backup og meta

ย้ำคิดย้ำทำ กับเพอร์เฟกชันนิสต์ เส้นกั้นบางๆ ของจิตผิดปกติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ย้ำคิดย้ำทำ กับเพอร์เฟกชันนิสต์ เส้นกั้นบางๆ ของจิตผิดปกติ

    คุณคงเคยพบเห็นคนหรือตัวละครที่มีบุคลิกรักษาความสะอาดมากเกินปกติ และมักทำความสะอาดทุกสิ่งหลังการสัมผัส บางคนอาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้คงเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบ หรือ เพอร์เฟกชันนิสต์ แต่หากถามจิตแพทย์ อาจได้คำตอบว่า อาการเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรค ย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder, OCD) นั่นเอง

    โรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ถือเป็นอาการป่วยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยและคนที่อยู่รอบตัวอย่างมาก โรคนี้เป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่กล้าเปิดเผยให้คนอื่นรู้ว่าเขามีความผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้น

    โรค ย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร

    โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD) เป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดปกติทางจิตชนิดเรื้อรัง และคงอยู่เป็นระยะเวลานาน โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ ความผิดปกติทางสมองในกระบวนการประมวลผลข้อมูล พวกเขาจะเกิดความคิดแบบซ้ำๆ (ความหมกมุ่น) และพฤติกรรม (การย้ำทำ) ที่ทำให้เขาหรือเธอรู้สึกถึงแรงกระตุ้นให้ทำสิ่งใดๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

    ต่อไปนี้เป็นสิ่งแสดงอาการในระยะเริ่มต้นของโรคย้ำคิดย้ำทำ

    • โรคนี้เป็นอาการป่วยทางจิตที่พบไม่บ่อย และคนที่เป็นโรคนี้ตามปกติเป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว แต่ก็สามารถเกิดได้ในผู้สูงอายุหรือเด็กได้เช่นกัน ควรทำการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อไม่ให้ทำให้เกิดผลเสียรุนแรงตามมาซึ่งจะส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของพวกเขาในระยะยาว
    • ในระยะเริ่มต้น การหมกมุ่นกับสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่มีตัวตนมักจะทำให้จิตใจของผู้ป่วยตกอยู่ในสภาวะกังวล เหนื่อยล้า และสับสน เช่น การรังเกียจสิ่งที่มองเห็น (visual aversion) หรือผมร่วง หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ มีพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อย หรือการจับจ่ายซื้อของแบบไม่ยั้งคิด เป็นต้น
    • อาการจะเริ่มจะแย่ลงเมื่อผู้ป่วยรู้สึกถูกบีบบังคับให้ต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อบรรเทาแรงกดดันจากความหมกมุ่น เช่น การทำความสะอาด อาบน้ำ ตรวจสอบสิ่งต่างๆ เป็นต้น
    • ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกหวาดกลัวคนที่อยู่โดยรอบ กลัวว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นอาการผิดปกติของตัวเอง และจะเริ่มรู้สึกซึมเศร้า รวมทั้งพยายามหลบหนีออกจากทุกสิ่งในชีวิตจริงของตัวเอง

    พฤติกรรมและอาการทางจิตของโรคย้ำคิดย้ำทำ

    บุคคลที่เกิดภาวะ OCD บางครั้งจะมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้

    กลัวสิ่งสกปรก

    ผู้ป่วยที่มีความกลัวเช่นนี้มักจะทำความสะอาดและล้างทุกอย่างทันทีหลังมีการสัมผัส เมื่อเกิดอาการ ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการกรดไหลย้อนผิดปกติ หรืออาจเกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง นำมาซึ่งความรู้สึกขยะแขยง และเริ่มทำความสะอาด อาบน้ำ และชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ หลายครั้งต่อวัน แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่เพียงพอ

    กลัวความผิดพลาด

    การตรวจสอบความเรียบร้อยหลังจากหลังจากทำสิ่งต่างๆ เสร็จสมบูรณ์แล้วเป็นเรื่องปกติสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคนี้ พวกเขามักจะกลัวความผิดพลาด แม้ว่าจะตรวจดูหลายครั้งแล้ว บางครั้งอาจตรวจสอบเป็นสิบๆ ครั้งแล้ว แต่พวกเขาก็ยังรู้สึกไม่สบายใจอยู่ดี

    ต้องการความแม่นยำและเป้าหมายที่แน่นอนที่สุด

    ผู้ป่วยที่เกิดความกลัวเช่นนี้ตามปกติจะเป็นผู้ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ พวกเขาจะแบกความคิดที่ว่าทุกสิ่งต้องสมบูรณ์แบบ และรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อเขารู้สึกว่ายังบางสิ่งที่ยังไม่เป๊ะตามต้องการ พวกเขามักต้องการความแม่นยำในระดับสูงสุด และไม่สามารถทนได้หากมีของบนโต๊ะทำงานเกิดขยับเคลื่อนไปจากเดิมแม้เพียง

    1 มม.

    ขี้ระแวงจนเกินไป

    ผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกว่าไม่สามารถไว้ใจใครหรืออะไรได้เลย และมักจะตรวจสอบ และนับจำนวนจนนับครั้งไม่ถ้วนโดยไม่มีเหตุผล

    หากคุณพบว่าตัวคุณเองหรือใครบางคนแสดงอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ คุณควรปรึกษาจิตแพทย์ และพยายามไม่หนีปัญหาหรือรู้สึกผิด เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงกดดันต่อจิตใจอย่างหนัก อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้

    โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาทางจิต ร่วมกับความพยายามของผู้ป่วยเอง รวมทั้งความช่วยเหลือของญาติๆ ด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พิมพร เส็นติระ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา