backup og meta

ภาวะตาสองสี ลักษณะทางพันธุกรรมซับซ้อน ที่อาจค้นพบได้ในมนุษย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    ภาวะตาสองสี ลักษณะทางพันธุกรรมซับซ้อน ที่อาจค้นพบได้ในมนุษย์

    ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง และชวนอึ้งอย่างมากในมนุษย์เรา เพราะเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างค้นพบได้ยากเกี่ยวกับ ภาวะตาสองสี แต่นอกจากจะเป็นดวงตาที่สวยงามชวนมองแล้ว บางกรณีนั้นก็อาจมีอันตรายแอบแฝงร่วมอยู่ด้วยได้อีกด้วยที่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะของดวงตาดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ

    ภาวะตาสองสี คืออะไร

    ภาวะตาสองสี (Heterochromia) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในมนุษย์ และพบได้ทั่วไปในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีจุดสังเกตอย่างง่ายดายจากสีของดวงตาข้างใดข้างหนึ่งที่มีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยอาจได้รับมาจากพันธุกรรมส่งต่อมาทางครอบครัว และเป็นพันธุกรรมซับซ้อนที่เชื่อมโยงกับยีนในร่างกายของเรา ก่อให้เกิดการกำหนดความเข้มข้นของเม็ดสีเมลานินในม่านตา ที่นำพาไปสู่การเกิดสีต่างๆ บนม่านตาได้ เช่น สีฟ้า สีน้ำตาล สีดำ สีเขียว สีเทา เป็นต้น

    แต่ในบางกรณีนอกเหนือจากการได้รับมาจากพันธุกรรมแล้ว การที่ดวงตาของคุณมีสีที่เปลี่ยนไปอาจมาจากสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคต้อหิน โรคเบาหวาน กลุ่มอาการกระจายตัวของเม็ดสี เนื้องอกในม่านตา อุบัติเหตุบริเวณม่านตา หรือแม้แต่ใช้ยารักษาดวงตาบางชนิด เป็นต้น ซึ่งถ้าหากคุณมีปัญหาทางสุขภาพเหล่านี้ร่วมอยู่ และพบว่าดวงตาของคุณนั้นมีสีที่เปลี่ยนแปลงไปกระทันหันไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด คุณควรรีบเร่งเข้าขอรับการรักษา หรือการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์อีกครั้ง ก่อนนำพามาสู่ความสูญเสียด้านการมองเห็น

    ประเภท ของภาวะตาสองสี มีอะไรบ้าง

    สีของม่านตาที่เปลี่ยนไปนั้น อาจมีลักษณะเบื้องต้นที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละการพัฒนาทางพันธุกรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วภาวะตาสองสีที่พบเจอ อาจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

    1. สีของม่านตาแบบสมบูรณ์ (Complete heterochromia) เป็นภาวะที่อาจสังเกตได้ง่ายที่สุด เนื่องจากสีของม่านตาข้างใดข้างหนึ่งนั้นเปลี่ยนไปแบบเต็มดวงตาอย่างบูรณ์ เช่น ตาข้างซ้ายสีฟ้า และตาข้างขวาสีเทา โดยไม่มีสีอื่น ๆ มาแทรก หรือปะปน
    2. สีของม่านตามีการแบ่งออกเป็นครึ่งหนึ่ง (Segmental heterochromia) ลักษณะของประเภทนี้จะเป็นกรณีที่ม่านตาของคุณในดวงตาคู่นั้นถูกแบ่งออกเป็นครึ่งหนึ่ง พร้อมมีสีที่แตกต่างกัน
    3. สีของม่านตารอบนอกเปลี่ยนไป (Central heterochromia) เป็นการเปลี่ยนแปลงสีม่านตาในลักษณะวงกลม หรือวงแหวนรอบนอกของดวงตาเพียงเท่านั้น

    วินิจฉัยภาวะตาสองสี โดยแพทย์

    หากเป็นการสืบทอดพันธุกรรมมาจากภายในครอบครัว คุณอาจไม่จำเป็นที่ต้องมีข้อกังวลใด ๆ ที่ต้องเข้ารับการวินิจฉัย แต่ถึงอย่างนั้นเพื่อความปลอดภัยคุณอาจต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ

    แต่กรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของม่านตาอย่างกะทันหัน พร้อมมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนทางด้านการมองเห็นร่วม คุณอาจต้องเร่งรีบเข้ารับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์เฉพาะทางในทันที โดยเริ่มต้นจากการตรวจเลือด ตรวจลักษณะทางพันธุกรรม หรือทำการทดสอบอื่น ๆ ตามสัญญาณอาการที่เผยออกมาของแต่ละบุคคล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 09/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา