backup og meta

เทคนิคการ รับมือ กับ คนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน อย่างมีประสิทธิภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    เทคนิคการ รับมือ กับ คนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน อย่างมีประสิทธิภาพ

    การรับมือกับ วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่การ รับมือ กับคนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน อาจจะเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่ามาก ปัญหาชีวิตในช่วงวัยทองนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคู่ชีวิตของคุณอีกด้วย บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับปัญหาคนรักที่มี วิกฤตวัยกลางคน ให้สามารถผ่านพ้นได้ด้วยดี แต่จะด้วยวิธีไหนบ้างนั้น มาติดตามที่บทความนี้ได้เลย

    จะรู้ได้อย่างไรว่าคนรักของคุณกำลังมีวิกฤตวัยกลางคน

    เนื่องจากปัญหาวิกฤตวัยกลางคน นั้นจะส่งผลกระทบแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล การที่เราจะสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าคนไหนมีปัญหา วิกฤตวัยกลางคน จึงอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีสัญญาณบางอย่าง ที่สามารถพบได้ทั่วไปในหมู่คนที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้ เช่น

    • นิสัยหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
    • อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี่ยวร้าย
    • รู้สึกโมโห หรืออารมณ์เสียบ่อยครั้ง
    • วิตกกังวล
    • ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้
    • หมดอาลัยตายอยาก ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของ วิกฤตวัยกลางคน ที่พบได้บ่อย
    • คนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม อาจจะไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมอีกเลย เช่น ไม่ออกไปเที่ยว ไม่สังสรรค์
    • เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จทางด้านการงาน การใช้ชีวิต หรือเงินทอง
    • ตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจในอดีตของตัวเอง

    นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษของ วิกฤตวัยกลางคน ที่อาจจะพบได้ในเพศใดเพศหนึ่งมากกว่าอีกเพศ เช่น ผู้ชาย มักจะชอบประเมินคุณค่าของตัวเองที่ความสำเร็จทางด้านการงานหรือการเงิน ดูว่าตัวเองมีหน้าที่การงานดีหรือเปล่า หรือมีรถมีบ้านเหมือนกับคนอื่นหรือไม่ ในขณะที่ผู้หญิง มักจะให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ มีการประเมินคุณค่าของตัวเองผ่านการเป็นภรรยา เป็นแม่ หรือเป็นทั้งสองอย่าง ถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะมีเป้าหมายอนาคตทางการงานที่แน่นอนแล้วก็ตาม

    วิกฤตวัยกลางคน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์อย่างไร

    วิกฤตวัยกลางคน อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์แตกต่างกันออกไป คุณอาจจะเริ่มตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ของคุณและสงสัยว่าคุณกำลังมีความสุขดีอยู่หรือไม่ คุณอาจจะเริ่มสังเกตเห็นพฤติกรรมบางอย่างของคนรักที่คุณรู้สึกสงสัยว่าควรทำแบบนั้นจริง ๆ เหรอ หรือคุณอาจจะเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจในชีวิตคู่ และต้องการเวลาส่วนตัวที่จะอยู่ตัวคนเดียว

    ในช่วงวัยกลางคนนั้นคือช่วงวัยที่หลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามถึงความสำเร็จ การกระทำ และตัวเลือกในอดีต การมองเห็นคนอื่นประสบความสำเร็จแล้วย้อนกลับมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ทำให้เกิดความสงสัยต่อคุณค่าของตัวเอง และอาจพาลไปถึงคุณค่าของคนที่อยู่เคียงข้างด้วย

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า วิกฤตวัยกลางคน จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อความสัมพันธ์ของคุณ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤตนี้อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดการหย่าร้างหรือแยกทางกันของคนรักในวัยนี้ หรือเปลี่ยนรูปแบบของความสัมพันธ์ที่คนสองคนมีร่วมกันไปอีกนาน

    รับมือ คนรักที่มีปัญหา วิกฤตวัยกลางคน ได้อย่างไร

    1.หันมาสนใจตัวเอง

    มันไม่เกิดประโยชน์อะไรกับตัวคุณและคนรักของคุณ หากคุณจะมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่คนรักทำหรือคิด คุณไม่สามารถควบคุมได้ว่าคนรักของคุณจะทำหรือไม่ทำอะไร ดังนั้น คุณจึงควรหันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่ตัวเองต้องการ สิ่งที่ตัวเองสนใจ เพื่อเป็นการดีทั้งกับตัวคุณเอง และตัวของคนรัก

    2.ขีดเส้นความสัมพันธ์ให้ชัดเจน

    ไม่ว่าใครต่างก็มีเส้นที่ไม่ควรข้ามกันทั้งนั้น รวมถึงตัวคุณและตัวคนรักของคุณด้วย แต่ในบางครั้งปัญหา วิกฤตวัยกลางคน อาจเปลี่ยนแปลงการกระทำกับความคิดของคุณและคนรัก และอาจทำให้หลงลืมขีดจำกัดความอดทนของกันและกันได้ ดังนั้นการขีดเส้นแบ่งจุดให้ชัดเจนว่าจุดไหนคือเกินขีดกำจัดความอดทนของคุณ เพื่อป้องกันไม่ให้พลาดพลั้งและเผลอทำร้ายจิตใจของกันและกัน

    3.จัดการกับความโกรธให้ดี

    อาการโกรธและอารมณ์เสียนั้นเป็นลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยสำหรับผู้ที่มี วิกฤตวัยกลางคน และความโกรธเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งได้ และยิ่งถ้าคุณเป็นคนใส่อารมณ์ไปกับการทะเลาะครั้งนั้นด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟให้ปะทุรุนแรงขึ้น

    ดังนั้น คุณจึงควรเป็นคนที่มีสติมากกว่า และจัดการกับความโกรธให้ดี รอให้อารมณ์สงบก่อน แล้วจึงค่อยมาคุยกัน เพื่อไม่ให้ความโกรธนั้นบังตาและตัดสินใจบางอย่างที่อาจทำให้คุณและคนรักรู้สึกเสียใจในภายหลังได้

    4.พยายามรับฟัง

    ในบางครั้ง วิกฤตวัยกลางคน อาจทำให้เกิดปัญหาที่คุณรู้สึกว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาขึ้นมาได้ หากคนรักของคุณมาปรึกษาเกี่ยวกับปัญหานั้น คุณก็ควรจะรับฟังและไม่รีบด่วนตัดสินไปก่อน แม้ว่าปัญหานั้นอาจจะฟังดูไร้สาระมากเพียงใดก็ตาม

    5.ขอความช่วยเหลือจากภายนอก

    ในบางครั้ง วิกฤตวัยกลางคน อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนรักมากเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง คุณอาจจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือจากภายนอก การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณและคนรักสามารถจัดการกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา