backup og meta

วิธีแบบธรรมชาติที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางอก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 07/08/2020

    วิธีแบบธรรมชาติที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางอก

    อาการแสบร้อนกลางทรวงอก มักจะเป็น ๆ หาย ๆ เมื่ออาการกำเริบมักจะมีทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวดที่หน้าอก ส่วนใหญ่อาการนี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร หลาย ๆ คนมักจะเลือกการซื้อยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ยังมีวิธีแบบธรรมชาติและการเปลี่ยนพฤติกรรมมากมาย ที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางอก วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้อ่านกันแล้วค่ะ

    อาการแสบร้อนกลางอก (Heartburn) คืออะไร

    อาการแสบร้อนกลางทรวงอก (Heartburn) เป็นอาการปวดแสบ ปวดร้อนที่หน้าอก ซึ่งอาการมักจะกำเริบหรือเลวร้ายลงหลังจากที่รับประทานอาหาร ช่วงตอนเย็น ตอนนอน หรือตอนก้มตัว อาการแสบร้อนกลางทรวงอกเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็นแล้วหาย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งหลาย ๆ คนก็มักจะจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น ด้วยการซื้อยารับประทานจากเภสัชกร อาการแสบร้อนกลางทรวงอกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ นั้นมักจะรบกวนการทำกิจกรรมประจำวันได้

    วิธี หยุดอาการแสบร้อนกลางอก แบบธรรมชาติ

    หากใครที่เคยมีอาการแสบร้อนกลางทรวงอกจะรู้ดีว่า มักจะเกิดอาการสะอึกก่อนแล้วตามมาด้วยอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลำคอ บางครั้งอาการแสบร้อนนี้อาจจะเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารรสเผ็ด ไขมันสูง หรืออาหารที่เป็นกรด บางครั้งอาการนี้อาจจะเป็นหนึ่งในอาการของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่มาสาเหตุมาจากหลายอย่าง ซึ่งนอกจากการรับวประทายาเพื่อบรรเทาอาการแล้ว ยังมีวิธีแบบธรรมชาติมากมายที่ช่วย หยุดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก ได้

    อย่ากินมากเกินไป

    การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมือใหญ่มีส่วยช่วยให้อาการกรดไหลย้อนและอาการแสบร้อนกลางทรวงอกนั้นดีขึ้นได้ ส่วนใหญ่แล้วอาการกรดไหลย้อนมักจะเกิดขึ้นหลังการรับประทานอาหารมือใหญ่ ๆ  และทำให้อาการนั้นแย่ลง

    ลดน้ำหนัก

    ผู้ที่มีสุขภาพดี กะบังลมจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างให้แข็งแรง แต่หากมีไขมันหน้าท้องมากเกินไป ความดันในช่องท้องอาจสูงขึ้น จนเกิดภาวะที่เรียกว่า ไส้เลื่อนกระบังลม ซึ่งเป็นภาวะที่กระเพาะอาหารส่วนต้นยื่นเข้าไปในกระบังลม ซึ่งการลดน้ำหนัก ลดไขมันหน้าท้องช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

    ลดคาร์โบไฮเดรต

    การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลว่า เมื่อรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ได้ย่อยอาจทำให้เกิดการเติบโตของแบคทีเรียและทำให้ความดันภายในช่องท้องสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้การศึกษาบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มากเกินไป เกิดจากการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตบกพร่องอีกด้วย

    ลดปริมาณแอลกอฮอล์

    การดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนและอาการแสบร้อนกลางทรวงอก การดื่มแอลกอฮอล์จะไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง ในผู้ที่มีสุขภาพดีทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

    ดื่มน้ำน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล (Apple Cider Vinegar)

    การดื่มน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิลช่วยให้อาการแสบร้อนกลางทรวงอกนั้นดีขึ้นได้ในบางคน แต่สำหรับบางคนกลับทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นควรลองรับประทานในปริมาณเล็กน้อย แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ว่าดีขึ้นหรือแย่ลง ยังมีไม่ข้อมูลการศึกษาเรื่องนี้อย่างแน่ชัด จึงจำเป็นต้องการข้อมูลในการศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม

    เคี้ยวหมากฝรั่ง

    การเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยในการเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการล้างกรดในหลอดอาหาร ทำให้ช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้ จากการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นช่วยลดความเป็นกรดในหลอดอาหารได้

    หลีกเลี่ยงการรับประทานหัวหอมดิบ

    จากการศึกษาผู้ที่มีอาการกรดไหลย้อน แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของหัวหอมดิบนั้น ช่วยทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก กรดไหลย้อน และอาการเรอ เมื่อเทียบอาหารชนิดเดียวกันแต่ไม่มีหัวหอมดิบ บ่งบอกได้ว่าหัวหอมดิบอาจทำให้เยื่อบุหลอดอาหารระคายเคืองทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก

    อาการแสบร้อนกลางทรวงอกนั้น ปัจจัยส่วนใหญ่มักมาจากอาหารเป็นหลัก และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งอาหารแต่ละอย่างอาจแสดงอาการแสบร้อนกลางทรวงอกที่แตกต่างกันออกไป เราควรสังเกตตัวเองว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้อาการกำเริบ และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนั้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 07/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา