backup og meta

อาการของโรคข้อเสื่อม ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    อาการของโรคข้อเสื่อม ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

    อาการของโรคข้อเสื่อม เป็นอาการที่กระดูกอ่อนในข้อต่อเสื่อมสภาพลงและเกิดการเสียดสีกันจนเกิดแรงกด ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบของข้อต่อ โดยมักมีผลต่อข้อต่อในแขน ขา นิ้วมือ ข้อมือ เข่า ข้อเท้าและสะโพก เรามารู้จักกับโรคข้อเสื่อมให้มากขึ้น จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ค่ะ

    สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

    กระดูกอ่อนเป็นสารลักษณะคล้ายยางที่มีความทนทาน ยืดหยุ่น และนุ่มกว่ากระดูก ที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อต่อซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันกระดูกไม่ให้ได้รับกระทบกระเทือน และทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว เมื่อกระดูกได้รับความเสียหายหรือฉีกขาด จะทำให้กระดูกพรุน บริเวณข้อต่อและเนื้อเยื่อเกิดความเจ็บปวด เมื่อกระดูกอ่อนได้รับความเสียหายจะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ หากกระดูกอ่อนฉีกขาดหรือหายไปหมด ก็จะทำให้กระดูกเสียดสีจนเกิดเป็นโรคข้อเสื่อม

    เมื่อได้รับการกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักพบ โรคนี้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการใช้งานของข้อต่อมาเป็นระยะเวลานาน ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการเสื่อมสภาพของข้อต่อก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอีกด้วย เช่น เคยได้รับการบาดเจ็บในข้อต่อ (กระดูกอ่อนฉีกขาด ข้อต่อหลุด เอ็นได้รับการบาดเจ็บ) กระดูกผิดรูปตั้งแต่เกิด โรคอ้วน พฤติกรรมการใช้งานข้อต่อที่หนักเกินไป แต่ปัจจัยความเสี่ยงที่มักมีโอกาสเกิดมากกว่าคนอื่นๆ คือ พันธุกรรม และมักเกิดในเพศหญิง

    อาการของโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง

    โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และพบได้มากบริเวณข้อต่อ แต่บริเวณที่พบได้ทั่วไปคือ มือ ปลายนิ้ว หัวเข่า และสะโพก อาการความเจ็บปวดมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น อายุ การใช้งาน ตำแหน่งที่เกิดโรค โดยมีอาการต่างๆ ดังนี้

  • อาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ
  • อาการกดแล้วเจ็บ เมื่อมีการกดลงบริเวณที่เกิดโรคจะมีอาการเจ็บ
  • เกิดอาการตึง ข้อต่อมีความยืดหยุ่นน้อย ไม่สามารถขยับได้อย่างเต็มที่
  • เกิดการอักเสบ เป็นกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ทําให้เนื้อเยื่อของร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้หากเกิดอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น เกิดอาการบวมและอักเสบ
  • ไขข้อที่อยู่ระหว่างข้อต่อมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งปกติแล้วไขข้อช่วยในการเคลื่อนไหว แต่หากมีปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้เกิดอาการบวม เนื่องจากเศษของกระดูกอ่อนจะลอยรวมกับไขข้อในข้อต่อ ทำให้เกิดอาการบวมและบาดเจ็บ
  • อาการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้น จะมีอาการเจ็บระหว่างการทำกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวหรือแม้กระทั่งนั่งอยู่ก็จะรู้สึกเจ็บ อาการเจ็บและบวมจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวันหากยังคงใช้งานอย่างหนักโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  • เคลื่อนไหวได้น้อยลง จะมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวลดลง จะมีอาการตึงหรือเจ็บบริเวณข้อต่อ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ข้อไม่มั่นคง หากเป็นโรคข้อเสื่อมที่รุนแรงบริเวณหัวเข่า เมื่อก้าวเดินอาจจะทำให้เกิดอาการล็อค หรือขาดการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจจะทำให้ล้มลงขณะก้าวเดินและเกิดการบาดเจ็บได้
  • อาการอื่นๆ ในขณะที่ข้อมีการเสื่อมอย่างต่อเนื่องจะเกิดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ หินปูนเกาะกระดูก หรือข้อต่อผิดรูป
  • การรักษา

    การรักษาไม่สามารถทำให้ โรคข้อเสื่อม กลับมาดีเหมือนปกติได้ แต่สามารถทำให้ให้อาการต่างๆ ดีขึ้นได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต กายภาพบำบัด การใช้ยารักษา และการผ่าตัด นอกจากนี้การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการรักษา

    การรักษาโดยการใช้ยา

    • Acetaminophen เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมที่มีระดับความเจ็บปวดตั้งแต่น้อยไปจนถึงปานกลาง
    • Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) โดยปกติแล้วจะช่วยบรรเทาการเจ็บปวดของข้อเสื่อม และช่วยบรรเทาการอักเสบได้นิดหน่อย แต่อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้ท้องเสีย โรคหลอดเลือดตีบ เลือดออก มีผลเสียต่อกับและไต
    • Duloxetine (Cymbalta) โดยปกติจะใช้เป็นยากล่อมประสาท แต่สามารถช่วยรักษาอาการบาดเจ็บเรื้อรังได้

    การกายภาพบำบัด

    • นักกายภาพบำบัด จะมีการคิดโปรแกรมการบำบัดให้เหมาะกับแต่ละคน โดยจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การว่ายน้ำหรือการเดิน ซึ่งมีประสิทธิภาพพอๆ กับกายบำบัดโดยนักกายภาพบำบัด
    • นักกิจกรรมบำบัด สามารถช่วยผู้ป่วยหากิจกรรมหรือวิธีการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมเพื่อลดอาการบาดเจ็บ เช่น การแนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่มีด้ามจับที่ใหญ่เพื่อลดการบาดเจ็บที่มือหากคุณเป็นโรคข้อเสื่อมที่มือ
    • ไทเก็กและโยคะ การบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยยืดกล้ามเนื้อ และช่วยปรับลมหายใจ หลายๆ คนใช้การบำบัดนี้เพื่อลดความเครียด นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกว่าไทเก็กและโยคะสามารถลดความเจ็บปวดของโรคข้อเสื่อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวได้

    การผ่าตัดและวิธีอื่นๆ

    • การฉีดคอร์ติโซน (Cortisone) ช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นที่ข้อได้ โดยจะฉีดเข้าไประหว่างข้อต่อที่เสื่อม โดยต้องฉีดปีละ 3-4 ครั้ง
    • การฉีดสารหล่อลื่น (Lubrication injections) โดยจะฉีด กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) เข้าไปเพื่อที่จะลดการกระแทกที่หัวเข่าได้ โดยสารประกอบจะมีความคล้ายไขข้อกระดูกจึงฉีดเพื่อเข้าไปทำหน้าที่แทนไขข้อที่เสื่อม
    • การจัดเรียงกระดูก หากโรคข้อเสื่อมไปทำลายข้อต่อด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย แพทย์ที่ผ่าตัดจะตัดกระดูกหรือเพิ่มเข้าไปเพื่อให้มีความสมดุล
    • การเปลี่ยนข้อต่อ โดยแพทย์จะนำข้อต่อที่เสื่อมออกไปแล้วนำชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกหรือโลหะใส่เข้าไปทำหน้าที่แทน

    การป้องกัน โรคข้อเสื่อม

    • ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อเพื่อให้ข้อต่อมีความมั่นคง เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการว่ายน้ำ
    • ลดน้ำหนัก โรคอ้วนหรือการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะทำให้ข้อต่อมีการรับน้ำหนักที่มากขึ้น โดยเฉพาะหัวเข่าและสะโพก เพียงน้ำหนักที่ลดลงเล็กน้อยก็ช่วยลดแรงกดที่มีต่อข้อต่อได้
    • ใช้ทั้งความร้อนและความเย็นเพื่อลดความเจ็บปวดและอาการบวม ความร้อนช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อ ส่วนความเย็นช่วยลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา