backup og meta

โรคนิมโฟมาเนีย คลั่งไคล้ในเซ็กส์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/11/2022

    โรคนิมโฟมาเนีย คลั่งไคล้ในเซ็กส์

    หากใครมีอาการคลั่งไคล้ในเซ็กส์ หรือที่เรียกกันว่า โรคนิมโฟมาเนีย อยู่นั้นไม่ต้องเป็นกังวล หรือรู้สึกว่าตนเองแปลกประหลาดกว่าผู้อื่น เพราะถึงแม้จะเป็นเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ควบคุมได้ค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารักษาให้หายไม่ได้ ถึงเวลาที่ทุกคนควรเปิดใจทำความรู้จัก และหาวิธีรับมือกับอาการคลั่งไคล้ในเซ็กส์

    สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิมโฟมาเนียโดยไม่รู้ตัว

    ในปัจจุบันมีการเปิดให้เพศทางเลือกได้มีสิทธิ อิสระต่างๆ ไม่ว่าจะชาย หญิง สาวประเภทสอง ในการทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น เช่น การเลือกจำแหน่งหน้าที่การทำงาน การคบหาดูใจ การแต่งตัวตามแฟชั่นอย่างไม่มีจำกัด และอีกเรื่องหนึ่งนั่นก็ คือ การมีเซ็กส์ ขณะเดียวกันยังมีผู้คนบางกลุ่มที่คุณอาจคาดไม่ถึง และมีอยู่ในสังคมรอบตัวของเราจริงๆ พวกเขาเหล่านี้มักมีความหลงไหลในการมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินกว่าคนปกติทั่วไป หรือที่เรียกว่า โรคนิมโฟมาเนีย (Nymphomania) ซึ่งเป็นโรคทางจิตที่มีพฤติกรรมความต้องการทางเพศสูง โดยอาจเกิดได้จากการชักชวน หรือการมีเซ็กส์บ่อยจนทำให้เกิดความเคยชินมีอารมณ์เกินกว่าที่จะควบคุม รวมถึงความสมดุลของสารเคมีในสมองผิดปกติ และการถ่ายทอดพันธุกรรมภายในครอบครัวที่สามารถส่งผลให้คุณเป็นนิมโฟมาเนียได้ ในบางครั้งอาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล จนทำให้ผู้ป่วยใช้เซ็กส์เป็นทางออกของปัญหาในการระบายอารมณ์ภายในจิตใจได้อีกด้วย

    อาการแรกเริ่มที่ก่อให้เกิดโรคนิมโฟมาเนีย 

  • ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย
  • ช่วยตนเองให้สำเร็จความใคร่อยู่บ่อยครั้ง
  • เสพสื่ออนาจาร จากสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ภาพที่มีแบบเปลือยโป๊
  • มีคู่นอนหลายคน รวมถึงการนอกใจคู่รัก
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยความรู้สึกอับอาย ซึมเศร้าหรือแสดงอาการวิตกกังวล
  • โรคนิมโฟมาเนียอาจเกิดมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่เคยมีประวัติทางจิต เหตุการณ์ในชีวิตบางอย่างที่เคยเกิดขึ้นให้รู้สึกจดจำฝังใจ ความเจ็บป่วยทางจิต และความเครียดสะสม

    วิธีรักษาความต้องการทางเพศให้สมดุล 

    • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาจากนักบำบัด
    • ยาคลายกังวล ยารักษาอาการซึมเศร้า และอาการทางจิต โดยได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น
    • การรับประทานอาหารที่ส่งเสริมด้านสุขภาพ
    • มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมรอบข้างที่ทำให้ตนเองรู้สึกมีความสุข
    • ออกกำลังกายเป็นประจำเพิ่มสมาธิ เช่น โยคะ
    • พักผ่อน ปรับการนอนให้เวลาใกล้เคียงกันมากที่สุด
    • การนวดบำบัดเพิ่มความผ่อนคลาย
    • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา