backup og meta

ริ้วรอย ก่อนวัย ชะลอได้ด้วย 7 สารสำคัญเหล่านี้

เขียนโดย แพทย์หญิงอรเกศ ปัญญาเนตินาถ · โรคผิวหนัง · Divana Clinic (ดีวานา คลินิก)


แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

    ริ้วรอย ก่อนวัย ชะลอได้ด้วย 7 สารสำคัญเหล่านี้

    ริ้วรอย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามวัยที่สูงขึ้น โดยเกิดจากการลดจำนวนของไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) เซลล์ผิวในชั้นหนังแท้ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อิลาสติน และคอลลาเจน ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวอ่อนแอ และเกิดริ้วรอยขึ้น

    ซึ่งอันที่จริงแล้ว ริ้วรอย นั้นไม่สามารถหายไปได้อย่างถาวร แต่ริ้วรอยสามารถชะลอหรือลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผิวได้ในระดับหนึ่ง โดยใช้วิธีการรักษาหลายอย่างร่วมกัน

    ในปัจจุบันมีผลการศึกษาทางวิชาการ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง เกี่ยวกับสารสำคัญที่มีคุณสมบัติและมีบทบาทในการช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างชั้นผิว ซึ่งจะนำไปสู่การชะลอริ้วรอย ฟื้นฟูให้ผิวแลดูสุขภาพดีขึ้น

    7 สารสำคัญที่ช่วยชะลอ ริ้วรอย

    ไฮยาลูรอนิกแอซิด หรือ ไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid)

    ไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) เป็นสารสำคัญที่ร่างกายเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ในชั้นผิวหนังแท้ โดยเป็นส่วนประกอบสำคัญของแมทริกซ์นอกเซลล์ (Extracellular Metrix) ที่มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและช่วยให้ผิวคงรูปได้ดี เพราะฉะนั้น ในคนที่ยังสามารถผลิตไฮยาลูรอนได้ในปริมาณมากอยู่ ผิวก็จะแลดูฉ่ำน้ำ เด้งกระชับ

    อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะผลิตไฮยาลูรอนด้น้อยลงเรื่อย ๆ ตามวัยที่สูงขึ้น ซึ่งโดยค่าเฉลี่ยสำหรับคนทั่วไป ผิวของคนเราจะเริ่มเสื่อมตามวัยเมื่ออายุเกิน 20 ปี และปริมาณไฮยาลูรอนที่ร่างกายผลิตจะเริ่มลดลงตามไปด้วย ดังนั้น จึงมักมีการเสริมไฮยาลูรอน ผ่านการทา การฉีด หรือ การรับประทาน

    ทั้งนี้ การใช้ไฮยาลูรอนเพื่อความงามและบำรุงผิวพรรณนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็ให้ผลที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของวิธีทาที่เราใช้กับครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบของไฮยาลูรอนก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดโมเลกุลของสารไฮยาลูรอนด้วยว่า มีขนาดพอเหมาะที่จะซึมซาบสู่ผิว และให้ความชุ่มชื้นได้ดีเพียงใด

    วิตามินบี 5 (Vitamin B5)

    วิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิก (Pantothenic Acid) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินบี 5 ขึ้นเองได้บางส่วนโดยแบคทีเรียในลำไส้

    วิตามินบี 5 มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากต่อการทำงานของต่อมหมวกไต รวมไปถึงการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและการใช้สารกาบาและโคลีนของร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนไขมันและน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงานอีกด้วย

    ในด้านการดูแลสุขภาพผิวนั้น วิตามินบี 5 มีคุณสมบัติเด่น คือ ลดการอักเสบและการระคายเคืองของผิวหนัง ซ่อมแซมเกราะป้องกันผิว หรือ Skin Barrier ให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวคงความชุ่มชื้นได้นานขึ้น ช่วยเร่งการสมานแผลบนผิว และช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น บ่อยครั้งจึงเห็นว่า วิตามินบี 5 ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและอาหารเสริมหลายชนิด

    สารสกัดแมดิแคสโซไซด์ (Madecassoside) จากใบบัวบก

    ใบบัวบก มีสารสำคัญหลายชนิด แต่หนึ่งในสารสำคัญที่มีบทบาทในการช่วยชะลอริ้วรอย คือ สารสกัดแมดิแคสโซไซด์ (Madecassoside) โดยมีรายงานว่า สารสกัดชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Antioxidation) ซึ่งส่งผลในการลดความเสื่อมของเซลล์ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และยังพบว่า สารไกลโคไซด์เหล่านี้ ยังช่วยเร่งกระบวนการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวหนัง จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น

    นอกจากนี้ สาระสำคัญในใบบัวบก ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวและลดความเสื่อมสภาพของผิวพรรณ ทั้งยังช่วยในการลดการระคายเคืองของผิวหนัง ลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนป้องกันการเกิดแผลเป็นอีกด้วย

    วิตามินเอ (Vitamin A)

    นอกจากคุณสมบัติในการบำรุงสายตาแล้ว วิตามินเอ ยังมีประโยชน์ต่อผิวหนังอย่างมากด้วยเช่นกัน เนื่องจาก วิตามินเอ มีคุณสมบัติช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์บุผิวและพัฒนาการของเซลล์ นอกจากนี้ วิตามินเอยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งป้องกันและรักษาภาวะชราของผิวหนัง ทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นลดลง ช่วยให้ผิวเนียน ไม่หยาบกร้าน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมแซมและการฟื้นฟูผิวหนังที่ถูกทำลายจากแสงแดด โดยในทางการแพทย์ ได้มีการนำยาในกลุ่มของเรตินอยด์ (Retinoids) ซึ่งเป็นวิตามินเอสังเคราะห์ มาใช้ในการดูแลผิวพรรณอีกด้วย

    วิตามินซี (Vitamin C)

    วิตามินซี ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ “L-ascorbic Acid” เป็นวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายมากชนิดหนึ่ง ในด้านการดูแลผิวพรรณนั้น วิตามินซี ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่มีคุณสมบัติในการช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ส่งผลให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ดูเรียบเนียน และกระจ่างใสขึ้น

    วิตามินอี (Vitamin E)

    วิตามินอี หรือ โทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อ ไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมอง

    สำหรับคุณประโยชน์ของวิตามินอีในด้านการดูแลสุขภาพผิวนั้น วิตามินอี ช่วยทำให้ผิวแลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์ และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ลดการหยาบกร้านของผิว นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติลดรอยแดง ซึ่งเป็นผลของการที่ผิวถูกทำลายจากแสงแดด วิตามินอี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชราของผิว และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น หรือผิวแตกลายได้

    แอสตาแซนทิน (Astaxanthin)

    แอสตาแซนทิน เป็นสารอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) แต่มีความพิเศษเหนือกว่าที่แอสตาแซนทิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอกจากปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม ต่างจากสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ๆ ในทางการแพทย์จึงนำคุณสมบัติเด่นนี้มาใช้กับการดูแลผิวหนัง เพื่อช่วยปกป้องโครงสร้างผิวจากการทำลายจากรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด ช่วยกระชับรูขุมขน และลดเลือนริ้วรอย แหล่งที่พบแอสตาแซนทินจากธรรมชาติ คือ ปลาทะเล และสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ กุ้ง และล็อบสเตอร์

    จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นตัวอย่างของสารสำคัญ ที่ใช้ในวงการความงามและสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติ ดังกล่าว จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว หรืออาหารเสริมอื่น ๆ การเลือกครีมบำรุง และอาหารเสริมต่าง ๆ จึงควรคำนึงถึงส่วนประกอบที่มีทั้งด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และควรมีการศึกษาทางวิชาการรองรับอีกด้วย

    !function(f,b,e,v,n,t,s)

    {if(f.fbq)return;n=f.fbq=function(){n.callMethod?

    n.callMethod.apply(n,arguments):n.queue.push(arguments)};

    if(!f._fbq)f._fbq=n;n.push=n;n.loaded=!0;n.version='2.0';

    n.queue=[];t=b.createElement(e);t.async=!0;

    t.src=v;s=b.getElementsByTagName(e)[0];

    s.parentNode.insertBefore(t,s)}(window, document,'script',

    'https://connect.facebook.net/en_US/fbevents.js');

    fbq('init', '2138063866504564');

    fbq('track', 'PageView');

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    แพทย์หญิงอรเกศ ปัญญาเนตินาถ

    โรคผิวหนัง · Divana Clinic (ดีวานา คลินิก)


    แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา