backup og meta

ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ถึงตายจริงหรือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ถึงตายจริงหรือ

    โดยปกติแล้ว ทางการแพทย์แนะนำเอาไว้ว่า ควรดื่มน้ำ 8-12 แก้วต่อวัน นั่นถือว่าเป็นการบริโภคน้ำที่เหมาะสมแล้ว แต่บางคนอาจจะชอบบริโภคน้ำมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอากาศในประเทศไทยส่วนใหญ่จะร้อน ทำให้เกิดการกระหายน้ำได้ง่าย รู้หรือไม่ว่า การ ดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้ ซึ่งภาวะน้ำเป็นพิษนี้ อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

    ภาวะน้ำเป็นพิษ คืออะไร?

    ภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication or Water poisoning) เกิดจากการที่ดื่มน้ำมากจนเกินไป จนส่งผลให้สมองหยุดทำงานโดยชะงัก และส่งผลให้ปริมาณน้ำในเลือดมาก เนื่องจากน้ำสามารถเจือจางอิเล็กโทรไลต์ในเลือดของคุณโดยเฉพาะโซเดียม ซึ่งโดยปกติแล้ว โซเดียมช่วยปรับสมดุลของของเหลวระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เมื่อโซเดียมลดลงจากปริมาณการใช้น้ำที่มากจนเกิดภาวะโซเดียมในเลือดน้อยเกินแบบเจือจาง (Dilutional Hyponatremia) จึงส่งผลให้เกิดการบวม นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    สัญญาณเตือนเมื่อ ดื่มน้ำมากเกินไป

    ภาวะน้ำเป็นพิษ มักจะปรากฏหลังจากที่คุณดื่มน้ำมากกว่า 3-4 ลิตรในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า กำลังตกอยู่ในภาวะน้ำเป็นพิษ ความจริงแล้วก็มีสัญญาเตือนบางอย่าง ที่สามารถทำให้คุณสังเกตได้ว่า กำลังอยู่ในภาวะน้ำเป็นพิษหรือไม่ ซึ่งสัญญาเตือนต่างๆ มีดังนี้

    • ปวดศีรษะ (Headache)
    • ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • คลื่นไส้หรืออาเจียน
    • ง่วงนอน และอ่อนเพลีย
    • ชักหรือหมดสติ (ในกรณีที่มีความรุนแรงมาก)

    กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำเป็นพิษ

    โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการรักษาสมดุลของของเหลวและอิเล็กโตรไลต์ แต่บางคนกลับมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากพวกเขาอาจคิดว่า พวกเขาต้องการน้ำมากกว่าที่กำลังบริโภคอยู่ อาจจะเนื่องจากมีการใช้ยา หรือสภาพจิตใจก็ตาม สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าบุคคลอื่น มีดังนี้

  • ผู้ใช้ยากระตุ้นต่างๆ แล้วต้องเต้นเป็นเวลานานหลายชั่วโมง
  • ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด รวมถึงแอลกอฮอล์ และพยายามที่จะกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกจากร่างกาย ด้วยการดื่มน้ำมากๆ
  • ผู้ที่เสพติดการออกกำลังกาย ชอบออกกำลังกายหลายชั่วโมงต่อวัน และพยายามที่จะคืนน้ำให้ตัวเองด้วยการดื่มน้ำเท่านั้น
  • ผู้ที่มีความพยายามจะลดน้ำหนัก ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณมาก
  • ทารกแรกเกิดที่คุณแม่พยายามหลีกเลี่ยงการให้นม ด้วยการใช้อาหารเจืองจางกับน้ำ ซึ่งอาจรวมไปถึงทารกที่มีคุณแม่ใช้ยาเสพติดด้วย
  • นักกีฬาที่มีความอดทนสูง
  • ผู้ที่มีเงื่อนไขทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคจิตเภท และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
  • ควรดื่มน้ำเพียงใดจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย

    อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่า “ภาวะน้ำเป็นพิษ’ ในระยะเริ่มแรก อาจทำให้เกิดอาการสับสน คลื่นไส้และอาเจียน ทั้งยังส่งผลต่อสภาพจิตใจและอาการทางจิต ซึ่งถ้าได้รับการหาตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันภาวะเลือดคั่งในระดับรุนแรงได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจนำไปสู่อาการชัก โคม่า และเสียชีวิตได้ แต่ทางที่ดีสุดคือ ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย

    ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ได้มีจำนวนเฉพาะเจาะจงว่า คุณจะต้องดื่มน้ำจริงๆ ปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน เพราะปริมาณของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งต้องพิจารณาจากนำหนักตัวของคุณ ระดับการออกกำลังกาย และสภาพภูมิอากาศ แต่ทั้งนี้ สถาบันการแพทย์ (IOM) ได้แนะนำปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อวันเอาไว้ว่า ปริมาณน้ำที่เพียงพอของผู้ชาย คือ 3.7 ลิตรต่อวัน ในขณะที่ผู้หญิงจะอยู่ที่ 2.7 ลิตรต่อวัน

    แต่ทางที่ง่ายที่สุดในการดื่มน้ำก็คือ การฟังร่างกาย และดื่มเมื่อคุณรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีการบริโภคน้ำที่น่าจะเพียงพอสำหรับการรักษาระดับความชุ่มชื้นที่ดี อย่างไรก็ตามการพึ่งพาความกระหายเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน นักกีฬา ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ อาจต้องดื่มน้ำเพิ่มในแต่ละวัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การสอบถามจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ จะเป็นการดีที่สุด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา