backup og meta

ชอบดึงผมบ่อย ๆ รู้ไหมว่าเป็นอาการทางจิต ของ โรคดึงผม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ชอบดึงผมบ่อย ๆ รู้ไหมว่าเป็นอาการทางจิต ของ โรคดึงผม

    ใครมีพฤติกรรม ชอบดึงผม บ้าง รู้หรือไม่ว่า เมื่อทำแบบนี้ไปนานๆจะทำให้หัวล้าน ผมแหว่ง และเกิดอาการอักเสบของหนังศีรษะ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  หากคุณมีพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเองบ่อยๆแล้วนั้น แสดงว่าคุณอาจเสี่ยงเป็น โรคดึงผม โดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักโรคนี้กัน

    โรคดึงผม (Trichotillomania) คืออะไร

    โรคดึงผม (Trichotillomania) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง จนกลายมาเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำที่แสดงออกโดยการดึงขนต่างๆบนร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็จะมีอาการเป็นๆ หายๆ และเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมากในช่วงที่มีความเครียด ความเศร้า วิตกกังวล หรือช่วงมีประจำเดือน

    ชอบดึงผมตัวเองบ่อยๆ สาเหตุเกิดจากอะไรกันนะ

    • ความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนควบคุมอารมณ์ ได้แก่ การเคลื่อนไหว ความเคยชิน และการยับยั้งชั่งใจ
    • ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น
    • ความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ของตนเอง และไม่มีความมั่นใจ
    • พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเคยมีพฤติกรรมดังกล่าว อาจส่งผลมาถึงลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไป

     สัญญาณเตือนว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคดึงผม

    • ดึงผมตนเองโดยรู้ตัว เมื่อดึงผมแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้นและผ่อนคลายขึ้น
    • ดึงผมตนเองโดยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่จะเกิดในตอนทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ดูหนัง อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
    • มีความวิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำ หรือเป็นโรคซึมเศร้าก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคดึงผม
    • สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคดึงผม
    • โรคเครียด หรือโรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) โรคล้วงคอ (Bulimia Nervosa) เป็นต้น ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

    วิธีรักษาโรคดึงผมด้วยตัวเอง

    • อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยหาวิธีผ่อนคลายในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ใช้เวลากับคนในครอบครัว หรือคนที่เรารัก เป็นต้น
    • เข้ารับการตรวจรักษา เมื่อสงสัยว่ามีอาการของโรคนี้
    • การปรับพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัดรูปแบบต่างๆ หรือ การสะกดจิต
    • รักษาด้วยยาที่เพิ่มเซโรโทนิน (Serotonin) และหากมีโรคร่วมอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ก็ควรรักษาร่วมกัน เพื่อไม่ให้โรคดึงผมกลับมาอีก
    • รักษาโดยจิตแพทย์ร่วมกับแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาอาการผมร่วง

    โรคดึงผมไม่ใช่โรคติดต่อหรือโรคที่ร้ายแรง ดังนั้น ไม่ควรกังวลจนเกินไป แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นโรคดึงผม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและทำการรักษาที่ถูกต้อง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา