backup og meta

อยากมีเพื่อน ควรเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างไรถึงจะดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/09/2020

    อยากมีเพื่อน ควรเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างไรถึงจะดี

    โดยปกติแล้วมนุษย์ถือเป็นสัตว์สังคมที่ไม่อาจสามารถใช้ชีวิตอยู่คนเดียวได้ มนุษย์ทุกคนต้องการเพื่อน อยากมีเพื่อน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆ ซึ่งกันและกัน แต่บางคนอาจจะไม่รู้วิธีการที่จะทำความรู้จักกับคนอื่น ถึงแม้จะอยากมีเพื่อน ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำวิธีการเริ่มต้นความสัมพันธ์มาแนะนำกัน

    ทำไม “เพื่อน’ ถึงมีความสำคัญ

    สังคมของเรามักให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์แบบโรแมนติก แค่เราคิดว่าเจอคนที่ใช่ก็จะทำให้เรามีความสุขสมหวัง แต่จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า จริงๆ แล้ว เพื่อนมีความสำคัญต่อสภาพจิตใจของเราเป็นอย่างมาก เพราะเพื่อนสามารถนำความสุขเข้ามาในชีวิตของเราได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นใดเสียอีก

    มิตรภาพ มีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตและความสุขของคุณ เพราะเพื่อนที่ดีจะช่วยคลายเครียด ให้ความสบายใจ ความสุข ป้องกันความเหงา และความโดดเดี่ยว การพัฒนามิตรภาพที่แน่นแฟ้นอาจส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายของคุณ การขาดการเชื่อมต่อทางสังคมอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงได้มากพอๆ กับการสูบบุหรี่ การดื่มมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่ติดไปในชีวิตประจำวัน แต่การมีเพื่อนกลับทำให้ชีวิตของคุณยืนยาวยิ่งกว่า

    จากการศึกษาชิ้นหนึ่งในสวีเดนพบว่า นอกจากกิจกรรมทางกายภาพต่าง ๆ การรักษาไว้ซึ่งเครือข่ายเพื่อนที่หลากหลายเอาไว้ จะช่วยให้คุณมีอายุยืนขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ มิตรภาพที่แน่นแฟ้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย พวกเราหลายคนต้องดิ้นรนเพื่อพบปะผู้คนและพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มีคุณภาพเอาไว้ และไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่หรืออยู่ในสถานการณ์ใด ก็ไม่เป็นเรื่องที่สายไปที่จะหาเพื่อน และสานสัมพันธ์กับเพื่อนเก่า ทั้งยังควรจะต้องปรับปรุงชีวิตทางสังคม สุขภาพ อารมณ์ และความเป็นอยู่โดยรวมของคุณเอาไว้ด้วย

    ประโยชน์ของการมีเพื่อน

    เพื่อนที่ดีนั้นจะส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณด้วย เพื่อนๆ สามารถช่วยคุณเฉลิมฉลองช่วงเวลาดีๆ ในช่วงชีวิตของคุณ ทั้งยังให้การสนับสนุนในช่วงเวลาที่คุณเจอกับเรื่องที่เลวร้าย เพื่อนสามารถช่วยป้องกันความเหงาได้อีกด้วย นอกจากนั้นประโยชน์ของการมีเพื่อนก็ยังมีอีกมากมาย ซึ่งได้แก่

    • เพิ่มความรู้สึกการเป็นเจ้าของและจุดมุ่งหมาย
    • เพิ่มความสุขและลดความเครียด
    • ปรับปรุงความมั่นใจในตัวเองและคุณค่าในตัวเอง
    • ช่วยคุณรับมือกับความเสียใจหรือชอกช้ำ เช่น การหย่าร้าง โรคร้ายแรง การตกงาน หรือการเสียชีวิตของคนที่คุณรัก
    • กระตุ้นให้คุณเปลี่ยนแปลงหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การดื่มมากเกินไป หรือขาดการออกกำลังกาย

    นอกจากนั้น เพื่อนยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของคุณ โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ที่มีการสนับสนุนทางสังคมอย่างเข้มแข็ง จะทำให้ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้หลายอย่าง รวมไปถึงภาวะซึมเศร้า (Depression) ความดันโลหิตสูง และดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ไม่แข็งแรง จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีชีวิตทางสังคมที่มีเพื่อนเยอะ มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าเพื่อนที่มีความสัมพันธ์ต่อกันน้อย

    อยากมีเพื่อน ต้องทำอย่างไรบ้าง

    สำหรับผู้ที่เข้ากับคนยาก หรือขี้อาย แต่ไม่รู้จะเริ่มสร้างมิตรภาพอย่างไรเพื่อจะได้มีเพื่อน สามารถทำตามขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ดู

    แบ่งปันความสนใจที่มีร่วมกัน

    ความสนใจที่มีร่วมกันถือเป็นเรื่องใหญ่ในมิตรภาพ หากคุณผูกพันกับคนที่ชอบสิ่งเดียวกัน หรือเจอคนที่ชอบอะไรที่คล้ายกัน เช่น หากคุณชอบขี่จักรยาน ก็ควรไปหากลุ่มคนที่ชอบปั่นจักรยาน ถ้าคุณชอบวิ่งก็หาเพื่อนที่ชอบวิ่ง เป็นต้น

    ถ้าหากคุณรู้สึกเฉยๆ กับความสนใจเหล่านี้ ก็ควรจะต้องตั้งเป้าหมายที่จะเริ่มการสนทนากับผู้คนที่แตกต่างกับคุณ มันเป็นเรื่องยากที่จะรอให้เพื่อนๆ เข้ามาหา แต่การสร้างมิตรภาพถือเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก

    อย่าก้าวร้าวเกินไป

    เมื่อตอนคุณอายุ  6 ขวบทุกคนอยากจจะเป็นเพื่อนที่มีศักยภาพสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณเติบโตขึ้นและเริ่มมองเห็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสนใจคุณ บางคนอาจจะเกิดความสงสัยได้ ถ้าคุณทำตัวก้าวร้าวเกินไปทั้งที่เพิ่งพบกันครั้ง ดังนั้น ลองผ่อนคลายและพยายามทำให้คุณและเพื่อนรู้สึกสบายใจทั้งคู่ หลังจากพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองแล้ว ลองนัดพบกันอีกครั้งเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การดื่มกาแฟ กินอาหารกลางวัน หรือออกไปวิ่งด้วยกัน

    ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า คนเราจะสร้างมิตรภาพด้วยการพูดคุยกัน 10-15 ครั้ง ก่อนที่คุณจะเริ่มเชื่อมโยงมิตรภาพกับใครบางคน

    เป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยมและแสดงความสนใจ

    ความส่วนใหญ่มักรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพบใครบางคนเป็นครั้งแรก แต่ถ้าคุณเป็นผู้ฟังที่ดีและถามคำถามที่ถูกต้อง ความรู้สึกไม่สบายใจก็จะหายไป ลองพยายามถามคำถามแบบปลายเปิดและเต็มใจที่จะติดต่อกับผู้อื่น เช่น บอกข้อมูลเพิ่มเติมให้ฉันได้ไหม หรือช่วยอธิบายให้ฉันเข้าใจหน่อยได้ไหม เป็นต้น

    การเฉลิมฉลอง

    เมื่อคุณพบใครเป็นครั้งแรกให้สอบถามสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา การให้กำลังใจและการสรรเสริญ เป็นวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์ เพราะมันจะทำให้พวกเขารู้สึกดีและรู้สึกโดดเด่น หากเพื่อนใหม่ของคุณถามว่า พวกเขาควรลดน้ำหนักหรือไม่ คุณก็ควรแนะนำกลับไปว่า บางทีพวกเขาควรจะไปวิ่งมาราธอนดู และเมื่อเพื่อนของคุณทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จ การฉลองกับพวกเขามันจะเริ่มมีการเชื่อมโยงความรู้สึกดีๆ เข้าหากันนั่นเอง

    คำนึงถีงสถานที่

    มิตรภาพอาจต้องใช้เวลานานในการพัฒนา แต่ยิ่งคุณออกไปเจอใครบางคนหรือออกไปเที่ยวบ่อยเท่าไหร่ ความสัมพันธ์ก็จะยิ่งก่อตัวเร็วขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่นักศึกษาหรือเพื่อนร่วมงาน สามารถสร้างความสัมพันธ์ขึ้น นั่นก็เพราะพวกเขาใช้เวลาร่วมกันเป็นจำนวนมาก ลองพิจารณาสถานที่ละแวกบ้านหรือโรงยิม เพื่อจะได้มีโอกาสพบปะผู้คนใหม่ๆ โดยพยายามไปสถานที่ที่คุณชอบไปบ่อยๆ

    ใช้แอปพลิเคชันและโซเชียลมีเดียอย่างชาญฉลาด

    มิตรภาพทุกอย่างอาจจะแตกต่างกันออกไป แต่คนส่วนใหญ่มักจะต้องการการปรากฏตัวทางกายภาพ ซึ่งโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน สามารถทำให้คุณเห็นมีเพื่อนได้ โดยที่ไม่ต้องออกไปข้างนอก ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดอะไร

    แต่อย่าลืมว่าการติดต่อกันทางโลกออนไลน์นั้นอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เพราะพวกเขามักจะไม่เปิดเผยตัวตน ความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์อาจทำให้คุณหายเหงา แต่แทบจะไม่สามารถทดแทนความสัมพันธ์แบบที่คุณพบเจอในชีวิตจริงได้เลย

    ประเมินความใกล้ชิดในกลุ่มเพื่อน

    แน่นอนว่าคนเราจะมีระดับความใกล้ชิดในกลุ่มเพื่อนที่แตกต่างกัน ความใกล้ชิดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของบุคคลและมิตรภาพที่คุณมีให้กับพวกเขา เพื่อนบางคนคุณอาจจะคุยเพียงแค่ 2-3 ครั้งต่อปี แต่คุณกับเพื่อนอาจจะมีความสุขและพอใจกับความสัมพันธ์แบบนี้ นอกจากนั้นยังมีมิตรภาพอื่นๆ ที่อาจจะใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น จงจำเอาไว้ว่ามิตรภาพนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามเวลาและระดับความสนิทสนม

    มองหามิตรภาพเก่าๆ

    หากคุณอยู่ในจุดที่กำลังมองหามิตรภาพ มีอยู่วิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการติดต่อกับใครสักคน นั่นคือ การติดต่อกับเพื่อนเก่าๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยเด็ก มัธยม มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานเก่า เนื่องจากคุณมีประวัติศาสตร์หรือช่วงเวลาที่สำคัญร่วมกับพวกเขา และอาจจะมีความรู้สึกที่ดีกับพวกเขาอยู่ กลุ่มเพื่อนกลุ่มนี้จึงเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เหมาะสำหรับมิตรภาพที่สามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา