backup og meta

อยากตื่นนอนอย่างสดใส ต้องไม่กด เลื่อนนาฬิกาปลุก ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    อยากตื่นนอนอย่างสดใส ต้องไม่กด เลื่อนนาฬิกาปลุก ซ้ำแล้วซ้ำอีก

    ติ๊ดติ๊ด ติ๊ดติ๊ด เสียงนาฬิกาปลุกดังทำให้ตื่น แต่ยังไม่ทันได้ลืมตา ก็ต้องกวาดมือไปมาควานหานาฬิกาปลุก พอคว้าได้ก็กดปุ่ม เลื่อนนาฬิกาปลุก ทันที 5 นาที 10 นาทีก็เอา ขอแค่ได้นอนต่อซักนิด!!! แต่การนอนต่อแค่ไม่กี่นาทีนั้น นอกจากจะไม่ช่วยให้ตื่นนอนอย่างสดใสแล้ว ยังไม่ดีต่อสุขภาพของเราเลยซักนิด

    เลื่อนนาฬิกาปลุก กับรอบการนอนหลับ

    นายแพทย์โรเบิร์ต เอส. โรเซนเบิร์ก ผู้อำนวยการสถาบัน Sleep Disorders Centers ในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การเลื่อนนาฬิกาปลุกส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างแรกเลยคือช่วงเวลาอันน้อยนิด 5 นาที 10 นาทีที่เราคิดว่าได้นอนต่อนั้น เป็นการนอนที่ไม่มีคุณภาพ แล้วอีกอย่างก็คือ การเลื่อนนาฬิกาปลุกทำให้เราเริ่มต้นรอบการนอนหลับ (Cycles of sleep) รอบใหม่ แต่ยังไม่ทันได้ครบรอบเราก็ต้องตื่นเสียแล้ว การตื่นขึ้นมากลางคันนั่นแหละที่ทำให้เรารู้สึกไม่โอเคทั้งวัน

    รอบการนอนหลับคืออะไร

    รอบการนอนหลับจะประกอบด้วยภาวะ Non-REM sleep ประมาณ 5-15 นาที และต่อด้วย REM sleep ประมาณ 90 นาที โดย Non-REM sleep จะมี 3 ช่วงคือ

  • ช่วงที่ 1 คือช่วงเข้านอน ซึ่งเราจะถูกปลุกได้ง่ายเพราะยังไม่หลับ
  • ช่วงที่ 2 คือช่วง light sleep เป็นช่วงที่กำลังเคลิ้มหลับ
  • ช่วงที่ 3 คือช่วงหลับลึก
  • จากนั้นจะเข้าสู่ช่วย REM sleep ที่ย่อมาจาก Rapid Eye Movement sleep ซึ่งจะเป็นช่วงที่ดวงตาของเราเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว คนเราจะฝันในช่วงนี้ ใช้เวลาประมาณ 90 นาทีก็จะจบช่วง REM sleep และเริ่ม Non-REM sleep อีกครั้งเป็นแบบนี้วนไปทั้งคืน

    การเลื่อนนาฬิกาปลุกส่งผลอะไร

    การเลื่อนนาฬิกาปลุกเพื่อให้ได้นอนต่อในเวลาอันน้อยนิดจึงส่งผลต่อรอบการนอนหลับ เมื่อเรากดปุ่มเลื่อนนาฬิกาปลุก เราจะเริ่มรอบการนอนหลับด้วยภาวะ Non-REM sleep ซึ่งเกิดขึ้นในเวลา 5-15 นาที บางคนกำลังเข้าสู้ช่วงหลับลึก และกำลังจะไปต่อที่ REM Sleep แต่ก็ ติ๊ดติ๊ด ติ๊ดติ๊ด เสียงนาฬิกาปลุกทำให้ตื่นกลางคัน

    การตื่นในช่วงหลับลึกนี่แหละที่ทำให้เราตื่นมาแล้วรู้สึกไม่โอเค เช่น ตื่นมาแล้วรู้สึกเหนื่อย เพลีย มีอาการหงุดหงิดตลอดทั้งวัน รู้สึกว่านอนไม่พอ นอกจากนี้การตื่นนอนในช่วงหลับลึก หรือในช่วง REM Sleep ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนเกิดอาการผีอำ (Sleep Paralysis) หรืออาการที่ขยับตัวไม่ได้ทั้งๆ ที่ตื่นนอนแล้ว และยังอาจส่งผลต่อการนอนไม่หลับในตอนกลางคืนอีกด้วย

    แค่การเลื่อนนาฬิกาปลุกเพียงไม่กี่นาทีก็ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ ดังนั้นใครที่ไม่อยากเลื่อนนาฬิกาปลุกในตอนเช้าอาจลองวิธีนี้

    เลิกนิสัยเลื่อนนาฬิกาปลุกด้วยวิธีนี้

    1. ตื่นตั้งแต่การปลุกครั้งแรก ถ้าได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกปุ๊บ ให้ตื่นปั๊บ อย่ากดเลื่อนนาฬิกาปลุกเด็ดขาด ช่วงแรกๆ อาจทำได้ยากแต่ครั้งต่อๆ ไปก็จะง่ายขึ้นเอง
    2. หมุนข้อเท้า ยืดเหยียดฝ่าเท้า ช่วยได้ หากไม่สามารถลุกขึ้นมาได้จริงๆ ก่อนที่จะคว้านาฬิกาปลุกมากดปุ่ม Snooze ให้ลองหมุดข้อเท้าตัวเองดูก่อน เพราะการยืดเหยียดฝ่าเท้า การหมุนข้อเท้าในตอนตื่นนอนจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ซึ่งช่วยให้เราตื่นนอนได้ง่ายขึ้น
    3. ตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน วิธีนี้เวิร์คสุด ช่วงแรกๆ อาจต้องตั้งนาฬิกาปลุก เช่นตั้งนาฬิกาไว้ว่าจะตื่นเวลา 5.30 น. ทุกวัน และพอตี 5 ครึ่ง เสียงนาฬิกาปลุกดังเราก็ลุกขึ้น ไม่นอนต่อ หากเราตื่นนอนเวลาเดิมทุกวันต่อไปก็จะสามารถตื่นนอนเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งนาฬิกาปลุกอีกแล้ว

    การเลื่อนนาฬิกาปลุกเพียงไม่กี่นาที ไม่ได้ช่วยทำให้เราสดชื่นขึ้น หรือทำให้หายง่วงได้เลย ถ้าอย่างนั้นก็ตื่นนอนไปเลยดีกว่า ไม่ต้องเลื่อนนาฬิกาปลุกซ้ำไปซ้ำมาอีกต่อไปแล้ว

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา