backup og meta

อาการสะอึก ไม่เลิกราอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นได้!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    อาการสะอึก ไม่เลิกราอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นได้!

    คุณคิดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง อาการสะอึก และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือไม่ อาจฟังดูแปลก เนื่องจากคุณมีอาการสะอึกหลายครั้งต่อวันในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กัน ให้ติดตามอ่านบทความนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม

    อาการสะอึก ที่ไม่หาย

    อาการสะอึกเป็นอาการเคลื่อนไหวของกระบังลม ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และเกิดขึ้นกะทันหัน กระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณส่วนล่างของปอด กระบังลมทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง เพื่อให้มีการหายใจได้ เมื่อปลายปิดของเส้นเสียงเคลื่อนตามการเคลื่อนไหวของกระบังลม ทำให้เกิดเสียง ‘สะอึก’ ขึ้นมา

    อาการสะอึกสามารถหายได้เองหลังจากเวลาผ่านไปเล็กน้อยโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ และอาการสะอึกเป็นภาวะปกติ คนส่วนใหญ่ต่างก็มีอาการสะอึกทั้งนั้น แต่อาการสะอึกที่คงอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง เป็นอาการผิดปกติ และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา

    อาการสะอึกเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมอง

    อย่างไรก็ดี การสะอึกเป็นเวลานานที่ไม่หายไปได้เอง หลังจากเวลาผ่านไปหลายวัน หรือหลายสัปดาห์อาจ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวบางชนิด ซึ่งรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองด้วย ในภาวะเช่นนี้ ให้สังเกตอาการอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดสมองด้วย เช่น

    • ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่ดวงตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอย่างกะทันหัน
    • ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ตามปกติ มีอาการวิงเวียน หรือเสียสมดุลของร่างกายอย่างกะทันหัน
    • ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างกะทันหัน
    • ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดอย่างกะทันหัน การพูดอาจไม่ชัด ผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดได้เลยถึงแม้ว่ารู้สึกตัว
    • ผู้ป่วยไม่สามารถยกแขนทั้งสองข้างได้อย่างกะทันหัน เนื่องจากมีอาการอ่อนล้าและอาการชา
    • ใบหน้าของผู้ป่วยอาจหดลงที่ข้างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่สามารถยิ้มได้ตามปกติ

    เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาการสะอึกและโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรไปปรึกษาหมอ

    สาเหตุอื่นๆ ของอาการสะอึก

    อาการสะอึกโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้น และหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่เฉพาะ ทุกคนอาจมีอาการสะอึกหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี อาการสะอึกในระยะสั้นบางครั้งอาจมีสิ่งกระตุ้นเฉพาะ เช่น

    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึก
    • การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดอาการสะอึก
    • อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในห้อง หรือภายในร่างกายของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศทันที หรือคุณดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน แล้วตามด้วยอาหารที่เย็น
    • ดื่มของเหลวอย่างรวดเร็วเกินไป
    • มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ เช่น ความเครียดหรือความกลัว
    • มีการกลืนอากาศ ตัวอย่างเช่น เวลาคุณเคี้ยวหมากฝรั่ง

    อาการสะอึกในระยะสั้นมักไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ขณะที่อาการสะอึกในระยะยาวหรืออาการสะอึกเรื้อรังที่มีอาการเกินกว่า 48 ชั่วโมงอาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะเกี่ยวกับสุขภาพบางประการ เช่น

    • ภาวะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม หรือหอบหืด
    • ภาวะทางจิต เช่น อาการช็อก อาการหวาดกลัว
    • กลุ่มอาการเกี่ยวกับระบบเผาผลาญของร่างกาย เช่น เบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
    • ภาวะที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การบาดเจ็บที่สมอง หรือเนื้องอกที่สมอง

    หรือยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาชา ยาเคมีบำบัด ยาโอปิออยด์ (opioids) ยาเบนโซไดอาเซปีน (Benzodiazepines) ยาเมทิลโดพา (Methyldopa)

    อาการสะอึกเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ดี อาการสะอึกที่มีอาการเป็นเวลาหลายวัน หรือแม้กระทั่งหลายปี อาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมอง หากคุณสังเกตได้ถึงอาการดังกล่าว ให้แจ้งแพทย์หรือผู้ดูแลสุขภาพ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา