backup og meta

เรกิ (Reiki) การบำบัดฟื้นฟูพลังชีวิตจากธรรมชาติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    เรกิ (Reiki) การบำบัดฟื้นฟูพลังชีวิตจากธรรมชาติ

    การบำบัดมีด้วยกันหลายทางเลือก หนึ่งในนั้นคือการบำบัดที่เรียกว่า เรกิ ซึ่งเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรกินั้นเป็นการบำบัดทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ที่ได้รับการรักษารู้สึกผ่อนคลายอย่างลึกซึ้ง โดยใช้เพียงฝ่ามือในการบำบัดเท่านั้น แต่สำหรับคนที่อยากรู้จักเรกิให้ดีขึ้น ลองมาติดตามบทความของ Hello คุณหมอ กันดูค่ะ

    เรกิ (Reiki) คืออะไร?

    เรกิ เป็นรูปแบบการบำบัดทางเลือก โดยทั่วไปเรียกว่าการรักษาพลังงาน ซึ่งการบำบัดแบบนี้เกิดขึ้นในญี่ปุ่นช่วงปลายปี 1800 และได้รับการกล่าวขานว่า มีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนพลังงานจากฝ่ามือของผู้รักษาโลกไปยังผู้ป่วย โดยเรื่องการรักษาพลังงานงั้นถูกใช้มาหลายศตวรรษในรูปแบบต่างๆ

    แต่ก็มีการโต้เถียงเกี่ยวกับเรกิเกิดขึ้น เพราะถือเป็นการยากที่จะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ว่า การบำบัดแบบเรกินั้น มีประสิทธิภาพในการรักษาจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามหลายคนที่ได้รับการรักษาจากเรกิต่างบอกว่ามันได้ผล จนมันได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งหากลองเอาคำว่า Reiki ไปค้นหาในกูเกิลจะพบว่า มีผลลัพธ์ปรากฏให้เห็นอย่างน้อย 68,900,000 ผลลัพธ์

    นอกจากนี้ การสำรวจในปี 2007 แสดงให้เห็นว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ใหญ่ประมาณ 1.2 ล้านคน พยายามทดลองใช้เรกิหรือการบำบัดที่คล้ายกันอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2006 แล้ว เชื่อกันว่าโรงพยาบาลกว่า 60 แห่ง ให้บริการเรกิเรกิแก่ผู้ป่วย

    ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับการบำบัดแบบเรกิ

    สำหรับสิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับเรกิ มีดังต่อไปนี้

    • เรกิ เป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดด้วยพลังงาน
    • แม้จะมีข้อกังขาในบางวงการ แต่ก็การบำบัดแบบเรกินั้นกลับได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
    • เรกิเกี่ยวข้อกับการถ่ายโอนพลังงานโดยการส่งพลังงานจากฝ่ามือ
    • ผู้สนับสนุนเรกิ กล่าวว่า มันสามารถรักษาสภาพและสภาวะทางอารมณ์ได้
    • จากผลงานวิจัยบางชิ้น แสดงให้เห็นว่า เรกิสามารถลดอาการปวดเล็กน้อย แต่ไม่มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มันมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคใดๆ
    • โรงพยาบาลบางแห่งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเสนอวิธีการรักษาแบบเรกิ แต่ประกันไม่ค่อยครอบคลุม

    ขั้นตอนของการบำบัดแบบเรกิ

    ขั้นตอนการทำเรกิจะถูกจัดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด ซึ่งความจริงแล้วสามารถทำได้ทุกที่ โดยผู้ป่วยจะนั่งในเก้าอี้ที่สะดวกสบายหรือนอนบนโต๊ะ อาจจะมีการเปิดเพลงหรือไม่เปิดเพลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ป่วย

    จากนั้นผู้รักษาจะวางมือของพวกเขาเบาๆ บนหรือเหนือบริเวณที่เฉพาะเจาะลงของศีรษะ แขน ขา และลำตัว โดยใช้รูปร่างมือที่แตกต่างกัน ประมาณ 2-5 นาที ซึ่งมือนั้นจะสามารถวางได้มากกว่า 20 ส่วนในร่างกาย หากผู้ได้รับการรักษามีการบาดเจ็บโดยเฉพาะ อาทิ แผลไฟไหม้ มือของผู้รักษาอาจจะลอยอยู่เหนือแผลนั้น

    ในขณะที่ผู้รักษานำมือของพวกเขาวางหรือเอาไว้เหนือร่ายกายเบาๆ เพื่อถ่ายโอนพลังงานที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานี้มือของผู้รักษาอาจจะอบอุ่นหรือรู้สึกเสียวซ่า โดยตำแหน่งมือแต่ละข้างจะวางเอาไว้บริเวณนั้นๆ จนกว่าผู้รักษาจะรู้สึกว่าพลังงานหยุดไหล และเมื่อผู้รักษารู้สึกว่า ความร้อนหรือพลังงานในมือของพวกเขาลดน้อยลง พวกเขาจะเอามือออก และอาจนำมือไปวางบนหรือเหนือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายต่อไป

    ประโยชน์ของการบำบัดแบบเรกิ 

    แม้การบำบัดแบบเรกิจะยังไม่สามารถพิสูจน์ทางด้านเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยได้ว่า มันสามารถช่วยบำบัดร่างกาย หรือช่วยให้ผ่อนคลายได้จริงหรือไม่ แต่มันก็มีหลายคนที่สามารถสัมผัสได้ถึงการบำบัดนี้ ซึ่งเรกินั้นถูกบอกเอาไว้ว่า ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ช่วยในกระบวนการบำบัดดตามธรรมชาติของร่างกาย และพัฒนาความเป็นอยู่ทางอารมณ์ จิตใจ และจิตวิญาณ นอกจากนั้นยังมีการบอกเอาว่ากว่า มันช่วยให้ผู้คนสามารถรับมือกับความเครียดทางอารมณ์ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวมได้อีกด้วย โดยผู้ที่ได้รับการบำบัดจากเรกิ ได้กล่าวเอาไว้ว่า มันทำให้รู้สึกผ่อนคลายอย่างมาก ดังนั้น เรกิจึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในการรักษาอื่นๆ เช่น

    ความรู้สึกของผู้ได้รับการบำบัดในแต่ละรายจะมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะรู้สึกว่ามือของผู้รักษาเริ่มร้อนขึ้น บ้างก็บอกว่ามือเย็น หรือบางคนอาจจะรู้สึกได้ถึงคลื่นสั่นสะเทือน แต่จากรายงานสิ่งที่พบบ่อยที่สุดคือ การปลดปล่อยความเครียดและการผ่อนคลายอย่างลึกซึ้ง นั่นเอง

    Hello Health Groupม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา