backup og meta

ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) เกิดขึ้นได้ เพราะอากาศที่เปลี่ยนไป

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) เกิดขึ้นได้ เพราะอากาศที่เปลี่ยนไป

    เมื่ออากาศหนาวๆ เข้าปกคลุมทีไร ฟ้าสลัวๆ อากาศครึ้มๆ มักทำให้เรารู้สึกเศร้าขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ บางครั้งที่เราเศร้าอยู่แล้วเจ้าอากาศเย็นๆ ก็พาให้เราเศร้าขึ้นไปอีก แล้วความเศร้านี้มันมาจากไหน ทำไมฤดูหนาวถึงพาเราเศร้ากว่าปกติทุกที วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะหนึ่งที่เรียกว่า “Seasonal affective disorder (SAD)’ หรือ ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล แล้วเราจะจัดการกับความเศร้าในหน้าหนาวนี้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

    ทำไมเราเศร้าเป็นพิเศษในฤดูหนาว?

    Seasonal affective disorder (SAD) ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล เป็นรูปแบบของ ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ ภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูหนาว คนที่มีอาการ SAD จะมีอารมณ์แปรปรวนและมีอาการคล้ายกับภาวะซึมเศร้าทำให้เรารู้สึกหดหู่ เศร้า ไม่สนใจทำกิจกรรมใดๆ  บางครั้งส่งผลให้นอนหลับยาก หรือแม้จะได้นอนมากแต่ก็จะมีอาการเมื่อยล้า

    อาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น หลังจากตื่นนอนรู้สึกไม่สดชื่น  โดยอาการมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ที่มีแสงแดดน้อยลงและมักจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิฤดูร้อนมาถึง SAD ไม่ใช่แค่ “Winter blue’ อาการอาจเป็นที่น่าวิตกกังวล และสามารถแทรกแซงการทำงานประจำวันของเราได้ และมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

    สาเหตุของการเกิด ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) 

    ในทางการแพทย์ยังไม่มีงานวิจัยที่มีความเฉพาะเจาะจงถึงปัญหาของโรค SAD ว่ามาจากอะไร แต่มีบางปัจจัยที่ส่งผลให้คนรู้สึกเศร้า เหงาในฤดูหนาว ดังนี้ 

    เวลาชีวิต มีการเปลี่ยนแปลง

    ผลของการ โคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์บนระบบสุริยะจักรวาลทำให้ช่วงหน้าหนาวมีเวลากลางวันที่สั้นกว่าและแสงแดดน้อยลงในฤดูหนาว ทำให้เวลาชีวิต ที่ติดตั้งไว้ที่ร่างกายของเรา ที่คอยบอกเวลาตื่น เวลากิน เวลานอน เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายของเรารับรู้ถึงความผิดปกติจึงเกิดเป็นภาวะซึมเศร้าได้ง่าย

    ระดับ เซโรโทนิน ลดลง

    เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง ซึ่ง เซโรโทนิน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับ SAD ที่มีผลจากความสั้นลงของช่วงเวลากลางวันส่งผลให้เซโรโทนินในสมองของเราลดลง เมื่อเซโรโทนินต่ำก็จะส่งผลให้เราเกิดโรคซึมเศร้า

    ระดับของเมลาโทนินไม่สมดุล

    เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียลที่อยู่บริเวณส่วนกลางของสมอง ซึ่งจะทำงานในเวลากลางคืนโดยการหลั่ง เมลาโทนิน ออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เราเกิดอาการง่วง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ส่งผลทำให้ทำลายความสมดุลของ เมลาโทนิน ในร่างกาย ทำให้ส่งผลต่อการนอนหลับและอารมณ์ของเราด้วย

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD) มากขึ้น

    ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาล ได้รับการวินิจฉัยบ่อยครั้งว่า มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุยังน้อยมากกว่าผู้ใหญ่

    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เกิด SAD อีก ดังนี้ 

  • ประวัติครอบครัว – หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติการเป็น SAD หมายความว่า คุณก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมากขึ้น
  • มีภาวะซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ – หากคุณมีภาวะซึมเศร้าหรือภาวะไบโพลาร์อยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอาจจะส่งผลทำให้อาการที่คุณกำลังเป็นแย่ลง หรือมีผลต่อคุณมากกว่าคนอื่นๆ
  • อยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตร – อาจจะฟังดูตลก แต่การอยู่ไกลจากเส้นศูนย์สูตรหมายความว่าเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว บริเวณที่คุณอยู่กลางวันก็จะสั้นกว่ากลางคืนมาก ช่วงเวลาในกลางคืนเยอะกว่าหลายชั่วโมงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการเสียสมดุลของร่างกายอย่างเห็นได้ทำให้มีโอกาสที่จะเกิด SAD มากกว่าคนอื่น
  • ภาวะแทรกซ้อน

    เมื่อเราเกิดภาวะ SAD อย่างจริงจัง หรือโรคซึมเศร้าประเภทอื่นๆ SAD จะแย่ลง และจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากมายหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหารักษา โดยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาการเข้าสังคม การใช้สารเสพติด ความผิดปกติด้านสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น ความวิตกกังวล ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร แต่การรักษาจะช่วยให้ SAD ดีขึ้นได้ โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

    การรักษา ความผิดปกติของอารมณ์ตามฤดูกาล

    SAD สามารถรักษาได้ด้วยการให้คำปรึกษาและการบำบัด ส่วนการรักษาอื่นๆ สำหรับ SAD ในฤดูหนาว คือ การบำบัดด้วยแสง ซึ่งต้องใช้กล่องแสงพิเศษหรือการได้รับแสงธรรมชาติอย่างน้อย 30 นาทีในแต่ละวัน

    ตัวเลือกการรักษาอีกอย่างหนึ่ง คือ โปรแกรมจำลองรุ่งอรุณ โดยการตั้งเวลาเปิดใช้งานแสง เพื่อเลียนแบบพระอาทิตย์ขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของนาฬิกาในร่างกายซึ่งการรักษาด้วยแสง ซึ่งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน นอกจากนี้การดูแลสุขภาพ และนิสัยการดำเนินชีวิตที่ดี ก็สามารถช่วยลดอาการ SAD ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น

    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีโปรตีนดี ผักและผลไม้
    • การออกกำลังกาย
    • การนอนหลับอย่างเพียงพอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา