backup og meta

ทำความรู้จักกับ เกลือแต่ละประเภท ที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 21/07/2020

    ทำความรู้จักกับ เกลือแต่ละประเภท ที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน

    ทุกคนคงอาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว ถึงเครื่องปรุงในครัวเรือนที่ค่อนข้างมีหลายสี สร้างความแปลกตาและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่สำคัญเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือเพิ่มรสชาติความกลมกล่อมให้แก่เมนูทุกมื้อของคุณ นั่นก็คือ “เกลือ’ นี่เอง แต่ว่า.. เกลือแต่ละประเภท นั้นจะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอกันค่ะ

    เกลือ คืออะไร

    เกลือ คือ แร่ธาตุที่ตกผลึกโดยถูกเก็บมาจากเหมืองเกลือ และถูกระเหยของน้ำทะเลจนกระทั่งเห็นเป็นก้อนเกลือ ซึ่งภายในเกลือมีองค์ประกอบของโซเดียม (Na) และคลอรีน (Cl) เป็นหลัก  เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกแร่ในเกลือนี้รวมกันว่า โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)

    นอกจากเกลือแกง หรือเกลือตั้งโต๊ะที่เราคุ้นเคยกันในการนำมาประกอบอาหารแล้ว ยังมีเกลืออีกหลายชนิดที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น การนำมาขัดผิว รักษาอาการปวดเมื่อย เป็นต้น

    ข้อแตกต่างของ เกลือแต่ละประเภท ที่คุณควรรู้

    เกลือแต่ละประเภทมักมีคุณสมบัติ และกระบวนการการผลิตที่แตกต่างกัน โดยแยกออกเป็น 4 ชนิด หลัก ๆ ดังนี้

    1. เกลือบริสุทธิ์ หรือเกลือใช้ปรุงอาหารทั่วไป

    เกลือบริสุทธิ์ เป็น เกลือ ที่แม่บ้านแม่เรือน และพ่อครัวทั้งหลาย นิยมมาใช้ในการปรุงอาหารมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะเป็นสีขาวเนื้อป่นละเอียด ที่สำคัญนอกจากจะมีแร่โซเดียมคลอไรด์ถึง 97 เปอร์เซ็นต์ แล้ว ยังถูกเพิ่มไอโอดีนเข้าไป เพื่อเป็นตัวช่วยในการเสริมสารอาหารให้แก่ร่างกาย และยังอาจช่วยป้องกันโรคคอพอก ภาวะบกพร่องของต่อมไทรอยด์ได้อีกด้วย

    1. เกลือทะเล

    เกลือทะเล มีลักษณะสารภายในคล้ายเกลือแกงที่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ แต่ในบางครั้งก็อาจขึ้นอยู่ตามสถานที่นั้น ๆ ที่ผู้ผลิตไปนำมาเข้าสู่กระบวนการ โดยอาจพบสารอาหารจำพวกโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสีเข้ามาเพิ่มเติม

    รสชาติของเกลือทะเลอาจมีความเค็มมากกว่าเกลือแกงเนื่องจากเป็นเกลือธรรมชาติที่มีความเข้มข้นสูง อีกทั้งยังอาจปนเปื้อนของสิ่งสกปรก และไมโครพลาสติกขนาดเล็กจากขยะปนเปื้อน ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อเกลือชนิดนี้ไปปรุงอาหารอาจต้องตรวจสอบถึงข้างฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดอีกครั้งถึงตรารับรองความสะอาดและความปลอดภัย

    1. เกลือหิมาลัย

    เกลือหิมาลัย เป็นเกลือที่ถูกค้นพบมากที่สุดในประเทศปากีสถาน เกลือชนิดนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่สีของมันเป็นสีชมพูสวยงาม หรือบางครั้งก็อาจมีสีน้ำตาล หรือสีดำ สาเหตุที่เกลือหิมาลัยมีสีแปลกตาเช่นนี้ อาจเป็นเพราะมันอุดมไปด้วยปริมาณของ ไอเอิร์น ออกไซด์ (Iron oxide) มากกว่าโซเดียมคลอไรด์ แถมยังมีรสชาติที่เค็มน้อยกว่าเกลือแกง และเกลือทะเลมาก แต่อาจถูกนำมาใช้เพิ่มรสชาติปิดท้ายหลัง หรือโรยหน้าจากทำเมนูนั้นเสร็จสิ้นแล้ว

    1. เกลือโคเชอร์

    เกลือโคเชอร์ มีความแตกต่างจากเกลือปกติทั่วไปตรงที่มีลักษณะเม็ดเกลือค่อนข้างหยาบ และมีเกล็ดเกลือใหญ่พอสมควร ซึ่งในการปรุงอาหารนั้นอาจมีการใช้งานได้ง่ายกว่า เพราะสามารถหยิบจับ และบดหยี้ก้อนเกลือกระจายให้ทั่วอาหารได้ดี แต่ยังคงรสชาติความเค็มคงไว้ ที่ไม่แตกต่างกับเกลือแกงเท่าไหร่นัก

    สัญญาณเตือนทางร่างกาย หากคุณได้รับโซเดียมเกินควร

    แนวทางการบริโภคอาหารของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาแนะนำเกี่ยวกับการรับสารโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไว้ว่า ควรทานอย่างน้อย 5.8 กรัม ต่อวันเท่านั้น ไม่ควรมากไปกว่านี้ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ของผู้คนทั่วไปที่บริโภคกลืออยู่ที่ 9 กรัมต่อวัน จึงทำให้ร่างกายคุณได้รับโซเดียมเกินปริมาณ และอาจส่งสัญญาณเตือนบางอย่างเหล่านี้เพื่อให้คุณทราบ ก่อนเกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายแรง

    สัญญาณเตือนว่าคุณได้บริโภคโซเดียมมากเกินไปที่มักพบบ่อย มีดังนี้

    • ร่างกายรู้สึกขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลา
    • อาการบวมน้ำ ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ
    • แผลในกระเพาะอาหาร
    • ความดันโลหิตสูง
    • ระบบประสาท และสมองมีการทำงานช้าลง อาจทำให้คุณมีกระบวนการคิดที่เสื่อมถอย

    สัญญาณเตือนข้างต้นที่กล่าวมาอาจนำพาไปสู่อาการนิ่วในไต และโรคสมองเสื่อมได้ ทางที่ดีคุณควรบริโภคเกลือหรือนำเกลือมาปรุงอาหารให้แต่พอดี เพื่อลดการสะสมของโซเดียมในร่างกายก่อนเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา และอาจลดการปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มหรือโซเดียมสูง หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต เป็นต้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 21/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา