backup og meta

ทำไมการ วอร์มอัพ และ คูลดาวน์ จึงสำคัญยิ่งสำหรับการออกกำลังกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ทำไมการ วอร์มอัพ และ คูลดาวน์ จึงสำคัญยิ่งสำหรับการออกกำลังกาย

    วอร์มอัพ และ คูลดาวน์ ก่อนและหลังออกกำลังกายคืออะไร และสำคัญต่อการออกกำลังกายอย่างไร สำหรับใครที่ไม่เคยวอร์มอัพและคูลดาวน์มาก่อน ควรลองปฏิบัติ เพราะเพียงแค่วอร์มอัพและคูลดาวน์ไม่กี่นาที ก็ทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว

    ทำไมวอร์มอัพกับคูลดาวน์จึงสำคัญ

    วอร์มอัพ (Warm-up) และคูลดาวน์ (Cool-down) สำคัญต่อการออกกำลังกาย เนื่องจากการวอร์มอัพหรือการอุ่นเครื่อง ซึ่งส่งผลต่อร่างกายดังนี้

  • ช่วยเตรียมร่างกายก่อนออกกำลังกาย
  • ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของระบบหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อ
  • ช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ
  • ส่วนการคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

    • ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตค่อยๆ กลับมาสู่ระดับปกติ
    • ช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย

    การหยุดออกกำลังกายทันทีโดยไม่คูลดาวน์ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว เนื่องจากอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานว่าการคูลดาวน์ช่วยลดการความแข็งของกล้ามเนื้อ และลดความเจ็บปวดหลังออกกำลังกาย

    วิธีวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย

    การวอร์มอัพเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย ทำได้โดยการออกกำลังกายประเภทนั้น แต่ออกกำลังกายในระดับเบา อย่างช้าๆ และค่อยเพิ่มความเร็วและเพิ่มระดับความหนักขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • วอร์มอัพสำหรับการเดินเร็ว ให้คุณเดินอย่างช้าๆ เป็นเวลา 5-10 นาที ก่อนเดินเร็ว
  • วอร์มอัพสำหรับการวิ่ง ให้คุณเดินเร็วเป็นเวลา 5-10 นาทีก่อนวิ่ง
  • วอร์มอัพสำหรับการว่ายน้ำ เริ่มต้นด้วยการว่ายน้ำอย่างช้าก่อน และค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น
  • การวอร์มอัพจะทำให้เหงื่อออกเล็กน้อย แต่จะไม่ถึงขั้นทำให้คุณเหนื่อย

    วิธีคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย

    คูลดาวน์จะคล้ายกับการวอร์มอัพ คือให้คุณใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการคูลดาวน์ โดยการออกกำลังกายแบบเดิมแต่ช้าลง และค่อยๆ ลดระดับความหนักของการออกกำลังกายลง เช่น คุณออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ให้คุณคูลดาวน์ด้วยการเดินช้าประมาณ 5-10 นาที หรือสำหรับการวิ่ง ให้คูลดาวน์ด้วยการเดินเร็วประมาณ 5-10 นาที

    นอกจากนี้การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายก็ถือเป็นการคูลดาวน์อย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายและอาจช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ข้อควรระวังคือ ไม่ควรหยุดออกกำลังกายทันที เพราะจะทำให้คุณรู้สึกปวดหัวหรือมึนงงได้ การคูลดาวน์จะช่วยป้องกันไม่ให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว

    ข้อควรระวัง

    • ควรใช้เวลาในการวอร์มอัพนานขึ้น ก่อนการออกกำลังกายที่ระดับความหนักมาก (High-intensity) โดยควรขยายเวลาวอร์มอัพเป็น 10 นาที
    • ควรยืดกล้ามเนื้อในตอนที่กล้ามเนื้ออุ่น เนื่องจากการยืดกล้ามเนื้อตอนที่กล้ามเนื้อเย็นจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
    • ควรยืดกล้ามเนื้อค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที
    • ไม่ควรยืดกล้ามเนื้อนานเกินไป และหากมีอาการบาดเจ็บ ให้เปลี่ยนเป็นยืดกล้ามเนื้ออย่างง่ายๆ หายใจเข้าลึกๆ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา