backup og meta

การฝังเข็ม ช่วยรักษาอาการปวดและเสริมสร้างสุขภาพได้จริงหรือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    การฝังเข็ม ช่วยรักษาอาการปวดและเสริมสร้างสุขภาพได้จริงหรือ

    การฝังเข็ม เป็นการรักษาแผนโบราณของจีนที่ใช้มานานหลายศตวรรษ โดยมีความเชื่อว่า การรักษารูปแบบนี้ส่งเสริมการทำงานของร่างกายโดยรวม และกระตุ้นกระบวนการรักษาและเยียวยาร่างกายตามธรรมชาติ โดยการกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่เรียกว่า จุดฝังเข็ม

    การฝังเข็มถูกเผยแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และกลายเป็นที่ยอมรับในการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การรักษานี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และยังเสริมสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้อีกด้วย บทความนี้ของ Hello คุณหมอจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการฝังเข็มกับประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย

    การฝังเข็ม มีข้อดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างไรบ้าง

    การฝังเข็ม ช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

    ผู้ทำการผังเข็มจะใช้เข็มขนาดเล็กทิ่มลงไปในผิวหนังตรงจุดเฉพาะของร่างกาย โดยการรักษานี้ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหากทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ตามหลักการของการฝังเข็ม เข็มที่ปักลงในไปแต่ละจุดฝังเข็มทั่วร่างกาย จะช่วยทำให้การถ่ายเทพลังงานในร่างกาย ที่เรียกว่า “พลังชี่’ สมดุลขึ้น การฝังเข็มจึงมักถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังต่าง ๆ เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อ ปวดศีรษะเรื้อรัง การศึกษาของมหาวิทยาลัยการแพทย์แห่งเบอร์ลิน เมื่อปี 2549 ระบุว่า มีการยืนยันแล้วว่าการฝังเข็มสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังเรื้อรังได้ดีกว่าการรักษารูปแบบอื่น ๆ

    อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มอาจไม่ใช่วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเกิดอาการปวด โดยนักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า แต่ละคนมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดแตกต่างกัน และควรได้รับการรักษาตามรูปแบบที่เหมาะสม และการฝังเข็มอาจเป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น หากพิจารณาแล้วว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล

    การฝังเข็มช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับ

    จากความเห็นของการแพทย์ตะวันตก การฝังเข็มสามารถควบคุมฮอร์โมนต่าง ๆ และสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) เมลาโทนิน (Melatonin) เอนดอรฺ์ฟิน (Endorphin) ที่มีบทบาทต่อการนอนหลับ ในทางกลับกัน การแพทย์แผนจีนชี้ว่า อาการผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากพลังชี่ของผู้ป่วยถูกขัดขวาง และการฝังเข็มจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น

    มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ระบุถึงประสิทธิภาพของการฝังเข็ม เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งกรุงปักกิ่ง ได้ทำการทดลองในปี 2552 โดยได้ระบุถึงประสิทธิภาพของการฝังเข็มในการลดอาการของโรคนอนไม่หลับ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาประเภทนี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ในผู้ป่วยที่ใช้ยาหรือสมุนไพรในการรักษาอาการนอนไม่หลับ หากเพิ่มการรักษาแบบฝังเข็มร่วมด้วย จะทำให้อาการดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้น การฝังเข็มยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเหมือนการใช้ยานอนหลับทั่วไปด้วย

    การฝังเข็ม ช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรน

    นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์ทางเลือกของมหาวิทยาลัยมิวนิค สรุปว่า การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยาที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อีกทั้งการฝังเข็มไม่จำเป็นต้องมีการผ่าตัด และอาจทำให้เกิดความเจ็บเพียงปวดน้อย หรือแทบไม่มีเลย

    วิธีการฝังเข็มคือ ผู้ทำการฝังเข็มจะใช้เข็มขนาดเล็ก ทิ่มเข้าไปยังจุดต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ วิธีการนี้จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเคมี และบรรเทาอาการเมื่อยล้า โดยได้รับการยอมรับว่า เป็นวิธีที่ปลอดภัยหากทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และไม่ก่อให้เกิดความกังวลในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา