backup og meta

ซุมบ้ากับข้ออักเสบ : อยากเต้นซุมบ้าแต่เป็นโรคข้ออักเสบ ทำได้ไหมนะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ซุมบ้ากับข้ออักเสบ : อยากเต้นซุมบ้าแต่เป็นโรคข้ออักเสบ ทำได้ไหมนะ

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบ จะลุกก็เจ็บ จะนั่งก็เจ็บ แถมบางครั้งข้อเข่ายังดังกร๊อบแกร๊บ จนไม่อยากจะเคลื่อนไหว เลยคิดไปว่า หากมีอาการข้ออักเสบไม่ควรจะออกกำลังกาย แต่ว่าจริงๆแล้วผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบสามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอที่ดูแลเราอยู่ ส่วนใครที่เห็นว่า…ซุมบ้าก็น่าเต้นแต่ข้ออักเสบก็กังวลใจ…เรามาร่วมกันไขข้อข้องใจเรื่อง ซุมบ้ากับข้ออักเสบ พร้อมๆกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ …ว่าทำได้รึเปล่า

    ซุมบ้า คืออะไร

    ซุมบ้า (Zumba) เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เป็นการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากท่าเต้นแบบละติน-อเมริกา เป็นการเต้นที่มีการสลับจังหวะช้า เร็ว สลับๆ กันไปพร้อมกับเพลงละตินจังหวะสนุกๆ เพื่อเป็นการฝึกความต้านทานของกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย

    การออกกำลังกายที่ผสมผสานกับท่าเต้น จะช่วยให้การออกกำลังกายมีความสนุกสนานพร้อมทั้งไม่เบื่อ มีส่วนช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ทั้งยังมีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นอีกด้วย

    ประเภทของ ซุมบ้า

    ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายด้วยการเต้น เมื่อปี 1990 Alberto “Beto’ Perez ผู้ฝึกสอนด้านการออกกำลังกายในโคลัมเบียมีการผสมผสานเพลง Salsa และ Merengue แบบดั่งเดิมเข้ากับการเต้นแอโรบิกของเขา ซึ่งออกมาเป็นการเต้น ซุมบ้า

    ซุมบ้าเป็นการออกกำลังกายประกอบเสียงเพลง แบบสนุกๆ ในจังหวะของละติน-อเมริกา ซึ่งรูปแบบของ ซุมบ้าก็มีหลากหลาย ซึ่งตัวเลือกในการออกกำลังกาย Zumba มีการแยกประเภทที่เหมาะกับกลุ่มอายุ ที่เฉพาะเจาะจง และระดับการออกกำลังกาย และยังมีประเภทของซุมบ้าที่เหมาะกับผู้ป่วยข้ออักเสบอีกด้วย

  • Zumba เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม กับผู้ที่เล่นฟิตเนสทุกๆ ระดับ
  • Zumba Gold-Toningเป็นประเภทของ ซุมบ้า ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุที่มีความกระตือรือร้น
  • Aqua Zumbaเป็นโปรแกรมการเต้นซุมบ้าที่ใช้มีการใช้สระน้ำเป็นหลัก เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องการออกกำลังด้วยการเต้นซุมบ้า แต่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ
  • Zumba Sentaoเป็นรูปแบบของการเต้นซุมบ้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
  • ซุมบ้ากับข้ออักเสบ 

    โรคข้ออักเสบ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อและการเคลื่อนไหวที่มีความผิดปกติและบกพร่อง ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยหลายๆ คนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และจะยิ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

    การออกกำลังกายด้วยการเต้นซุมบ้า เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดความสูญเสียเหล่านั้น ทั้งยังเป็นการออกกำลังกายที่มีการออกแบบ ผสมผสานการออกกำลังกายที่ลดการกระแทกลงเข้ากับการเคลื่อนไหว และยังได้ความสนุกสนานอีกด้วย

    มีงานวิจัยในปี 2559 แสดงให้ห็นว่าการออกกำลังกายที่มาจากพื้นฐานการเต้นมีประโยชน์กับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ ดังนั้น ซุมบ้ากับข้ออักเสบ ก็เป็นไปได้การศึกษาแบบสุ่มของนักวิจัยที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สรุปว่า การออกกำลังกายในรูปแบบของการเต้นไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อผู้ที่มีโรคข้ออักเสบ

    จากการศึกษาที่คล้ายกันของมหาวิทยาลัย Laval ในควิเบก รายงานว่า คนที่มีปัญหาข้ออักเสบ ที่ได้รับโปรแกรมการเต้นเป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีความเจ็บปวดโดยรวมลดลง นอกจากนี้อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าก็จะดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มบุคคลที่มีโรคข้ออักเสบที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

    ออกกำลังกายอย่างไรให้พอเหมาะกับ โรคข้ออักเสบ

    ความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยในโรคข้ออักเสบก็อาจจะมีความรุนแรงที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการออกกำลังกายมากหรือน้อยในผู้ที่ป่วยโรคข้ออักเสบจึงแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน

    หากออกกำลังกายแล้วเกิดอาการปวดนานเกิน 1 ชั่วโมงแสดงว่า มีการออกกำลังกายที่มากเกินขีดจำกัดของร่างกายตัวเอง สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคข้ออักเสบควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อปรับโปรแกรมในการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมกับตัวเอง

    คุณกำลังการออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่

    ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับว่า หากการออกกำลังกายทำให้เกิดอาการปวดซึ่งกินเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง อาจจะมีสาเหตุมาจากการใช้พลังงานมากเกินไป ส่วนผู้ที่มีโรคไขข้อ ควรข้อคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ เพื่อปรับโปรแกรมการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสม

    เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของการออกกำลังกายที่ต้องการความแข็งแรง เพื่อให้ได้ประโยชน์แต่กลับรู้สึกว่าเป็นโทษมากกว่า หลังออกกำลังกายแล้วเกิดอาการต่างๆเหล่านี้ ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เพื่อปรับตารางการออกกำลังกาย

    • ความเหนื่อยล้าที่ผิดปกติหรือถาวร
    • ยิ่งออกกำลังกายยิ่งอ่อนแอ
    • เคลื่อนไหวได้ลดลง
    • ข้อต่อ มีการบวมเพิ่มขึ้น
    • มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง (ความเจ็บปวด ที่กินเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากออกกำลังกาย)

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา