backup og meta

รู้สึกมีปมด้อย เกิดจากสาเหตุใด แล้วจะเอาชนะความรู้สึกนี้อย่างไรดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/09/2020

    รู้สึกมีปมด้อย เกิดจากสาเหตุใด แล้วจะเอาชนะความรู้สึกนี้อย่างไรดี

    โดยส่วนใหญ่แล้วการที่คนเราจะ รู้สึกมีปมด้อย มักจะสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ มันทำให้เกิด ความทรงจำที่ไม่ดี ความรู้สึกเชิงลบ หรือแม้แต่ประสบการณ์แย่ๆ ฝังอยู่ในจิตใจ ซึ่งผลกระทบนี้สามารถส่งผลมาจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ นอกจากประสบการณ์แย่ๆ ในวัยเด็กแล้ว ยังอาจจะมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ รู้สึกมีปมด้อย วันนี้ Hello คุณทางได้หยิบเรื่องนี้มาฝากกัน

    สาเหตุที่ทำให้ รู้สึกมีปมด้อย

    Alfred Adler นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย คือผู้ที่อธิบายปมด้อยเอาไว้เป็นคนแรก ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยเขาเชื่อว่า ความผิดปกตินี้เป็นการชดเชย ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่แสดงพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อชดเชยความรู้สึกเชิงลบที่พวกเขามี หากใครบางคนไม่สามารถหักล้างความเชื่อที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับตัวเองได้สำเร็จ พวกเขาอาจจะมีการพัฒนาของปมด้อย

    Alfred Adler คิดว่า ปฏิกิริยาเหล่านี้เริ่มต้นในวัยเด็ก เขาเชื่อว่าเด็กทารกที่รู้สึกหมดหนทางและด้อยโอกาสพยายามเอาชนะอารมณ์เหล่านั้น ด้วยการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น วงจรของการชดเชยความรู้สึกต่ำต้อยนี้ติดตามเด็กๆ ไปตลอดชีวิต เมื่อเด็กตระหนักถึงข้อบกพร่องของตัวเองมากขึ้น และเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น พวกเขาก็จะเริ่มคิดว่าตัวเองมีปมด้อย ซึ่งกระตุ้นให้พวกเขาผลักดันการกระทำบางอย่างออกมา มากไปกว่านั้นแล้วผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่า ปัจจัยบางอย่างหรือหลายปัจจัยอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อยได้

    นอกจากทฤษฎีที่ Alfred Adler ได้กล่าวเอาไว้ การรู้สึกมีปมด้วย ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ซึ่งถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด

    ประสบการณ์ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่

    การเผชิญหน้าในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ สามารถจุดความรู้สึกมีปมด้อยขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น เด็กที่ได้ยินคำพูดที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างต่อเนื่อง อาจพัฒนาความเชื่อเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง ซึ่งมันจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งผู้ใหญ่ก็สามารถได้รับประสบการณ์ประเภทเดียวกันได้ ซึ่งมันสามารถนำไปสู่การพูดคุยกับตัวเองและการพยายามทำร้ายความรู้สึกของตัวเอง หากภาพของตัวเองในแง่ลบเกิดขึ้นในหลายๆ ด้านของชีวิต ในที่สุดมันก็จะพัฒนากลายเป็นปมด้อยขึ้นมา

    สภาวะทางสุขภาพจิต

    บางคนอาจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาปมด้อย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีความนับถือตัวเองต่ำและมองโลกในแง่ร้าย มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรู้สึกไร้ความสามารถ ในขณะที่ความรู้สึกต่ำต้อยอาจเป็นเรื่องจริงหรือจินตนาการก็ได้ แต่หากคุณมีภาวะสุขภาพจิตที่ไม่สู้ดี คุณอาจจะไม่รับรู้และหักล้างความคิดที่ผิดพลาดหรือเป็นอันตรายต่อตัวเองได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความอ่อนไหว ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาความรู้สึกมีปมด้อย

    ความท้าทายทางกายภาพ

    คนที่ต้องการเอาชนะตัวเองเพราะขาดดุลทางกายภาพ อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดความรู้สึกมีปมด้อย โดยปัญหาการขาดดุลทางกายภาพ ได้แก่

    โดย Alfred Adler ได้ยกตัวอย่างของ Napoleon Bonaparte ว่าเป็นคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยเนื่องจากลักษณะทางกายภาพ นั่นก็คือ รูปร่างเตี้ย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “นโปเลียน ซินโดรม หรือ นโปเลียน คอมเพล็กซ์ (Napoleon Syndrome หรือ Napoleon Complex)”

    ความด้อยโอกาสทางสังคม

    คนที่เติบโตมาพร้อมกับความด้อยโอกาสทางสังคม มักจะเกิดความรู้สึกไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดความรู้สึกมีปมด้อย

    บรรทัดฐานทางสังคมหรือวัฒนธรรม

    อุดมคติทางสังคมหรือวัฒนธรรมสามารถกระตุ้นปมด้อยได้ ตัวอย่างเช่น การรับรู้ว่าผู้หญิงควรมีร่างกายที่สมบูรณ์และสมส่วน อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่เพียงพอในบางคน

    ความเชื่อมโยงกับวัยเด็ก

    การเลี้ยงดูที่เข้มงวดเกินไป อาจทำให้ใครบางคนรู้สึกว่าตัวเองไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่บอกลูกว่า “ลูกไม่ดีพอ” นั่นอาจทำให้ลูกมีความรู้สึกล้มเหลวฝังรากลึกอยู่ในใจแบบที่ไม่มีวันหายไป นั่นอาจส่งผลทำให้พวกเขาทำงานได้มากเกินไปหรือต่ำกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาตอบสนองกับคำพูดที่เคยโดนพูดถึงอย่างไร

    สำหรับสถานการณ์อื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อยในภายหลังได้ เช่น ความกดดันจากคนรอบข้าง การล้อเล่น การแข่งขันกันของพี่น้อง และประสบการณ์อื่นๆ ในวัยเด็กที่อาจทำให้คนหนุ่มสาวรู้สึกอ่อนแอ และหมดหนทาง

    อาการของคนที่ รู้สึกมีปมด้อย

    สำหรับอาการของคนที่รู้สึกมีปมด้อยนั้นสามารถสังเกตได้ไม่ยาก ซึ่งถ้าพวกเขาลองสังเกตตัวเองดีๆ แล้วพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการเหล่านี้ มันก็จะช่วยทำให้พวกเขาสามารถกำจัดปมด้อยได้ ซึ่งอาการของคนที่รู้สึกมีปมด้อย ได้แก่

    พวกเขาหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มทางสังคม

    เนื่องจากความกลัวในจิตนาการของพวกเขาต่อกลุ่มทางสังคม คนที่รู้สึกมีปมด้อยสูงมักจะไม่สบายใจหากต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่มใหญ่ๆ เนื่องจากพวกเขากลัวว่าคนอื่นอาจสังเหตเห็นจุดอ่อนของพวกเขาในไม่ช้า และทำให้พวกเขาอับอาย ดังนั้น คนที่รู้สึกมีปมด้อยมักจะมีปัญหาในการสร้างมิตรภาพใหม่

    กลัวความล้มเหลว

    พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานจากความกลัวที่ไม่ใส่ใจว่า พวกเขาไม่สามารถทำงานบางอย่างได้ดีหรือมีประสิทธิภาพเท่าคนอื่นๆ ดังนั้น พวกเขาจึงรู้สึกอายและกังวลที่จะแสดงอะไรก็ตามในงานสังสรรค์ เช่น ผู้หญิงหลายคนรู้สึกหวาดกลัวในการร้องเพลง หรือเต้นรำต่อหน้าคนอื่นๆ แม้ว่าพวกเขาจะสามารถทำสิ่งเดียวกันนี้ได้อย่างดีในพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง เพราะพวกเธอต้องทนทุกข์ทรมานจากจิตใต้สำนึกของตัวเองที่กลัวว่าจะถูกคนอื่นล้อเลียน

    การตัดสินและทำให้คนอื่นอับอาย

    คนที่รู้สึกมีปมด้อยจะมีความต้องการทางจิตใต้สำนึกที่จะทำให้คนอื่นรู้สึกต่ำต้อย เพราะพวกเขาถูกผลักดันมากขึ้นจากความต้องการที่จะทำให้คนอื่นรู้สึกแย่และต่ำต้อยเกี่ยวกับตัวเอง ดังนั้น พวกเขาจึงเป็นคนมีปมด้อย ทั้งยังมีความซับซ้อน โดยพวกเขาจะไม่พยายามยอมรับคุณสมบัติของผู้อื่น ไม่เตรียมหรือฝึกตัวเองเพื่อสิ่งนั้น แทนที่จะยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง พวกเขาจะพยายามอ้างถึงความล้มเหลวและความผิดพลาดของตัวเองกับผู้อื่น

    การโหยหาความสนใจจากผู้อื่น

    การรู้สึกมีปมด้อย หรือความต่ำต้อยที่ซับซ้อนจะทำให้แต่ละคนรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองและความสามารถในระดับที่เขามักจะต้องรอให้ผู้อื่นพูดออกมา ดังนั้น บุคคลที่มีปมด้อยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความรักและพิสูจน์ พวกเขามักจะพึ่งพาความเห็นชอบจากผู้อื่นในเรื่องของความสุขของตัวเอง บางครั้งพวกเขาอาจแกล้งทำเป็นป่วยหรือมีปัญหาเพื่อจะได้รับความสนใจ

    พวกเขาเพิกเฉยต่อความรู้สึกและความต้องการที่จะทำให้ผู้อื่นพอใจ

    บุคคลที่รู้สึกมีปมด้อยมักมองข้ามสิทธิความต้องการและความรู้สึกของตัวเองที่จะทำให้ผู้อื่นพอใจ หรือแสวงหาความสนใจ ได้รับความเห็นชอบ และความรักจากตัวเอง ไม่เพียงแค่นี้ พวกเขายังคงบีบรัดความต้องการและอดทนต่ออารมณ์ร้าย การล่วงละเมิด และความอัปยศอดสูจากคู่ครองหรือความสัมพันธ์อื่นๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความรักและการยอมรับ

    พวกเขาไม่สามารถทนต่อคำวิจารณ์หรือคำชมเชยได้

    คนที่รู้สึกมีปมด้อยจะมีความรู้สึกไวต่อคำวิจาณ์และคำชมพวกเขาอาจกลายเป็นศัตรูกับผู้ที่วิจารณ์พวกเขาเพียงเล็กน้อย เนื่องจากคำวิจาณ์นั้นอาจไปตอกย้ำความคิดของพวกเขาว่ามีปมด้อยเกี่ยวกับตัวเอง ในขณะที่คำชม มักจะทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนถูกเยาะเย้ย ดังนั้น เพื่อป้องกันตัวเอง พวกเขาจะกลายเป็นคนก้าวร้าวหรือมีอารมณ์ที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป

    วิธีเอาชนะความ รู้สึกมีปมด้อย

    หากคุณกำลังรู้สึกมีปมด้อยและต้องการเอาชนะปมด้อยด้วยตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ คุณสามารถทำตามกลยุทธ์เหล่านี้ได้

    สร้างความมั่นใจในตัวเอง

    พยายามแสดงความมั่นใจ ทำในสิ่งที่คุณรัก โอบกอดตัวเอง พยายามยอมรับตัวเองในแบบที่คุณเป็นให้ได้ หรือพยายามทำอะไรกับมั่น เช่น หากคุณมีผมที่หยิกก็ลองยืดผมดู หากไม่มั่นใจในรอยยิ้มก็ลองไปหาทันตแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพฟันให้ดีขึ้น เพื่อให้มั่นใจในรอยยิ้มของตัวเอง พยายามทำทุกอย่างที่จะทำใหคุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น

    อยู่ท่ามกลางผู้คนที่ทำให้คุณพอใจ

    สิ่งสำคัญคือคุณต้องตระหนักเสียงก่อนว่า ความรู้สึกมีปมด้อยของคุณนั้นอาจเชื่อมโยงกับคนรอบตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็น ญาติ เพื่อน พี่ น้อง หรือเพื่อนร่วมงาน ดังนั้น คุณควรจะวิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์ของตัวเองกับพวกเขา เมื่อคุณสามารถระบุได้แล้วว่าบุคคลใดที่พยายามทำใหคุณรู้สึกมีปมด้อยได้แล้ว อย่าตอบสนองความรู้สึกของตัวเองหรือไม่ให้กำลังใจตัวเอง แต่ควรจะเริ่มทำตัวให้ห่างเหินจากบุคคลเหล่านั้น มองหาคนที่มองโลกในแง่บวกและคนที่ทำให้ตัวคุณเองรู้สึกดีขึ้น พยายามพัฒนาความสัมพันธ์กับพวกเขา

    เลิกกังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร

    สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการรู้สึกมีปมด้อย ก็คือ การคิดตลอดเวลาว่าคนอื่นจะคิดกับเราอย่างไร มันทำให้เราพยายามแสดงหาการตรวจสอบความถูกต้องจากพวกเขาในทุกๆ การกระทำของตัวเอง บางครั้งคุณอาจจะจินตนาการไปเองถึงสิ่งที่พวกเขาอาจจะกระทำหรือคิดกับคุณ พยายามแยกตัวออกจากการตัดสินของพวกเขา เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความคิดเห็นของคุณเกี่ยวกับตัวเองนั้นสำคัญที่สุด เมื่อคุณรู้สึกดีต่อตัวเอง คนอื่นก็จะรู้สึกดีกับตัวคุณเองด้วย

    อย่ารุนแรงกับตัวเอง

    แน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นจะต้องรุนแรงกับตัวเองในเรื่องของการฝึกดูแลตัวเอง รักตัวเอง ใจดีกับตัวเอง อย่าวิเคราะห์สถานการณ์มากเกินไป อย่าคาดหวังว่าตัวเองจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาชั่วข้ามคืน ให้เวลาตัวเองในการปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่างจะเป็นการดีที่สุด

    พูดคุยกับตัวเอง

    พยายามฝึกพูดเชิงบวกกับตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง ยกย่องตัวเองในลักษณะที่ดีทั้งหมดที่คุณมี คนที่รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยมักจะชอบพูดกับตัวเองในแง่ลบ พยายามเปลี่ยนน้ำเสียงและคำพูดที่ใช้กับตัวเอง

    นอกจากนั้นแล้ว คุณควรพยายามให้คนที่คุณรู้สึกพอใจอยู่ล้อมรอบตัวเองเอาไว้  ลองเชื่อมต่อกับผู้อื่นผ่านช่องทางออนไลน์ หรือลงทะเบียนเรียนสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกว่าได้พัฒนาตัวเอง เพื่อจะได้นำสิ่งที่ได้รับรู้มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา