backup og meta

อาการละเมอ (Somnambulism) ไม่ใช่เรื่องตลก แต่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    อาการละเมอ (Somnambulism) ไม่ใช่เรื่องตลก แต่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    บางคนอาจจะเคยเจอ อาการละเมอ ของคนในครอบครัว แล้วรู้สึกกลัว หรือมองเห็นว่าเป็นเรื่องตลก แต่ความจริงนั้นอาการละเมอถือเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถเกี่ยวโยงกับโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    ทำความรู้จักกับอาการละเมอ (Somnambulism or Sleepwalking)

    อาการละเมอหรือคนทั่วไปมักจะรู้จักในชื่อ การเดินละเมอ เป็นโรคที่ทำให้คุณลุกขึ้นและเดินในขณะที่ยังหลับอยู่ ซึ่งแพทย์อาจจะเรียกอาการที่เกิดขึ้นว่า อาการง่วงเหงาหาวนอน อาการนอนละเมอมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณนอนหลับสนิท แต่ตอนตื่นขึ้นมาทำสิ่งต่างๆ คุณจะไม่สามารถตอบสนองได้และมักจะจำไม่ได้ ในบางกรณีคุณอาจพูดคุยและไม่สมเหตุสมผลอีกด้วย

    การนอนละเมอส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งมักมีอายุระหว่าง 4-8 ปี แต่ในผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน หากคุณหรือคนที่คุณรักเป็นคนนอนละเมอ สิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ล็อคประตูและหน้าต่าง เคลื่อนย้ายวัตถุมีคมและติดตั้งประตูที่ด้านบนของบันได เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

    อาการละเมออาจเกี่ยวโยงกับโรคเหล่านี้

    อาการละเมอนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในครอบครัว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน หากคุณมีพ่อ แม่ พี่ชาย หรือน้องสาว ที่มีอาการละเมอ คุณเองก็มีแนวโน้มที่จะมีอาการละเมอได้มากกว่าคนที่ครอบครัวไม่มีอาการละเมอเลยถึง 10 เท่า อาการละเมอ ถูกจัดเป็นโรคนอนไม่หลับ เป็นพฤติกรรมหรือประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างการนอนหลับ อาการละเมอ เป็นความผิดปกติของความตื่นตัว หมายถึงมันเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับระยะที่ 3 (N3) นั่นเอง ซึ่งเป็นระยะที่ลึกที่สุดของการนอนหลับอย่างไม่หยุดนิ่ง ความผิดปกติของช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement sleep หรือ NREM) ก็คือ ความหวาดกลัวการนอนหลับ  อาการละเมออาจเกิดขึ้นได้ ถ้าคุณทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้

    • ภาวะขาดการนอนหลับ (Sleep-deprived)
    • ตารางการนอนที่ไม่ปกติ
    • เครียด
    • เมา
    • การใช้ยากล่อมประสาท เช่น ยานอนหลับ ซึ่งช่วยทำให้คุณผ่อนคลายหรือนอนหลับดีขึ้น อินซูลิน ที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเภท สารกระตุ้นต่างๆ และ ยาต้านฮาตามีน (Antihistamines) ซึ่งใช้ในการรักษาอาการภูมิแพ้

    ส่วนเงื่อนไขทางการแพทย์ก็มีส่วนในการทำให้เกิดอาการละเมอได้เช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขทางการแพทย์ต่างๆ มีดังนี้

    • ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ
    • ไข้
    • อาการกรดไหลย้อน (Heartburn)
    • อาการชักในเวลากลางคืน
    • หยุดหายใจระยะสั้นๆ ขณะที่หลับ
    • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)
    • ความผิดปกติทางจิตเวช เช่น ความผิดปกติของความเครียดหลังถูกทารุณกรรม เสียขวัญ หรือเป็นโรคหลายบุคลิก

    อยากรักษาอาการละเมอควรทำอย่างไร

    อาการละเมอนั้นไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง แต่โดยปกติแล้วการนอนหลับให้เพียงพอจะสามารถช่วยได้ นอกจากนั้นลองหากิจวัตรประจำวันทำก่อนนอน เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย หรือไม่เช่นนั้นลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ดู

    • พยายามเข้านอนในเวลาเดียวกันในแต่ละคืน
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องนอนมืดและเงียบสงบเมื่อต้องเข้านอน
    • จำกัดเครื่องดื่มก่อนนอน โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และควรเข้าห้องน้ำก่อนนอน
    • หาวิธีผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ หรือหายใจเข้าลึกๆ
    • หากบุตรหลานของคุณมีอาการละเมอในเวลาเดียวกันเกือบทุกคืน ให้พยายามปลุกพวกเขาเบาๆ เป็นเวลาสั้นๆ 15-30 นาที ก่อนที่พวกเขาจะเกิดอาการละเมอ
    • ลองเปลี่ยนวงจรการนอนจากปกติ อาจจะช่วยทำให้อาการละเมอหายไปได้

    อย่างไรก็ตามหากอาการละเมอยังเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาถึงอาการที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา