backup og meta

วิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วย โรคกลัวการเข้าสังคม เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 13/08/2020

    วิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วย โรคกลัวการเข้าสังคม เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น

    การเข้าสังคมสำหรับหลายๆ คนอาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคกลัวการเข้าสังคมแล้ว ถือว่าไม่ง่ายเลย การจะเข้าสังคมในแต่ละทีนั้นเต็มไปด้วยความวิตกกังวล กลัวว่าจะถูกตัดสินจากคนในสังคม กลัวคนในสังคมไม่ชอบ การหาเพื่อนใหม่ การเข้าสังคมจึงถือเป็นเรื่องที่ยากและมีความท้าทายสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับการเข้าสังคมสำหรับผู้ที่กลัวการเข้าสังคมมาฝากกัน ไปดูกันเลยว่า วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม นั้นจะต้องทำอย่างไร

    โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) คืออะไร

    โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety) เป็นโฟเบีย อย่างหนึ่ง ถือเป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ที่ป่วยเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมส่วนใหญ่มักจะไม่กล้าเข้าสังคมเพราะกลัวถูกคนภายในสังคมตัดสิน กลัวทำเรื่องขายหน้า กลัวคนในสังคมนั้นไม่ชอบ ซึ่งเมื่อจะมีการเข้าสังคมอาจทำให้พวกเขาเกิดความประหม่า เหงื่อออกตามมือ ซึ่งเมื่อดูจากอาการของโรคแล้วอาจจะมีความคล้ายคลึงกับอาการประหม่าธรรมดา แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคมนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเข้าสังคม พบปะคนมากๆ กลับไม่สามารถบังคับตัวเองได้ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม จนบางครั้งอาการเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

    วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม ที่จะทำให้คุณกลัวน้อยลง

    ความวิตกกังวลในการเข้าสังคม นั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะกลัวการถูกตัดสินจากคนในสังคม สำหรับผู้ที่มีอาการนี้การเข้าสังคมหรือการพบปะหน้าคนอื่นจึงถือเป็นเรื่องที่มีความยากลำบาก หลายๆ คนที่มีอาการนี้รู้ดีว่าสิ่งที่พวกเข้ากลัวนั้นมันไร้เหตุผล แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกกลัวไม่ได้ เมื่อต้องมีการเข้าสังคม วิธีการเข้าสังคม สำหรับคนกลัวการเข้าสังคม เหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อต้องเริ่มเข้าสังคม

    เลิกมีกำแพง กับการเข้าสังคม

    สิ่งแรกที่ผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคมนึกถึงคือ ความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็น ความกังวลว่าจะทำตัวเองขายหน้าในที่คนมาก ๆ ซึ่งตามจริงแล้วความคิดเหล่านี้ถือเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ ที่เกิดขึ้นมาเลยเมื่อต้องมีการเข้าสังคม

    ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะ ไม่เห็นด้วยกับความคิดในแง่ลบที่เกิดขึ้นในสมอง ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะจะช่วยผลักดันให้เลิกมีความคิดเช่นนี้ หากได้ยินเสียงในแง่ลบผุดขึ้นมาในใจอีก ก็แค่รับรู้ว่าเสียงนั้นเกิดขึ้น ไม่นำมาตัดสินใจใดๆ ปล่อยให้เสียในดังอยู่ในใจอย่างเงียบๆ โดยไม่เอามาตัดสิน และคิดเสมอว่ามันเป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้น ไม่ใช่ความจริง และมองหาข้อดีของการเข้าสังคมมากขึ้น

    เผชิญหน้ากับความกลัว

    ความกลัว ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนเรา การหลีกเลี่ยงเผชิญหน้ากับความกลัวก็ถือเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน แต่เมื่อหลีกเลี่ยงแล้วทำให้เกิดความวิตกกังวลนั้นอาจยิ่งทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาวได้

    ดร. วิคตอเรีย ชอว์ นักจิตวิทยา กล่าวว่า การเผชิญหน้ากับความกลัวเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวนั้นได้ โดยอาจจะเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กล้าที่จะสบตากับเพื่อนใหม่ แนะนำตัวเองกับกลุ่มเพื่อนใหม่ เริ่มพูดคุยถามไถ่ในเรื่องทั่วๆ ไป

    ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์

    ปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า สามารถเชื่อมต่อประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างง่ายดาย การพูดคุย พบปะกับคนอื่นๆ จึงถือเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีเพื่อพูดคุยกับเพื่อน ๆ คนอื่นเป็นการเพิ่มความสนิทสนมและช่วยเพิ่มความกล้า เพราะไม่จำเป็นต้องอยู่ต่อหน้ากัน

    อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีก็เหมือนดาบสองคม แม้มันจะช่วยให้คุณได้คุยได้มากขึ้น แต่อาจจะทำให้คุณกล้าคุยกับผู้อื่นเพียงแค่บนโลกออนไลน์เท่านั้น เมื่อต้องเจอหน้ากันจริงๆ อาจทำให้คุณมีความวิตกกังวลเหมือนเดิม ดังนั้นควรใช้มันไปในทางที่ถูกและช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

    ทดลองกับเรื่องง่ายๆ

    การเข้าสังคม หรือการที่ต้องเจอกับคนใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่กลัวการเข้าสังคม ซึ่งเมื่อมีการเข้าสังคมจริงๆ อาจทำได้แย่ เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น คุณควรสร้างความคุ้นชินกับการเข้าสังคมนั้นๆ อาจเริ่มต้นจากการไปสถานที่บริเวณใกล้ๆ นั้นเพื่อสร้างความคุ้นชิน

    เข้ารับการบำบัด

    เมื่อได้ลองวิธีการต่างๆ มามากมายแต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับความวิตกกังวลเมื่อต้องเข้าสังคมได้ การบำบัดจึงเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลได้ การบำบัดด้วยการพูดคุยถือเป็นตัวเลือกที่ได้รับความสำหรับการรักษาความนิยม โดยจะทำการพูดคุยถึงความวิตกกังวลทางสังคม ซึ่งการบำบัดความรู้ความเข้าใจพฤติกรรม (CBT) ถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    การบำบัดด้วยรูปแบบนี้เต็มไปด้วยเทคนิคต่างๆ มากมายที่สามารถช่วยจัดการความคิด อารมณ์และการตอบสนองทางกายภาพต่อสถานการณ์ทางสังคม บางครั้งนักบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากลัวและแนะนำวิธีจัดการกับความกลัวนั้น เมื่อคุณได้เปิดเผยความกลัวเหล่านี้อย่างช้าๆ ความกลัวเหล่านั้นจะมีอำนาจเหนืออารมณ์ของคุณน้อยลง

    รู้จักตัวเอง

    การรู้จักตัวเองถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวล คุณต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าคุณสามารถอดทนได้แค่ไหน ต้องรู้ถึงขีดจำกัดของตัวเอง และอย่าพยายามทำให้ตัวเองวิตกกังวลมากไปจนรู้สึกทนไม่ได้ ต้องนึกถึงสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ นอนหลับให้เพียงพอและกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นประจำ บางครั้งอาจลองไปปาร์ตี้สังสรรค์บ้าง เพราะมันอาจเป็นตัวช่วยที่ดีทางสังคม เพื่อหาทางผ่อนคลายตัวเอง แต่อย่าปาร์ตี้สังสรรค์มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 13/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา