backup og meta

โรคพิษสุนัขบ้า กับแนวทางในการป้องกันตนเองที่คุณควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 04/01/2021

    โรคพิษสุนัขบ้า กับแนวทางในการป้องกันตนเองที่คุณควรรู้

    คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากการที่ถูกสุนัขกัดเพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ตัว หากถูกสัตว์กัด ข่วน และติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางในการป้องกันตนเองมาฝากกัน

    โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) คืออะไร

    แม้โรคพิษสุนัขบ้าจะไม่ใช่ปัญหาทางด้านสาธารณสุข แต่ก็ยังควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นไวรัสที่สามารถโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคุณโดยสัตว์กัดหรือต่อย แล้วปล่อยทิ้งไว้โดนที่ไม่ได้รับการรักษาอาการอย่างทันท่วงถี่ มันอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงและอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่

    โรคพิษสุนัขบ้า พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น จากสถิติของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) พบว่า มีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2008-2017 เพียง 23 รายเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าหากไม่ได้รับการรักษาก่อนที่อาการจะปรากฏขึ้นก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอัตราการเสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์ของโรคต่าง ๆ ในโลก

    ดังนั้น ถ้าคุณคิดว่าตัวเองสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ควรต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที ซึ่งโรคพิษสุนัขบ้าสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA)

    อาการของ โรคพิษสุนัขบ้า

    ในช่วงแรกของการติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า อาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากไข้หรือปวดศีรษะเล็กน้อย ระยะเวลาระหว่างก่อนที่อาการของโรคเกิดขึ้น เรียกว่า “ระยะฟักตัว” สามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่ 20-90 วันโดยเฉลี่ย  ในขณะที่อาการติดเชื้อกำลังดำเนินไปเรื่อย ๆ และเข้าสู่สมอง ก็จะทำให้เกิดอาการโรคไข้สมองอักเสบและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ ผู้ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มมีอาการทางร่ายกายและระบบประสาท รวมทั้งมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • มีความรู้สึกไวต่อแสง
  • น้ำลายออกมาเกินไป
  • ความวิตกกังวลและกระสับกระส่าย (Agitation)
  • ความหวาดระแวง
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ความก้าวร้าว และความหวาดกลัว
  • ประสาทหลอน (Hallucinations)
  • โรคกลัวน้ำ (Hydrophobia)
  • ชัก (Seizures)
  • อัมพาตบางส่วน (Partial paralysis)
  • หลังจากมีอาการเหล่านี้ โรคพิษสุนัขบ้า จะแสดงอาการอย่างรวดเร็วจนอาจนำไปสู่อาการเพ้อ โคม่า และเสียชีวิตใน 7-10 วัน เมื่ออาการต่าง ๆ ปรากฎการรักษาก็แทบจะไม่ได้ผลแล้ว

    สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า

    โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า “ไลซ่าไวรัส (Lyssavirus) หรือ เรบี่ส์ไวรัส (Rabies Virus)” ซึ่งพบได้ในสัตว์เฉพาะ 14 สายพันธุ์ ไวรัสชนิดนี้พบได้ในน้ำลายและเซลล์ประสาทของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือมนุษย์ รูปแบบของการแพร่เชื้อโรคที่โดดเด่นก็คือ การกัดหรือข่วน เชื้อจะสามารถแพร่กระจายได้แม้จะจัดการกับซากสัตว์ที่ตายแล้ว แต่การแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก

    เมื่อคนถูกกัด ข่วน หรือสัมผัสกับของเหลวในร่างกายที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นทางตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แตก ไวรัสจะเดินทางผ่านเส้นประสาทของระบบประสาทส่วนปลาย ไปยังไขสันหลังและสมอง ในสหรัฐอเมริกา การถูกค้างคาวกัดเป็นการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์สู่คนที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนั้นก็จะเป็นการถูกกัดจากสุนัขที่กินโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนสัตว์อื่น ๆ ในอเมริกาเหนือที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ แรคคูน สกั๊งค์ สุนัขจิ้งจอก วัว หมาป่า และแมวบ้าน

    วิธีการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า

    สำหรับวิธีการรักษาโรคพิษสุนัขบ้านั้น “เวลา” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณคาดว่าจะได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า คุณจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาโดยทันที ด้วยการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า 4 เข็มและฉีดยาที่เรียกว่า “อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ (Human rabies immunoglobulin หรือ HRIG)” 1 ครั้ง ซึ่งอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์นั้นจะมีแอนติบอดีภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งและควบคุมไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ทันที จนกว่าวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มทำงาน

    อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ จะถูกฉีดให้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน โดยจะต้องฉีดเข้าไปที่แผลโดยตรง และจะถูกฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ ซึ่งห่างไกลจากจุดที่ฉีดวัคซีน การฉีดอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ใกล้บริเวณที่ฉีดวัคซีนมากเกินไป อาจรบกวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้

    อิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ (Human rabies immunoglobulin หรือ HRIG) ที่ใช้ในการฉีดเพื่อยับยั้งและควบคุมไวรัสพิษสุนัขบ้า มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  • Imogam Rabies-HT
  • HyperRab TM S / D
  • โดยควรเริ่มฉีดทันทีหลังจากสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งการฉีดครั้งแรกจะเป็นการฉีดอิมมูโนโกลบูลินที่ผลิตจากซีรั่มของมนุษย์ และการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นจะมีการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มเติมอีก 3 เข็ม โดยระยะเวลาของการฉีดจะเป็น 3 วัน 7 วัน และ 14 วันต่อมาตามลำดับ ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการได้รับการฉีดยามักจะไม่รุนแรง อาจมีอาการปวดบริเวณที่ฉีด และมีไข้เพียงเล็กน้อย

    แนวทางในการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคพิษสุนัขบ้า

    สำหรับแนวทางการป้องกันตัวเองจาก โรคพิษสุนัขบ้า ก็คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ผลิตขึ้นจากไวรัสที่ไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ได้แก่

    • Imovax (วัคซีนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงไวรัสใน Human Diploid Cell Vaccine หรือ HDCV)
    • RabAvert (วัคซีนที่ผลิตโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อในไข่ไก่ (Purified Chick Embryo Cell Vaccine หรือ PCECV))

    วัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ จะถูกฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขนในปริมาณ 3 โดส หลังจากฉีดครั้งแรก 7 วันต่อมาจะเป็นการฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ของการฉีดวัคซีนจะได้รับในช่วงระยะเวลา 14-21 วัน สำหรับผลข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดเข้าไปนั้นมักไม่รุนแรง เช่น

    แต่สำหรับบางคนที่มีภาวะปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้หลายระบบและอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ชนิดรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงวัคซีน RabAvert ในผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ แล้วใช้วัคซีน Imovax แทน

    โดยทั่วไปแล้วการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จะให้การป้องกันภูมิคุ้มกันถึง 10 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สามารถให้ยากระตุ้นได้ทุก 6 เดือนถึง 2 ปี ตามความจำเป็น สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่

    • ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ป่าในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้าบ่อยครั้ง เจ้าหน้าที่สัตว์ป่า สัตวแพทย์ผู้ดูแลสัตว์ และนักสำรวจถ้ำ
    • นักเดินทางระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มที่จะสัมผัสกับสัตว์ในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะถิ่น

    หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลอื่น ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โปรดปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 04/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา