backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เกลือไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine Hydrochloride)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 08/12/2017

การใช้

เกลือไฮโดรคลอไรด์ใช้ทำอะไร

ปกติเกลือไฮโดรคลอไรด์จะใช้สำหรับรักษา:

  • โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคต้อหิน อาการผิดปกติที่ขากรรไกรหรือโรคข้อต่อขากรรไกร (ทีเอ็มดี) อาการปวดข้อ อาการปวดหลังและการลดน้ำหนักเมื่อใช้รับประทาน
  • โรคข้อเสื่อมเมื่อทาลงบนผิวหนังซึ่งผสมกับคอนดรอยติน ซัลเฟต กระดูกอ่อนปลาฉลามและการบูร
  • โรคข้อเสื่อมเมื่อใช้ฉีดในระยะสั้น

การออกฤทธิ์

            เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของเกลือไฮโดรคลอไรด์ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางส่วนบ่งชี้ว่าเมื่อรับประทานเข้าไป เกลือไฮโดรคลอไรด์จะช่วยทดแทนสสารที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อรอบข้อต่อ

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจาก ในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

• อยู่ระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา

• แพ้เกลือไฮโดรคลอไรด์ในทุกรูปแบบ ยาหรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ

• มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ 

• หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

            ข้อบังคับสำหรับเกลือไฮโดรคลอไรด์นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานเกลือไฮโดรคลอไรด์ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

เกลือไฮโดรคลอไรด์ปลอดภัยแค่ไหน

เกลือไฮโดรคลอไรด์ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่เมื่อใช้รับประทานนานถึง 2 ปี ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังมีไม่เพียงพอ โปรดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากการใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์

ยังมีข้อมูลเรื่องผลข้างเคียงของการใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีของผู้ป่วยที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น อาการภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การรับประทานเกลือไฮโดรคลอไรด์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ รวมถึงเกิดแก๊สในกระเพาะ อาการท้องอืดและเป็นตะคริว

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีก หากท่านกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาต่อยา

จะเกิดปฏิกิริยาอะไรเมื่อใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์กับสารอื่น ๆ 

            อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจมีปฏิกิริยากับพยาธิสภาพในปัจจุบันรวมถึง:

  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะโคเลสเตอรอลสูง
  • ระดับความดันโลหิตสูง
  • อาการแพ้อาหารทะเล
  • การผ่าตัด

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจเกิดปฏิกิริยากับยารักษาแผนปัจจุบันของท่านรวมถึง: ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin)  ยารักษาโรคมะเร็ง (Antimitotic chemotherapy)ยาแก้ปวด (ไทลินอลและอื่นๆ) (Acetaminophen (Tylenol, others)) ยารักษาโรคเบาหวาน (Antidiabetes drugs) รวมถึง ไกลเมพิไรด์ (อะแมริล) (glimepiride (Amaryl)) ไกลบูไรด์ (ไดอะบีต้า, ไกเนส เพรสแท็บ, ไมโครเนส) (glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase)) อินซูลิน(insulin) ไพโอกลิตาโซน (แอคโตส) (insulin, pioglitazone (Actos)), โรซิกลิตาโซน (อะวานเดีย) (rosiglitazone (Avandia)), คลอร์โพรพาไมด์ (ไดอะบีนีส)(chlorpropamide (Diabinese)), ไกลพิไซด์ (กลูโคทรอล) (glipizide (Glucotrol)), โทลบูตาไมด์ (โอริเนส) (tolbutamide (Orinase)), และอื่นๆ อีกมากมาย

หากท่านกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยา โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์อยู่ที่เท่าไร:

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อรับปริมาณยาที่เหมาะสม

เกลือไฮโดรคลอไรด์  มีจำหน่ายในรูปแบบใด

เกลือไฮโดรคลอไรด์  อาจมีจำหน่ายอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ยาเม็ด 1,500 มิลลิกรัม 1,000 มิลลิกรัม
  • แคปซูล 1,000 มิลลิกรัม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 08/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา