backup og meta

อาการคันเครา อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ชายไว้เครา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

    อาการคันเครา อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ชายไว้เครา

    อาการคันเครา เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับผู้ชายที่ไว้หนวดไว้เครา โดยอาจมีสาเหตุมาจากผิวแห้ง ขนคุด รูขุมขนอักเสบ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่รุนแรง และบางครั้งอาจไม่สังเกตเห็นอาการที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อาการคันเคราอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เสียความมั่นใจ ดังนั้น การดูแลความสะอาดใบหน้าและเคราอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้

    อาการคันเครา เกิดจากอะไร

    เคราที่ขึ้นบนใบหน้าจะไม่เหมือนกับผมบนศีรษะ โดยเครามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ผมแอนโดรเจน (Androgenic Hair) เนื่องจากมีการเจริญเติบโตมาจากฮอร์โมนเพศชาย เมื่อฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นก็จะทำให้เคราเจริญเติบโตและหนาขึ้นด้วย สำหรับสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการคันเครา อาจมีดังนี้

    ปลูกหนวดบนใบหน้า

    การปลูกหนวดเคราอาจทำให้เกิดอาการคันเคราได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของเส้นผมและรูขุมขนด้วย เมื่อโกนขนขอบที่แหลมคนจะยังคงอยู่ภายในรูขุมขน เมื่อขนยาวขึ้นขอบที่แหลมคมอาจขูดรูขุมขนและทำให้เกิดอาการคันเครา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่โกนหนวดเคราเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณรูขุมขนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาจส่งผลทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและเกิดอาการคันมาก

    ผิวแห้ง

    ผิวแห้งอาจเกิดจากสภาพอากาศที่แห้ง เย็น หรือการแช่ผิวในน้ำร้อนเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการอาบน้ำ สระผม ถูสบู่ ทำให้น้ำมันบนผิวหนังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติถูกชะล้างออก ส่งผลให้ผิวแห้ง และอาจทำให้เกิดอาการคันเคราได้ด้วย นอกจากนี้ ผิวแห้งยังอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนังอิคไทโอซิส (Ichthyosis) โรคเกล็ดปลา โรคเกล็ดงู ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม รวมถึงโรคที่สภาพผิวไม่ปกติ เช่น โรคสะเก็ดเงิน  โรคเรื้อนกวาง

    ขนคุด

    ขนคุดจะเกิดขึ้น เมื่อขนที่โกนหรือตัดออกไปงอกกลับเข้าไปในรูขุมขนแทนที่จะหลุดออก ทำให้รูขุมขนอักเสบและเกิดอาการคัน อาการนี้มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีขนหยิก และผิวตึงได้มาก คุณจะสังเกตเห็นขนคุดได้ก็ต่อเมื่อรูขุมขนเริ่มมีสีแดง เป็นตะปุ่มตะป่ำ คัน และบางครั้งก็เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณที่คุณโกนขนด้วย

    รูขุมขนอักเสบ

    รูขุมขนอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนที่มีขนของคุณอักเสบนั่นเอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิต นอกจากนั้นขนคุดก็ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รูขุมขนอักเสบได้ เมื่อรูขุมขนของคุณอักเสบที่บริเวณเครา มันจะมีลักษณะเป็นสีแดง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ และอาจกลายเป็นแผลพุพองที่มีหนองได้

    โรคขนคุดอักเสบ (Pseudofolliculitis Barbae หรือ PFB)

    โรคขนคุดอักเสบ คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นขนบนใบหน้างอกออกมาจากรูขุมขน แต่มันกลับโค้งกลับเข้าไปในผิวหนัง แทนที่มันจะงอกออกมาให้พ้นผิวหนัง โดยโรคนี้มักจะเกิดขึ้นจากการโกนขนบนใบหน้า และอาจเกิดจากการกระแทกของมีดโกนด้วย

    อาการของมีดโกนกระแทกก็เหมือนกับอาการของรูขุมขนอักเสบ โดยใบหน้าของคุณอาจจะมีสีแดง เป็นหลุม อาจอักเสบ และมีตุ่มหนองเกิดขึ้น แต่โรคขนคุดอักเสบนั้นจะเกิดจากการระคายเคืองที่ไม่มีการติดเชื้อใด ๆ

    โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

    เป็นภาวะทางผิวหนังที่อาจพบได้บ่อย ส่งผลให้ผิวหนังเกิดรอยแดง เป็นสะเก็ดรังแค มักพบที่หนังศีรษะ และอาจพบที่ผิวหนังบริเวณที่มันง่าย เช่น ใบหน้า ข้างจมูก คิ้ว หู เปลือกตา หน้าอก รวมถึงบริเวณเคราและรอบ ๆ เครา ส่งผลทำให้เกิดอาการคันเครา เมื่อเกาจะมีสะเก็ดหลุดออกมา ผิวหนังสีแดง

    โรคกลากที่เครา หนวด และลำคอ (Tinea Barbae) 

    เกิดจากเชื้อราเดอมาโตไฟท์ (Dermatophytes) ที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หนวด และลำคอ ส่งผลให้ผิวหนังเป็นสีแดง ผิวหนังอักเสบ และเป็นคราบรอบ ๆ ปาก แก้ม และใต้คาง คล้ายกับกลากที่หนังศีรษะ (Tinea capitis) โดยเชื้อราที่พบบ่อยที่สุด 2 ประเภทที่อาจทำให้เกิดอาการคันเครา ได้แก่

    • เชื้อรา Mentagrophytes Var. Equinum ซึ่งอาจแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกับม้าที่ได้รับผลกระทบ
    • เชื้อรา T.Verrucosum ซึ่งอาจแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสกับวัว หรือปศุสัตว์อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ

    วิธีบรรเทา อาการคันเครา

    สำหรับวิธีบรรเทาอาการคันเคราทีเ่กิดขึ้นอาจทำได้ ดงันี้

    • ดูแลใบหน้าให้สะอาด

    ควรล้างเคราและใบหน้าเป็นประจำ เช้าและเย็น ด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาทำความสะอาด หรืออาจใช้ผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับเคราที่หาซื้อได้ทั่วไป จะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกและแบคทีเรียก่อตัวขึ้นบริเวณเครา รวมถึงอาจช่วยขจัดน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้า

  • อาบน้ำเป็นประจำ
  • อาบน้ำเป็นประจำ เช้าและเย็น โดยอย่าใช้น้ำที่ร้อนเกินไปและอย่าแช่ตัวในอ่างอาบน้ำ หรือฝักบัวนานเกินไป

    • ปรับสภาพเครา

    การปรับสภาพเคราอาจทำให้ขนเครานุ่มขึ้นและไม่ค่อยระคายเคืองผิว การใช้โจโจ้บาออยล์ (Jojoba Oil)  หรือน้ำมันอาร์แกน (Argan Oil) อาจทำให้เครานุ่มขึ้นได้

    • หลีกเลี่ยงสารเคมี

    เมื่อโกนหรือเล็มหนวดเคราเรียบร้อยแล้ว พยายามอย่าใช้โฟมล้างหน้าหรือโลชั่นที่มีสารเคมีรุงแรง พยายามเลือกทางเลือกที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด

    • ปล่อยให้เครางอก

    เมื่อหนวดเครากำลังขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการโกนหรือเล็ม เพื่อให้เครายาวเกินรูขุมขนออกมาเสียก่อน วิธีนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความระคายเคือง และความเสียหายของรูขุมขน

    • ใช้ยา

    หากสาเหตุของอาการคันเคราเป็นอาการทางผิวหนัง คุณหมออาจสั่งจ่ายยาเพื่อแก้ปัญหาได้ ซึ่งยาที่จะสั่งจ่ายนั้น อาจมีดังนี้

    • ครีมที่มีกรดแลคติกและยูเรีย ซึ่งอาจช่วยในการรักษาผิวแห้ง เช่น มิวพิโรซิน (Mupirocin) เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ครีมต้านเชื้อรา เพื่อรักษาการติดเชื้อรา
    • ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ หากสาเหตุไม่ได้มาจากการติดเชื้อ
    • ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) โคลเบทาซอล (Clobetasol) หรือ เดโซไนด์ (Desonide) เพื่อรักษาโรคกลากที่ผิวหนังได้ หากการอักเสบไม่ได้ติดเชื้อ
    • คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) รักษาสาเหตุของกลากผิวหนัง (Seborrheic Dermatitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อจากเชื้อรา
    • กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) เพื่อรักษาขนคุด
    • การรักษาด้วยเชื้อราเฉพาะ เพื่อรักษาโรคกลากที่เครา หนวด และลำคอ ที่ไม่รุนแรง การรักษาด้วยยาต้านเชื้อราในช่องปาก เช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) เทอร์บินาฟีน (Terbinafine)

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา