backup og meta

ระวัง! เศร้า...เครียด...แบบสุดขีด อาจทำให้คุณ สูญเสียความจำ ได้นะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

    ระวัง! เศร้า...เครียด...แบบสุดขีด อาจทำให้คุณ สูญเสียความจำ ได้นะ

    การ สูญเสียความจำ หมายถึง การที่เราไม่สามารถจดจำบางสิ่งบางอย่างในอดีต หรือสิ่งที่เราเคยทำได้ กลับทำไม่ได้ขึ้นมาเสียเฉยๆ สาเหตุของการสูญเสียความจำอาจมีได้หลายประการ หนึ่งในนั้นคือ ความเครียด ความเศร้า หรือเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจที่เราต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์’ ดังนั้น Hello คุณหมอ ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มาฝากกันในบทความนี้

    ทำความเข้าใจกับการ สูญเสียความจำ จากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์

    ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (Disscociative amnesia / Psychogenic amnesia) เป็นภาวะสูญเสียความจำ ซึ่งมีลักษณะอาการเฉพาะคือ ความทรงจำจะสูญหายไปบางช่วงจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจขั้นรุนแรง และอาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน

    ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้ จะไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ ได้ ซึ่งโดยปกติข้อมูลส่วนนี้จะไม่สูญหายไป หากเป็นการหลงลืมตามปกติ

    ภาวะนี้ถูกจัดเป็นกลุ่มโรคหลงผิด ที่ไม่ใช่โรคจิตเภท วิธีการรักษาจึงมักต้องหาสาเหตุที่ทำให้สูญเสียความจำ และจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา

    สาเหตุของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์มีอะไรบ้าง

    ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับการเผชิญกับความเครียดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดมาจากการผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ เช่น สงคราม การถูกทารุณ อุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่บุคคลเหล่านั้นได้เผชิญหรือพบเจอมา หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งภายในจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดในใจ ปัญหาค้างคาใจที่ไม่อาจแก้ไขได้ หรือความเสียใจในการ กระทำของตนเอง

    อาการของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์

    อาการทั่วไปของผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ คือ ไม่สามารถจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเหตุการณ์และรายละเอียดพื้นฐานของตนเอง แม้กระทั่ง ชื่อตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ในขณะที่บางรายก็มีทีท่าเหนื่อยหน่ายและเฉยเมย นอกจากนี้ มักพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่มีปัญหาในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น

    การวินิจฉัยภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์

    หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะทำการตรวจประเมินผลอย่างละเอียดด้วยการซักประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย

    นอกจากนั้น แพทย์อาจใช้การวินิจฉัยหลายวิธี เช่น ภาพวินิจฉัยระบบประสาท (neuroimaging) การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEGs) หรือ การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบระบบประสาท หรือความเจ็บป่วยอื่นหรือ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ

    หากไม่พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคใดๆ อาจถูกส่งไปตรวจประเมินโดยนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อช่วยตรวจประเมินด้วยการพูดคุยซักประวัติที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจประเมินอาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

    การรักษาภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์

    การรักษาภาวะนี้ มักเกี่ยวข้องกับการสืบค้นสาเหตุหรือเหตุการณ์สะเทือนใจที่ทำให้เกิดอาการความจำเสื่อม เพื่อช่วยฟื้นฟูความจำของผู้ป่วย จำเป็นต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษา ร่วมด้วยการสะกดจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือใช้ยาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะถูกสะกดจิต

    อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ป่วยภายใต้ฤทธิ์ยาหรือการสะกดจิตนั้นอาจบิดเบือนและผสมกับความเพ้อฝัน จึงมักไม่ถูกนำมาเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกใช้ในการรวบรวมหลักฐานสำคัญสำหรับค้นหาเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นในอดีต

    การป้องกันภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์

    ควรรีบรักษาทันทีที่เริ่มสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการ หลังจากที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจขั้นรุนแรง หรือประสบการณ์สะเทือนอารมณ์ ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดภาวะนี้ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 22/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา