backup og meta

ของที่ไม่ควรเอาเข้าปาก ถ้าคุณอยากมีฟันสวย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 23/07/2020

    ของที่ไม่ควรเอาเข้าปาก ถ้าคุณอยากมีฟันสวย

    ใคร ๆ ก็อยากที่จะมีฟันที่สวยงามและแข็งแรง หลายคนพยายามดูแลรักษาฟันเป็นอย่างดี เพราะบางครั้งมันก็ช่วยเสริมบุคลิกภาพเมื่อต้องพบปะกับผู้คน แต่บางครั้งเมื่อเวลาต้องใช้ความคิดหรือเกิดความเครียด บางคนก็ชอบที่จะกัดดินสอ ซึ่งนั้นอาจไม่ดีต่อฟัน ความจริงแล้ว ของที่ไม่ควรเอาเข้าปาก มีหลายอย่าง แต่จะมีอะไรบ้าง ต้องไปติดตาม Hello คุณหมอ

    ของที่ไม่ควรเอาเข้าปาก เพื่อฟันสวยมีอะไรบ้าง

    แน่นอนว่าทันตแพทย์รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับสุขอนามัยในช่องปากที่ดี แต่ความจริงแล้วการดูแลฟันนั้นมีเรื่องที่มากกว่าการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้ง ยังมีเรื่อง ของที่ไม่ควรเอาเข้าปาก อีกด้วย สิ่งของที่คุณควรหลีกเลี่ยงในการเอาเข้าปาก เพื่อรักษารอยยิ้มให้แข็งแรงและสวยงาม มีดังนี้

    เล็บ

    หลายคนมีพฤติกรรมชอบกัดเล็บ ซึ่งนั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าดูสักเท่าไหร่ ทั้งยังทำให้เสียบุคลิกภาพอีกด้วย นอกจากนั้นการกัดเล็บยังอาจทำให้เกิดการสึกหรอของฟันได้อย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วย

    มะนาว

    มีคนเป็นจำนวนมากที่ชอบดูดมะนาวและเอามะนาวไว้ในปากนานกว่าอาหารชนิดอื่น คุณหมอวิคตอเรียวิตต์แมน (Dr. Victoria Veytsman; MD) ทันตแพทย์เมืองนิวยอร์ก อธิบายเอาไว้ว่า เนื่องจากมะนาวมีสภาพเป็นกรดมาก ดังนั้น มันอาจนำไปสู่การสึกกร่อนของเคลือบฟันและยังทำให้กรดและเบสในปากไม่สมดุลอีกด้วย

    ลูกอมแข็ง ๆ

    การเคี้ยวหรือดูดลูกอมแข็ง ๆ สามารถทำลายสุขภาพช่องปากของคุณได้ ขนมหวานทั้งหลาย ล้วนมีส่วนประกอบเป็นน้ำตาล ซึ่งมันสามารถเกาะติดกับผิวฟันและอาจทำให้ฟันผุได้ด้วย การเคี้ยวลูกอมแข็ง ๆ สามารถทำให้ฟันแตก และยังอาจทำให้เนื้อเยื่อเหงือกเกิดบาดแผลที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้อีกด้วย

    น้ำแข็ง

    แน่นอนว่ามีหลาคนที่ชอบเคี้ยวน้ำแข็ง แต่การทำเช่นนั้นเป็นการทำให้ฟันบดกับน้ำแข็งที่คุณกำลังเคี้ยวอยู่ ก้อนน้ำแข็งมักจะทำให้ฟันหลายซี่ร้าว เมื่อฟันร้าวแล้วอาจจะต้องการครอบฟันเพื่อทำให้สภาพฟันสามารถกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น พยายามอย่าเคี้ยวน้ำแข็งเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อฟันและเคลือบฟันของคุณ

    ปากกา

    การกัดปากกาด้านบนซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดนิสัยชอบกัดฟันเวลากลางคืนได้ ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการทำลายฟัน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ เนื่องจากการกัดฟันนั้นจะทำให้ส่วนต่างๆ ที่กล่าวไปนั้นออกแรงมากเกินไป

    บุหรี่

    การสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดคราบที่ฟัน ทั้งยังทำให้เกิดกลิ่นปาก เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเหงือกและมะเร็งในช่องปากอีกด้วย

    ฝาขวดโลหะ

    บางคนเมื่อไม่มีที่เปิดขวดก็มักจะชอบใช้ฟันในการเปิดฝาขวดแทน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทันตแพทย์ไม่แนะนำ เพราะมันอาจทำให้คุณสูญเสียฟันไปโดยที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ นอกจากต้องทำรากฟันเทียมหรือครอบฟันเทียมเอาไว้ ซึ่งมันไม่คุ้มค่ากันเลย พยายามใช้เครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่ฟันในการเปิดฝาขวดโลหะจะเป็นการดีที่สุด

    ฝาขวดพลาสติก

    เช่นเดียวกับฝาขวดโลหะ เมื่อบางคนเปิดฝาขวดพลาสติกไม่ออกก็มักจะใช้ฟันในการกัดและหมุน เพื่อทำให้ฝาขวดเปิดออกได้ง่ายขึ้น แต่การทำอย่างนี้นอกจากจะทำให้ฟันร้าว ยังอาจทำให้เกิดควาเจ็บปวดและมีปัญหาต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อได้อีกด้วย การที่ศีรษะและกรามของคุณกัดลงบนฝาขวดและพยายามบิดฝาขวดพลาสติกเพื่อเปิด มันจะทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อเกิดความเครียดและตึง พยายามใช้มือในการเปิดแทนจะดีกว่า

    กุญแจ

    บางครั้งเมื่อมือไม่ว่างหลายคนก็เลือกที่จะคาบกุญแจเอาไว้ในปาก ไม่ว่าจะเป็นกุญแจรถ หรือกุญแจบ้านก็ตาม แต่รู้หรือไม่ว่า กุญแจเหล่านั้นเต็มไปด้วยเชื้อโรคและแบคทีเรียที่สามารถทำให้ร่างกายป่วยหรือไม่สบายได้ และถ้าเผลอกัดกุญแจอย่างแรงอาจจะทำให้ฟันแตกได้อีกด้วย

    บัตรจอดรถ

    มันอาจจะฟังดูแปลก ๆ สักหน่อยว่าทำไมบัตรจอดรถถึงสามารถส่งผลต่อฟันได้ ความจริงแล้วเมื่อบัตรจอดรถออกมาจากเครื่องจักรที่ให้บัตร หลายคนชอบคาบบัตรไว้ในปาก จากนั้นก็ขับรถวนหาที่จอดรถ แต่รู้หรือไม่ว่าบัตรจอดรถเมื่อมันออกมาจากเครื่อง สิ่งที่พิมพ์อยู่บนบัตรจอดรถมักจะมีสารเคมีในหมึกพิมพ์และเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งไม่ดีต่อปากและร่างกายของคุณ

    เครื่องประดับ

    การเจาะบริเวณต่าง ๆ อาจจะเป็นรสนิยมความชอบส่วนบุคคล แต่มันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เพราะการเจาะนั้นอาจทำให้เลือดออกได้ สำหรับผู้ที่ชอบเจาะลิ้น ก็อาจจะทำให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงบวมและเกิดการติดเชื้อได้ การเจาะลิ้น แก้ม และริมฝีปาก อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ฟันและเยื้อบุช่องปากที่อยู่ใกล้กันได้ นอกจากนั้นมันอาจทำให้เกิดการแตกหักของฟันและนำไปสู่อาการเหงือกร่น จนอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 23/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา