backup og meta

สุขภาพช่องปาก ส่งผลต่อ อวัยวะเพศชาย อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

    สุขภาพช่องปาก ส่งผลต่อ อวัยวะเพศชาย อย่างไร

    เอ๊ะ!!! เพียงแค่หัวข้อก็ชวนให้สงสัย คิ้วขมวดแทบจะเป็นโบว์ ปัญหา สุขภาพช่องปาก ส่งผลต่อ อวัยวะเพศชาย ได้อย่างไรไกล เชื่อว่าหลายๆ คนแทบจะมองหาความเป็นไป ไม่ได้เลยว่าเรื่องทั้งสองนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร จากการศึกษานั้นพบว่า ผู้ชายที่มี ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction หรือ ED) ร้อยละ 79 มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคปริทันต์เรื้อรัง วันนี้ Hello คุณหมอ มีขอมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

    สุขภาพช่องปาก ส่งผลต่อ อวัยวะเพศชาย ได้อย่างไร

    จากการวิจัยของประเทศไต้หวันระบุว่า การที่ผู้ชายมีสุขภาพช่องปากที่สะอาด ไม่ได้แค่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศอีกด้วย ผลจากการวิจัยกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงว่า ผู้ชายที่มีปัญหาในการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) มักจะเป็นโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง (CPD) มากกว่าผู้ชายที่ไม่เป็น

    โรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง โรคปริทันต์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า โรครำมะนาด เป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟัน อย่างเช่น เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ เมื่ออวัยวะเหล่านี้ถูกทำลายไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการรักษา จนเหงือกร่น เกิดเป็นโพรงลึกที่ฟัน จะทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าไปอาศัยและกระจายตัวไปรอบๆ พื้นที่ฟัน

    การอักเสบที่เกิดจากโรคเหงือกเหงือกอักเสบเรื้อรังนั้น อาจไปทำลายเซลล์บุผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเรียงตัวของหลอดเลือดผิดปกติ รวมไปถึงเซลล์ในอวัยวะเพศด้วย ซึ่งความเสียหายของเนื้อเยื่อบุโพรงพนังหลอดเลือดนั้นอาจส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดลดลง ทำให้เลือดที่จะไปเลี้ยงที่บริเวณอวัยวะเพศชายลดลง จนอาจทำให้เกิดปัญหาในการแข็งตัว

    สุขภาพช่องปากที่สะอาด ลดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้หรือไม่

    จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า โรคเหงือกอักเสบเรื้อรังนั้น เป็นโรคที่ทำให้เหงือกร่นจนเกิดเป็นโพรงลึกที่บริเวณรอบๆ ฟัน แซลลี่ เจ แครม ทันตแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภคจากสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) กล่าวว่า จะลดการอักเสบด้วยการทำความสะอาดช่องปาก แต่หากมีการอักเสบมาก ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ศัลกรรมเหงือกเพื่อลดขนาดโพรง และตกแต่งฟันที่อาจเสียหายไปบางส่วนแล้ว

    ผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ แม้จะมีการรักษาให้หายแล้ว แต่ก็สามารถกลับมาเป็นได้ใหม่อีก ดังนั้นควรที่จะต้องมีมาตราการในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรค ด็อกเตอร์แครมกล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบเรื้อรังมักจะไม่รู้สึกเจ็บ ปวด จนกระทั่งโรคนั้นอยู่ในขั้นรุนแรง ดังนั้นหากเหงือกมีอาการบวมแดง เลือดไหลขณะแปรงฟัน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ฟันหลุดและเหงือกร่น ควรไปพบทันตแพทย์ในทันที”

    ดังนั้นหลังจากที่เราจัดการกับโรคนี้แล้ว ควรทำตารางสำหรับการบันทึกการทำความสะอาดช่องปาก อย่างน้อย 3 เดือน 6 เดือน นอกจากการรักษาทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้องและทำอย่างเป็นประจำแล้ว ควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยดูว่าอาการเหงือกอักเสบเรื้อรังดีขึ้น หรือกลับมาเป็นอีกหรือไม่

    จริงๆ แล้ววิธีในการป้องกันโรคนี้ สามารถทำได้ เพียงแค่มีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง โดยมีการแปรงฟันครั้งละ 2 นาที 2 ครั้งต่อวันด้วยแปรงสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันทุกวันและไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อทำความสะอาดและตรวจสุขภาพฟัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา