินเชอร์รี่ยังคงดีต่อสุขภาพ เนื่องจากเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีไกลซีมิกต่ำ (Low Glycemic Index) ซึ่งการกินอาหารที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาว สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา