backup og meta

ขนตูด มีไว้ทำไม และวิธีกำจัดขนตูด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

    ขนตูด มีไว้ทำไม และวิธีกำจัดขนตูด

    ขนตูด เป็นเส้นขนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีเส้นขนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นผมที่ศีรษะ ขนใบหน้า ขนคิ้ว ขนตา ขนแขน ขนขา หรือแม้แต่ขนที่นิ้วเท้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการวิจัยว่า ขนตูดนั้นมีประโยชน์หรือหน้าที่สำคัญต่อร่างกายอย่างไร

    ลักษณะเส้นขนบนร่างกายที่ควรรู้

    เซลล์ขนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของร่างกาย ดังนั้น จึงทำให้ทุกคนมีทั้งเส้นผม และเส้นขนต่าง ๆ บนผิวหนัง ไม่ว่าจะป็นขนแขน ขนที่ใบหน้า เส้นผม ขนในที่ลับ รวมถึงขนตูด โดยส้นขนต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างกัน ดังนี้

    • เส้นขนเทอร์มินัล (Terminal Hair) เส้นขนที่มีความหนา ยาว และมีสีเข้ม โดยส่วนใหญ่อาจเป็นเส้นผม หรือขนคิ้ว เป็นต้น
    • เส้นขนแอนโดรเจนิค (Androgenic Hair) เมื่อเทียบกับเส้นขนประเภทเทอร์มินัลแล้ว เส้นขนประเภทนี้จะมีลักษณะที่บาง พบได้ในบริเวณแขน หรือขา เป็นต้น
    • เส้นขนเวลลัส (Vellus Hair) เป็นเส้นขนที่มีความบาง มีสีอ่อน และมีความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร ซึ่งเล็กจนแทบจะมองไม่เห็นถ้าหากไม่ได้สังเกตดี ๆ ซึ่งขนประเภทนี้จะพบได้บริเวณใบหน้า หรือขนที่ลำตัว เป็นต้น

    ขนตูด มีไว้ทำไม

    ขนตูด เป็นเส้นขนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีเส้นขนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นผมที่ศีรษะ ขนใบหน้า ขนคิ้ว ขนตา ขนแขน ขนขา หรือแม้แต่ขนที่นิ้วเท้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการวิจัยว่า ขนตูดนั้นมีประโยชน์หรือหน้าที่สำคัญต่อร่างกายอย่างไร มีเพียงแต่ทฤษฏีที่คาดการณ์ถึงสาเหตุของความเป็นไปได้เท่านั้น ซึ่งการมีเส้นขนรวมถึงลักษณะต่าง ๆ ของเส้นขนอาจเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้

    ลักษณะทางพันธุกรรม

    ยีน หรือพันธุกรรม อาจเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพ อาการ และโรคชนิดต่าง ๆ ที่อาจถ่ายทอดและส่งผ่านทางพันธุกรรมได้ ขนาดของเส้นขนก็เช่นเดียวกัน บางคนมีผมดกดำเหมือนคุณพ่อ ในขณะที่อีกคนอาจจะมีผมบางเหมือนกับคุณแม่ ขนตูดก็เช่นเดียวกัน การที่มีขนมากหรือน้อยก็อาจมาจากการมีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด

    ยารักษาโรคต่าง ๆ

    ยาบางชนิดมีผลต่อการงอกของเส้นขน ยาดังกล่าวได้แก่

    • เทสโทสเตอโรน (Testosterone)
    • ยาดานาซอล (Danazol)
    • ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine)
    • ยาเมไทราโพน  (Metyrapone)
    • ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Systemic Corticosteroids)
    • ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids)

    โรคที่เกี่ยวกับต่อมหมวกไต (Adrenal Diseases)

    ต่อมหมวกไต (Adrenal Glands) เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน ที่มีส่วนช่วยให้เส้นขนในเพศชายและเพศหญิงเจริญเติบโต ซึ่งหากมีอาการของโรคดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไต ก็อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายมีขนเพิ่มขึ้น รวมถึงขนตูดด้วย ซึ่งโรคดังกล่าวอาจได้แก่

    • โรคต่อมลูกหมากโต (Hyperplasia)
    • กลุ่มอาการคุชชิง หรือโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง  (Cushing Syndrome)
    • เนื้องอกต่อมหมวกไต (Adrenal Tumors)

    กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับรังไข่ (Ovarian Diseases)

    รังไข่ ทำหน้าที่ในการสร้ามสมดุลของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย แต่โรคบางอย่างที่เกี่ยวกับรังไข่ อาจเป็นผลให้มีขนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น รวมถึงขนตูดด้วย โดยอาการดังกล่าวอาจได้แก่

    • กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS)
    • เนื้องอกในรังไข่ (Ovarian Tumor)
    • ภาวะเซลล์ล้อมฟองไข่เจริญเกิน (Hyperthecosis)

    วิธีกำจัดขนตูด

    ขนตูด ไม่ได้เป็นความผิดปกติที่ทำให้รู้สึกแย่ต่อตัวเอง หลยคนจึงไม่ได้สนใจที่จะกำจัดขนบริเวณนั้น แต่สำหรับบางคนแล้ว การมีขนน้อยอาจทำให้รู้สึกมั่นใจกว่าการที่มีขนเยอะ อย่างไรก็ตาม วิธีกำจัดขนตูดนั้น ไม่มีความแตกต่างจากการกำจัดขนบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย โดยอาจใช้วิธีกำจัดขนบริเวณร่องก้นด้วยตัวเองได้ดังนี้

    สำหรับวิธีกำจัดขนตูดแบบถาวรอาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    • การกำจัดขนด้วยเลเซอร์ โดยคุณหมอจะใช้ลำแสงเลเซอร์พิเศษสำหรับผิวหนัง เพื่อทำลายรูขุมขน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นขน โดยวิธีกำจัดขนด้วยเลเซอร์อาจต้องทำหลายครั้งจึงจะเห็นผล และควรปรึกษากับคุณหมอก่อนทำทุกครั้ง
    • การกำจัดขนด้วยกระแสไฟฟ้า คุณหมอจะสอดเข็มที่มีประจุไฟฟ้าเข้าในรูขุมขนแต่ละอัน เพื่อทำลายรูขุมขน ส่งผลให้รูขุมขนไม่มีขนขึ้นได้อีก สำหรับวิธีการนี้ก็ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอรับคำแนะนำและทราบถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังทำ เพื่อประกอบการตัดสินใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา