backup og meta

อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 07/06/2020

    อาการเตียงดูด (Dysania) อีกหนึ่งสัญญาเตือน อาการป่วยทางจิต

    หลายคนคงเคยเป็นกันใช่ไหม เมื่อถึงเวลาต้องตื่นนอนในตอนเช้า แล้วรู้สึกไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือบางครั้งลุกมาแล้วก็อยากกลับไปนอนอีก นั่นอาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมี อาการเตียงดูด ก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

    ทำความรู้จักกับ อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania)

    อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) เป็นสภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า มันทำให้คนที่มีอาการนี้รู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้าทั้งยังมีความรู้สึกที่มากกว่าการง่วงนอนอีกด้วย

    แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะนอนนานกว่าชั่วโมงที่ได้แนะนำเอาไว้ แต่พวกเขาก็ยังพบว่าพวกเขาสามารถลุกออกจากเตียงได้ยากมาก นอกจากนั้นพวกเขายังจะมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาเกิดความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้องรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว

    อาการเตียงดูดเป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้าง

    ผู้ที่เป็นมีอาการเตียงดูดนั้น ยังสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีกด้วย ซึ่งโรคที่ตามมา ได้แก่

    • อาการซึมเศร้า

    อาการซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความเศร้า การสูญเสียพลังงาน และความเหนื่อยล้า

    • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome หรือ CFS)

    ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเหนื่อยเรื้อรังจะมีความรู้สึกว่าเหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก ซึ่งอาการนี้จะคงอยู่เป็นเวลานานและไม่สามารถหายได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเตียงดูดนั่นเอง

    • ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) 

    โรคนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากมาย เช่น ส่งผลทางด้านความจำ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นได้

    สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีบางสิ่งขัดขวางการหายใจของคุณในขณะที่คุณหลับ ส่งผลให้พลังงานของคุณลดต่ำลง และเกิดอาการง่วงตอนกลางวันได้อีกด้วย

    • โรคโลหิตจาง

    เมื่อคุณไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ ระดับพลังงานของคุณอาจจะลดลง

    • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

    หากต่อมไทรอยด์ของคุณทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ มันจะส่งผลให้คุณรู้สึกเฉื่อยชา

    ระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถส่งผลต่อพลังงานในร่างกายของคุณได้

    • โรคขาอยู่ไม่สุข

    โรคนี้ทำให้คุณขยับขาไม่หยุดในขณะที่พัก

    ปัญหาหัวใจสามารถทำให้คุณเหนื่อยล้าได้มากกว่าปกติ

    • ความผิดปกติของการนอนหลับ

    สภาวะของการนอนหลับบางอย่าง เช่น การนอนไม่หลับ หรือโรคลมหลับ (Narcolepsy) มักจะทำให้คุณตื่นนอนในตอนเช้าได้ยากขึ้น

    อาการเตียงดูดสามารถรักษาได้หรือไม่

    ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาอาการเตียงดูด ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับปัญหานี้ก็คือ การเข้าไปพบกับผู้เชี่ยวชาญถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้คุณกำลังมีความทุกข์ทรมานจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและนั่นทำให้เกิดอาการเตียงดูด แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณลองปรับตารางเวลานอนเสียใหม่ ลองเล่นโยคะก่อนนอน หรือลองทำห้องนอนให้รู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น เพื่อการนอนหลับที่ดีของคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 07/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา