backup og meta

การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    การนอนหลับผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร

    การนอนหลับผิดปกติ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างมาก เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการนอนหลับได้ และในทางกลับกันการนอนหลับที่ผิดปกติ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย

    การนอนหลับผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร

    การนอนหลับผิดปกติ เป็นสภาวะที่มีผลต่อความสามารถในการนอนหลับ การนอนหลับที่ผิดปกตินั้นมีตั้งแต่ระดับผิดปกติเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการโดยทั่วไปจะมีอาการง่วงในนอนตอนกลางวัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการนอนหลับผิดปกติด้วย ตัวอย่างเช่น การกรนเสียงดังซึ่งเป็นอาการของโรคหยุดหายใจขณะหลับ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรงตอนกลางคืน ซึ่งเป็นอาการของโรคลมชักขณะหลับ และการเคลื่อนไหวของขาที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นอาการเครียดของโรคที่เกิดกับขา

    การหลับผิดปกติจะนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่

    การนอนไม่หลับอาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสภาวะของโรคหยุดหายใจขณะหลับ จากสภาวะที่ลิ้นหรือกล้ามเนื้ออื่นๆ ทำการขวางกั้นไม่ให้มีออกซิเจนเข้าสู่ปอด

    คนไข้อาจจะหยุดหายใจไปหลายวินาที และในหลายกรณีอาจจะหยุดไปนานหลายนาที ทำให้สมองขาดออกซิเจน และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในร่างกายมาก

    สมองจะมีปัญหาถ้าขาดออกซิเจน ร่างกายจึงต้องพยายามกระตุ้นการส่งออกซิเจนเข้าไปในเลือด โดยเพิ่มจังหวะการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต และส่งสัญญาณไปที่ศูนย์การหายใจที่อยู่ในแกนกลางสมอง ทำให้คนไข้ต้องพยายามหายใจระหว่างนอนหลับ

    คนไข้ที่เป็นโรคหยุดหายใจในขณะหลับจาก จะตื่นขึ้นเนื่องจากรู้สึกไม่สบายเมื่อพยายามหายใจแล้วคอหอยยังปิดอยู่ พอตื่นขึ้นมาก็จะหายใจได้มากขึ้นก่อนที่จะผลอยหลับไปอีกครั้ง

    สิ่งนี้จะเกิดขึ้นนับสิบๆ ครั้งในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลให้มีระดับความดันโลหิตสูงในตอนกลางคืน และหัวใจเต้นเร็วขึ้น จนทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังในระบบหัวใจ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเส้นเลือดสมองตีบได้

    จะวินิจฉัยอาการนอนหลับผิดปกติได้อย่างไร

    หากคุณมีปัญหาเรื่องการนอนหลับมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยหยุดยั้งอาการปวดศีรษะ อาการเหนื่อยระหว่างวัน และบางครั้งอาจคุกคามถึงชีวิตได้

    บางครั้งก็จำเป็นบันทึกการทำงานของร่างกายในขณะที่คุณนอนหลับด้วย เพื่อตรวจการเคลื่อนไหวของสายตา (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของตา) คลื่นสมอง (การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง) จังหวะการเต้นของหัวใจ (คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ) การทำงานของกล้ามเนื้อ (การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ) การไหลเวียนของอากาศผ่านจมูกและปาก การหายใจ และระดับออกซิเจนในเลือด

    ซึ่งผลการตรวจเหล่านั้นจะบอกแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้ว่า สมองในช่วงใดของการนอนหลับมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยอิสระหรือไม่ และรบกวนการนอนหลับหรือเปล่า ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของขาในโรคที่เกี่ยวกับขา และรูปแบบการหายใจเป็นปกติหรือไม่ในระหว่างนอนหลับ

    นอกจากนี้อาจทำการศึกษาด้วยการบันทึกภาพวิดีโอ และบันทึกเสียงเอาไว้ในขณะนอนหลับ  ซึ่งจะมีประโยชน์ในการแยกแยะสาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ดีขึ้น

    จะรักษาอาการนอนหลับผิดปกติอย่างไร

    อาจต้องใช้เครื่องอัดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง ซึ่งจะมีประโยชน์ในการจัดการกับการอุดตันต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจชั่วขณะในตอนกลางคืน ซึ่งในหลายๆกรณี อาจทำการรักษาได้โดยการผ่าตัด แต่ควรทำการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้จากการผ่าตัดนั้น

    จะป้องกันอาการนอนหลับผิดปกติได้อย่างไร

    นี่คือเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการนอนหลับผิดปกติได้

    • ลดน้ำหนัก
    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยากล่อมประสาทก่อนนอน
    • หยุดสูบบุหรี่
    • ควรยกศีรษะให้สูงขึ้นในขณะนอนหลับ

    *** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด ***

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา