backup og meta

เส้นเลือดขอดบนใบหน้า สาเหตุและวิธีรับมือที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    เส้นเลือดขอดบนใบหน้า สาเหตุและวิธีรับมือที่ควรรู้

    ปัญหา เส้นเลือดขอด เกิดขึ้นจากเส้นเลือดเกิดการขยายตัวใต้ผิวหนัง จนมีเส้นเลือดสีแดงเล็ก ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ กระจายในบริเวณรอบๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบปัญหาเส้นเลือดขอดที่ขา แต่สาวๆ บางคนอาจมีปัญหา เส้นเลือดขอดบนใบหน้า ที่ทำเอาความมั่นใจหายเลยทีเดียว แต่จริง ๆ แล้วเส้นเลือดขอดบนใบหน้านั้นสามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่เรารู้สาเหตุที่แน่ชัด วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ

    สาเหตุของการเกิด เส้นเลือดขอดบนใบหน้า

    เส้นเลือดขอด เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แม้กระทั่งในเด็ก บางอาจอาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดขอดนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุมากมายเหล่านี้

    พันธุกรรม พันธุกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเส้นเลือดขอด หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นเส้นเลือดขอด คุณก็มีโอกาสที่จะมีเส้นเลือดขอด ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไรก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

    การตั้งครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เส้นเลือดแตก จนเกิดเป็นเส้นเลือดขอดได้ ซึ่งหากเส้นเลือดขอดจากสาเหตุนี้ หลังคลอดลูกแล้วก็จะสามารถรักษาให้หายได้

    โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea) สำหรับผู้ที่มีสภาพผิวหนังอักเสบแบบโรซาเชีย ผิวมักจะมีความแดงกว่าปกติ และถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เส้นเลือดแดงจะแตกได้

    โดนแดดมากเกินไป การที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไปนั้น สามารถขยายหลอดเลือดได้ ซึ่งหากแสงแดดเผาไหม้จนหนังชั้นบนสุดหลุด ลอก จะทำให้เส้นเลือดบาง ซึ่งหากเป็นบนใบหน้าจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน

    การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง หรือมีการดื่มเป็นครั้งคราว จะทำให้หน้าแดง เพราะการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดเส้นเลือดขอดบนใบหน้าได้

    การบาดเจ็บ การได้รับการบาดเจ็บ ตังแต่การบาดเจ็บ เล็กๆ น้อยๆ บริเวณใบหน้า อาจทำให้เกิดรอยฟกซ้ำบนใบหน้า บางครั้งอาจรุนแรงจนสามารถทำให้เส้นเลือดแตกได้

    วิธีง่ายๆ ที่ช่วยจัดการปัญหา เส้นเลือดขอดบนใบหน้า

    วิธีการรักษาเส้นเลือดบนใบหน้านั้น สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ทั้งการใช้ยาที่แพทย์แนะนำ โดยจะต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผิวหนังก่อน แล้วแพทย์ก็จะจ่ายยาที่เหมาะสมกับอาการให้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่มักจะปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง แต่สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้อาจจะต้องลองทดสอบที่แขนก่อน ก่อนที่จะใช้บนใบหน้า

    หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อน

    บริเวณใบหน้าเป็นบริเวณที่ผิวต้องการความอ่อนโยนในการดูแล ความร้อนที่มากเกินไปอาจทำให้เส้นเลือดบริเวณใบหน้าแตกได้ ดังนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนในการล้างหน้า การใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นจึงอาจจะดีกว่า แถมยังช่วยหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อหลอดเลือดอีกด้วย

    ประคบเย็น

    การประคบเย็น เป็นวิธีการประคบที่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ เช่น การใช้ก้อนน้ำแข็งห่อผ้า ประคบบริเวณใบหน้าหลังจากที่โดนแสงแดดหรือว่าความร้อน เพราะความเย็นจะช่วยลดการขยายตัวของเส้นเลือดจากความร้อนได้

    น้ำแอปเปิลไซเดอร์

    น้ำแอปเปิลไซเดอร์ เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักจากผลของแอปเปิล ซึ่งน้ำแอปเปิลไซเดอร์นั้นมีคุณสมบัติช่วยในการสมานแผลบนใบหน้า ช่วยลดรอยแดง ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการลดเส้นเลือดขอดบนใบหน้าได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำแอปเปิลไซเดอร์แล้วนำไปประคบบริเวณที่มีเส้นเลือดขอด อาจช่วยลดอาการบวมของเส้นเลือดบนใบหน้าได้

    ว่านหางจระเข้

    เจลที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้นั้นมีประโชน์ในการรักษารอยแดงที่ผิว จากการวิจัยพบว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการลดรอยแดงได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้ ต้องมั่นใจว่าตนเองนั้นไม่มีอาการแพ้เจลจากว่านหางจระเข้ โดยหลังจากที่ใช้ผิวจะมีอาการแห้ง ควรจะเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวหลังจากใช้เจลว่านหางจระเข้

    เส้นเลือดขอดบนใบหน้า สามารถป้องกันได้หรือไม่

    จริงๆ แล้วเส้นเลือดขอดบนใบหน้านั้นสามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงความร้อนสูง ที่ที่มีอุณภูมิสูงเช่น สปาซาวน่า ที่กลางแจ้งที่แสงแดดจัดๆ เพราะความร้อนอาจทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเพิ่มโอกาสในการเกิดเส้นเลือดขอด แต่หากจำเป็นที่จะต้องออกแดด ควรสวมเสื้อแขนยาว ใส่หมวก ทาครีมกันแดดเพื่อช่วยปกป้องผิวหนัง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา