backup og meta

เคล็ดลับปรับ ไลฟ์สไตล์ ห่างไกล โรคริดสีดวง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เคล็ดลับปรับ ไลฟ์สไตล์ ห่างไกล โรคริดสีดวง

    เกือบสามในสี่ของผู้ใหญ่อาจจะเคยเป็นโรคริดสีดวงมาแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต อาการบวมของหลอดเลือดภายในลำไส้ตรงส่วนล่างนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เราต้องทรมานกับอาการปวดและอาการคันระหว่างการขับถ่ายแล้ว แต่ยังอาจจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณทวารหนักอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย แต่โชคดีที่โรคนี้สามารถจัดการได้โดยการปรับ ไลฟ์สไตล์ ป้องกัน โรคริดสีดวง

    เทคนิคการปรับ ไลฟ์สไตล์ ป้องกัน โรคริดสีดวง

    1. เข้าห้องน้ำเวลาที่รู้สึกปวด

    แม้ว่าเรื่องนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่ทุกคนเข้าใจและรับรู้ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ไม่สนใจสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของตนเองต้องการขับถ่าย และกลั้นจนกว่าจะทนไม่ไหวในที่สุด

    พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะการอั้นไม่ยอมเข้าห้องน้ำนานๆ นั้น จะทำให้ลำไส้ของคุณ ดูดซึมน้ำและสารอาหารจากกากของเสียในลำไส้ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนอุจจาระของคุณแข็งและแห้ง ทำให้ยากต่อการขับถ่าย และอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่โรคริดสีดวงในที่สุด

    2. เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง และดื่มน้ำให้เพียงพอ

    คุณควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืชเต็มเมล็ดให้มากขึ้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเป็นแหล่งสำคัญของใยอาหาร นอกจากนี้คุณก็ควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน คืออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

    ใยอาหารและน้ำจะช่วยทำให้อุจจาระของคุณนิ่มขึ้น และมีกากใยของเสียมากขึ้น ทำให้ง่ายต่อการขับถ่าย นอกจากนี้ใยอาหารจะช่วยปรับสมดุลของระบบย่อยอาหาร ช่วยลดโอกาสการเกิดอาการท้องผูก และระบบขับถ่ายให้กลับมาทำงานตามปกติ และช่วยป้องกันโรคริดสีดวงได้

    ผักและผลไม้ที่คุณเลือกรับประทาน ควรเลือกเป็นพืชผักที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี กระหล่ำปลี แครอท หัวไชเท้า แตงกวา และอื่นๆ นอกจากนี้ก็ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีส่วนช่วยในการขับถ่าย หรือมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก การรับประทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูงเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคริดสีดวงได้

    นอกจากนี้คุณก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีใยอาหารต่ำ เช่น แป้งขาวที่ผ่านการขัดสีแล้ว เนื้อแดง เนื้อแปรรูป เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ยากขึ้น อุจจาระแข็งขึ้น เกิดอาการท้องผูก และนำไปสู่โรคริดสีดวง

    3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

    การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและการออกกำลังกายจะช่วยให้ของเสียในลำไส้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จึงง่ายต่อการขับถ่าย และป้องกันท้องผูก ซ้ำยังช่วยลดความดันภายในหลอดเลือด ที่เกิดจากการเบ่งอุจจาระหรือนั่งเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ การออกกำลังกายจะช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเกิดโรคริดสีดวงได้อีกด้วย

    แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่อาจต้องใช้แรงเยอะ เช่น การยกน้ำหนัก เพราะจะกลายเป็นการให้ผลตรงกันข้าม เนื่องจากการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงเบ่งอาจเพิ่มแรงดันภายในหลอดเลือด แล้วนำไปสู่การเกิดโรคริดสีดวงได้เช่นกัน คุณควรเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ใช้แรงปานกลาง เช่น โยคะ ว่ายน้ำ หรือการเดิน จะช่วยป้องกันโรคริดสีดวงได้

    4. อย่าเบ่งแรง

    การออกแรงเบ่งแรงๆ นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดโรคริดสีดวง เนื่องจากเมื่ออุจจาระของคุณมีความแข็งและแห้ง ก็จะทำให้คุณต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้นสำหรับการขับถ่ายในแต่ละครั้ง การเบ่งแรงๆ นั้นจะเป็นการเพิ่มแรงดันของหลอดเลือดในลำไส้ตรงตรงให้มากขึ้น ทำให้เพิ่มโอกาสในการบวมของหลอดเลือดในลำไส้ตรง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวง

    นอกจากนี้การออกแรงเบ่งในสถานการณ์อื่น เช่น การออกกำลังกาย การยกของหนัก การไอเรื้อรัง หรือการคลอดลูก ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคริดสีดวงได้เช่นกัน

    5. อย่านั่งแช่อยู่ในห้องน้ำนานๆ

    หลายคนมักจะชอบนั่งแช่อยู่ในห้องน้ำเป็นเวลานานๆ และใช้เวลาไปกับการเล่นมือถือ หรืออ่านหนังสือ การนั่งแช่ในห้องน้ำนานๆ นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคริดสีดวง เนื่องจากการอยู่ในท่านั่งนานๆ นั้นจะเพิ่มความตึงเครียดและแรงดันให้กับหลอดเลือดในทวารหนัก การนั่งแช่อยู่ในห้องน้ำนานๆ ยังอาจเพิ่มโอกาสที่คุณจะออกแรงเบ่งเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การเกิดโรคริดสีดวง

    ทางที่ดีคุณไม่ควรที่จะพกหนังสือ หรือโทรศัพท์มือถือเข้าไปในห้องน้ำด้วย แต่ควรรีบทำธุระส่วนตัวให้เสร็จ แล้วจึงค่อยออกมาอ่านหนังสือหรือเล่นมือถือที่อื่น อย่านั่งแช่อยู่ในห้องน้ำนานๆ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา