backup og meta

เพศทางเลือกกับการถูกรังแก ในโรงเรียน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เพศทางเลือกกับการถูกรังแก ในโรงเรียน

    บูลลี่ (Bully) คือการรังแก กลั่นแกล้ง กระทำความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นทั้งทางคำพูดหรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การพูดจาถากถาง พูดให้เกิดความรู้สึกแย่ เสียดสี ด่าทอ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ การลวนลามก็ถือเป็นการบูลลี่เช่นกัน ซึ่งเป็นปัญหาความรุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะเด็ก LGBT มองว่าการถูกบูลลี่เป็นปัญหาชีวิตอันดับ 2 รองลงมาจากเรื่องที่ครอบครัวไม่ยอมรับ ปัญหา เพศทางเลือกกับการถูกรังแก จึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับเด็กกลุ่มนี้

    เพศทางเลือกกับการถูกรังแก

    จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เป็น LGBT มีโอกาสในการถูกบูลลี่มากกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ผู้ที่บูลลี่มองว่า LGBT แตกต่างจากคนอื่น มีความผิดปกติ หรือขัดต่อความเชื่อที่ว่าผู้ชายต้องคู่กับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งการถูกบูลลี่ มีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษา การขาดเรียน และคุณภาพชีวิตทางอารมณ์ที่ดี

    ในปี 2017 Government Equalities Office (GEO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความเท่าเทียมทางสังคมแห่งอังกฤษได้มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 19 ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยถูกล่วงละเมิดทางวาจา ถูกดูหมิ่น หรือถูกวิจารณ์ทางโลกออนไลน์อย่างรุนแรงในช่วงปีที่ผ่านมาเพียงเพราะว่าพวกเขาเป็น LGBT

    การถูกบูลลี่ส่งผลอย่างไรต่อเด็ก

    ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กวัยเรียนก็มักจะอยู่ในโรงเรียนเป็นหลัก เมื่อถูกบูลลี่ในโรงเรียนก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องส่งผลกระทบต่อเด็กๆ อย่างแน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองหรือว่าคุณครูไม่ควรปล่อยปะละเลยเด็กๆ เหล่านี้ เพราะผลกระทบที่เกิดจากการถูกบูลลี่ร้ายแรงกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเด็กในกลุ่ม LGBT ที่ถูกบูลลี่จะมีการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติดมากกว่าเด็กคนอื่นๆ ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสุขในชีวิตประจำวัน ผลการสำรวจจากเด็กละเยาวชน มีเด็ก LGBT เพียงร้อยละ 37 ที่บอกว่าตัวเองมีความสุขในการใช้ชีวิต ในขณะที่เด็กคนอื่นๆ ร้อยละ 67 บอกว่าตัวเองมีความสุขในการใช้ชีวิตดี บางครั้งการถูกบูลลี่ยังส่งผลให้เด็กๆ ทำร้ายตัวเองอีกด้วย แต่เด็กกลุ่ม LGBT เสี่ยงทำร้ายตัวเอง มากกว่าเด็กคนอื่นๆ มากถึง 2.5 เท่า และที่ร้ายไปกว่านั้นคือ อาจส่งผลให้พวกเขาอยาก ฆ่าตัวตาย โดยปกติเด็กๆ ที่ถูกบูลลี่ก็มีความคิดอยากฆ่าตัวตายอยู่แล้ว แต่เด็กในกลุ่ม LGBT มีความคิดอยากฆ่าตัวตายมากกว่าเด็กคนอื่นๆ ถึง 4 เท่า

    ผลกระทบด้านการศึกษา

    จากการศึกษาเด็ก LGBT ในสหรัฐอเมริกาพบว่าเด็กกลุ่มนี้ถูกบูลลี่จนส่งผลกระทบต่อการศึกษา จนพวกเขาได้รับการศึกษาที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเด็ก LGBT ที่ถูกบูลลี่หนักๆ ถูกบูลลี่บ่อย มีเกรดเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเด็กที่ถูกบูลลี่เป็นครั้งคราว ซึ่งจากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่เป็น LGBT หยุดเรียนหรือโดดเรียนไปเลยทั้งวันเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยและรู้สึกว่าไม่มีที่พึ่ง นอกจากนี้ยังมีเด็ก LGBT ร้อยละ 60 ที่ไม่รายงานการถูกบูลลี่ให้ครูหรือผู้ปกครองทราบ เพราะมีประวัติเคยรายงานการถูกกลั่นแกล้งแล้ว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ

    จะรับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่

    การถูกบูลลี่ถือเป็นปัญหาความรุนแรงในเด็ก ที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตเด็กๆ ในระยะยาวหากยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยปกติแล้วโรงเรียนควรเป็นสถานที่ ที่ปลอดภัยต่อทุกคน เมื่อมีการบูลลี่ก็จะส่งผลกระทบต่อทุกๆ คน แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ต้องได้รับการร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโรงเรียน ผู้ปกครอง หรือตัวนักเรียนเอง องค์กรอิสระ NSCC แนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหานี้โดยเริ่มจากการสร้างเครือข่าย LGBT ในโรงเรียนเพื่อที่จะได้รับรู้ปัญหาการถูกบุลลี่ในกลุ่ม LGBT อย่างทั่วถึง นักเรียนที่เข้าร่วมเครือข่ายนี้ ยังบอกอีกว่าเมื่อมีการจัดตั้งเครือข่าย LGBT ในโรงเรียนแล้วได้รับความใส่ใจจากบุคลากรในโรงเรียนมากขึ้น ถูกบูลลี่น้อยลง และส่งผลให้การเรียนดีขึ้นอีกด้วย

    หยุด! การถูกบูลลี่ยังไรให้ได้ผล

    • เมื่อถูกบูลลี่อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรแจ้งให้พ่อแม่ ครูหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ ได้ทราบถึงปัญหา
    • เก็บหลักฐานการถูกกลั่นแกล้งไว้ หากถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ก็แคปหน้าจอที่ถูกบูลลี่ไว้เพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เมื่อถูกข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรงก็ควรที่จะแจ้งความ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
    • หากถูกบูลลี่แล้ว สามารถที่จะปล่อยผ่าน หรือไม่สนใจได้ก็ควรทำ เพราะเมื่อพวกเขาแกล้งแล้วไม่ได้รับความสนใจก็จะหยุดแกล้งไปเอง เมื่อเราปล่อยผ่าน ไม่สนใจสิ่งที่เขาทำแต่เขากลับมีแนวโน้มว่าจะทำร้ายมากขึ้น ก็ควรออกมาจากตรงนั้นเพราะความปลอดภัยสำคัญที่สุด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา