backup og meta

โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) อาการทางจิตอันตราย ที่อาจกลายเป็นปัญหาสังคม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) อาการทางจิตอันตราย ที่อาจกลายเป็นปัญหาสังคม

    การล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะการล่วงละเมิดเด็กนั้นถือได้ว่าเป็นอาชญากรรมที่มีความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อทั้งบุคคลและสังคม แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับ โรคใคร่เด็ก ที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ โรคใคร่เด็กนั้นมีอาการเป็นอย่างไร และสามารถรักษาได้หรือไม่ มาหาคำตอบได้จากบทความนี้

    โรคใคร่เด็ก คืออะไร

    โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) นั้นเป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง ใช้เรียกผู้ที่เกิดความต้องการทางเพศกับเด็กที่อายุน้อยมากๆ อายุโดยเฉลี่ยคือประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น โดยเฉพาะเมื่อได้เห็น ใกล้ชิด หรือสัมผัสกับตัวเด็ก พวกเขาจะหลงใหลในสรีระและร่างกายของเด็กที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ และมองเด็กเหล่านี้เป็น “วัตถุทางเพศ’ และไม่มี ความต้องการทางเพศ หรือความสนใจในคนที่วัยใกล้เคียงกัน มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กอาจจะรักเด็กสักคนหนึ่ง และเลิกสนใจเขาเมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้น และหันไปสนใจเด็กคนอื่นแทน โดยปกติโรคนี้มักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่า และพวกเขาอาจจะสนใจเด็กทั้งสองเพศ

    จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นโรคใคร่เด็ก

    การจะสังเกตว่าใครเป็นโรคใคร่เด็กนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการจะเป็นผู้ป่วยโรคใคร่เด็กตามความหมายทางการแพทย์นั้นไม่ได้หมายถึงคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้ที่อายุน้อยกว่ามากๆ และไม่ได้หมายถึงผู้ที่มี พฤติกรรม ทารุณกรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก เราสามารถทำการวินิจฉัยโรคใคร่เด็กได้โดยไม่ต้องรอให้เขาก่ออาชญากรรมกับเด็ก ความจริงแล้ว มีผู้ป่วยโรคใคร่เด็กหลายคนที่ไม่ได้เป็นอาชญากร ไม่ได้ลงมือกระทำใดๆ กับเด็ก แม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกดึงดูดต่อเด็กก็ตาม และมีผู้ที่ล่วงละเมิดทางเพศเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นโรคใคร่เด็ก

    คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM IV-TR) ได้ระบุลักษณะของผู้ป่วย โรคใคร่เด็ก ดังต่อไปนี้

    • ผู้ที่มี ความต้องการทางเพศ การเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศกับเด็กวัยก่อนหนุ่มสาว หรือเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 13 ปี หรือต่ำกว่านั้น
    • ผู้ที่ได้กระทำตาม ความต้องการทางเพศ เหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาต่อบุคคลอื่น
    • ผู้ที่มีอายุมากกว่าเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ด้านบน อย่างน้อย 16 ปี ขึ้นไป

    เกณฑ์ของ DSM IV-TR นั้นไม่ได้รวมถึง เด็กวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีลงมา ทั้งยังต้องแยกแยะความแตกต่างของอาการโดยขึ้นอยู่กับ เด็กที่สนใจเป็นเพศอะไร พฤติกรรมทางเพศเหล่านี้เกิดแค่กับระหว่างคนในครอบครัวหรือไม่ และมีความต้องการใดๆ เป็นพิเศษหรือเปล่า

    บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กอาจจะมี พฤติกรรม “เลี้ยงดูเด็ก’ (groom children) หมายถึงพฤติกรรมในการเลี้ยงดู ติดต่อ ทำความคุ้นเคยกับเด็กทั้งแต่เล็กๆ จนเด็กเกิดความคุ้นเคยและวางใจ พวกเราอาจจะเริ่มจากการให้ของขวัญ พาไปเที่ยว หรือให้คำชมต่างๆ เมื่อเด็กเกิดความคุ้นเคยก็อาจจะเริ่มมีพฤติกรรมที่เกินเลยไปกว่านั้น และพวกเขาก็จะให้เหตุผลว่าเด็กยินยอม แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เด็กเหล่านี้ยังเด็กเกินกว่าที่จะทำความเข้าใจได้ได้ตัวเองกำลังเจอกับอะไร

    โรคใคร่เด็กรักษาได้หรือไม่

    โรคใคร่เด็กนั้นถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง และยังมีทางที่จะรักษาได้ การรักษา นั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคใครเด็กสามารถต้านทางต่อความสนใจทางเพศที่มีต่อเด็ก และไม่ลงมือก่ออาชญากรรมกับเด็กได้ ผู้ป่วยควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และหาทางรักษาอย่างถูกต้อง

    การใช้ยาบางชนิดอาจจะสามารถช่วยลดพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติของผู้ป่วยโรคใครเด็กได้ โดยเฉพาะการลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่อยู่ในร่างกาย ที่จะช่วยลดความต้องการทางเพศ ลงได้ และเมื่อมีความต้องการทางเพศ ลดลง ก็มีโอกาสสูงที่จะลดการกระทำต่อเด็กได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเพื่อลดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนี้ไม่สามารถโรคใคร่เด็กให้หายขาดได้ ทำได้เพียงลดอาการของโรคเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรใช้ยาร่วมกับการบำบัดทางความคิดและ พฤติกรรม

    การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม อาจจะมีวิธี เช่น Aversion Conditioning ซึ่งเป็นเทคนิคที่ว่าด้วยหลักการว่า “หากผู้ป่วยกระทำพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ ก็จะต้องได้รับการลงโทษ’ เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้และปรับพฤติกรรมตัวเองได้ หรือการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเห็นอกเห็นใจและเข้าใจเหยื่อผู้ถูกกระทำ ทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความรู้สึกของเหยื่อ และเข้าใจว่าพฤติกรรมของตนนั้นไม่ถูกต้อง และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยลดหรือหยุดการกระทำเหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคใคร่เด็กหลายคนอาจมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมร่วมด้วย คนเหล่านี้จะไม่สามารถเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ จึงอาจทำให้วิธีการรักษา นี้ไม่ได้ผลเท่าไหร่นัก

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา